งาน BIFF&BIL 2011 ได้รับความสนใจจากผู้เยี่ยมชมงานจากทั่วโลก อาทิ สเปน อิตาลี เยอรมนี อิหร่าน เกาหลี แอฟริกาใต้ สหราชอาณาจักร เดนมาร์ค สาธารณรัฐอาหรับเอมิเรตส์ นิวซีแลนด์ ปากีสถาน ศรีลังกา สาธารณ-รัฐเชค โปแลนด์ ตุรกี และลาว รวมทั้งผู้ซื้อรายใหม่จากอิสราเอล แคนาดา ฮังการี และบัลแกเรีย รวมทั้งสิ้นกว่า 37,000 คน เพิ่มขึ้นจากปี 2553 ร้อยละ 35
ภายในงาน BIFF&BIL 2011 บนพื้นที่ 30,000 ตารางเมตร ที่จัดในลักษณะรูปแบบใหม่คือ Fair-in-Fair มีผู้ร่วมแสดงสินค้ากว่า 1,100 บูธ พร้อมการแสดงแฟชั่นโชว์ 35 รอบ 1,200 ชุดสำหรับคอลเลกชั่น Spring/Summer 2012 ของแบรนด์ชั้นนำจากกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียนแล้ว รวมไปถึงผลงานการออกแบบของนักออกแบบไทยรุ่นใหม่ที่ถูกจัดแสดงตลอดการจัดงาน รวมทั้งไฮไลท์อื่นๆ อาทิ Royal Project Pavilion ที่จัดแสดงในบริเวณโถงของอาคารชาเลนเจอร์ 2 นำเสนอเสื้อผ้าสำหรับคนวัยทำงาน ที่ใช้ผ้าทอมือจากโครงการศิลปาชีพเกาะเกิด ในนามคอลเลคชั่น “MYSTIQUE” Spring/Summer 2011 (By IBERD) สะท้อนให้เห็นถึงความทันสมัย หรูหรา ผสานกับความภูมิฐานแบบนักธุรกิจ พร้อมจัดแสดงชุดที่ได้รับการออกแบบโดยนักออกแบบชื่อดัง วิเวียน เวสต์วู้ด
อีกทั้ง ยังมีการจัดแสดงสินค้าจากประเทศสมาชิกอาเซียน ได้แก่ กัมพูชา อินโดนิเซีย ลาว พม่า และฟิลิปปินส์ รวมทั้งจีน และอินเดีย ตลอดจน Japan Pavilion / Thai Tex Trend (T3) / Lingerie Pavilion / Sportswear Pavilion นิทรรศการแฟชั่นมุสลิม ผลงานจากผู้เข้าร่วมโครงการ Designers’ Room และ Trend Forum เป็นต้น รวมทั้งงานสัมมนาสำหรับผู้อยู่ในแวดวงแฟชั่น 9 หัวเรื่องตลอด 3 วันเจรจาธุรกิจ อาทิ “ไหมอีรี่: นวัตกรรมใหม่ไหมไทยใส่ใจสิ่งแวดล้อม” “Cool Mode” และ “Global Trends: AW 11/12 & Beyond” โดย WGSN รวมทั้ง โครงการ Source ASEAN Full Service Alliance (SAFSA) ที่จะให้ความรู้เกี่ยวกับการรวมอุตสาหกรรมจากต้นน้ำไปถึงปลายน้ำภายในกลุ่มประเทศอาเซียน เกิดจากความร่วมมือระหว่างอุตสาหกรรมสิ่งทอในประเทศสมาชิกกลุ่มอาเซียน ภายใต้สหพันธ์อุตสาหกรรมสิ่งทอแห่งอาเซียน (AFTEX) ที่เอื้อให้เกิดการจับคู่ธุรกิจระหว่างผู้ซื้อและซัพพลายเออร์ เป็นต้น
ทางด้าน นางปราณี คุรุเวฬุกรณ์ นายกสมาคมอุตสาหกรรมฟอกหนังไทย และ คณะกรรมการการจัดงานBIFF&BIL 2011 กล่าวว่า รูปแบบการจัดงานในปีนี้ มีการเปลี่ยนแปลงจากการจัดงานในปีที่ผ่านๆ มาอย่างชัดเจน โดยเฉพาะการจัดแบ่งโซนของกลุ่มอุตสาหกรรมต่างๆ ทำให้ ผู้ซื้อและผู้ร่วมออกแสดงสินค้า ทั้งในและต่างประเทศ เข้าถึงได้มากยิ่งขึ้น และนับเป็นงานสำคัญของประเทศที่จัดขึ้นในประเทศไทย และเป็นเวทีสำคัญของผู้ประกอบการไทย และประเทศในอาเซียน ที่มาร่วมงาน ได้แสดงศักยภาพ ประกอบกับ ภาครัฐ โดย กรมส่งเสริมการส่งออก กระทรวงพาณิชย์ ให้ความใส่ใจ และทุ่มเท กับการจัดงานในครั้งนี้เป็นอย่างมาก รวมไปถึงความร่วมมือของสมาคม และภาคเอกชนที่อยู่ในอุตสาหกรรมแฟชั่น จึงทำให้ภาพรวมของงานออกมาดี นับเป็นการผลักดันให้อุตสาหกรรมแฟชั่นและเครื่องหนังของไทยเป็นที่ยอมรับในวงกว้างมากยิ่งขึ้น
อุตสาหกรรมฟอกหนัง เป็นอุตสาหกรรมต้นน้ำที่ ผู้ประกอบการทุกรายในอุตสาหกรรม ให้ความสำคัญกับการพัฒนา มีการนำเทคโนโลยีใหม่ๆ นวัตกรรมใหม่ๆ มาใช้ในกระบวนการผลิตเพื่อให้ได้หนังดิบที่มีคุณภาพตรงตามมาตรฐานของลูกค้าทั้งในและต่างประเทศ เราให้ความสำคัญกับการนำเคมีภัณฑ์ที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมมาใช้ รวมไปถึงมาตรฐานของการกำจัดน้ำเสียของโรงงานผลิต ต้องเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมด้วย และในปีนี้ผู้ซื้อจากประเทศญี่ปุ่น ประเทศในแถบยุโรป อเมริกา และอาเซียน ยังคงให้ความสนใจกับสินค้าเครื่องหนัง และหนังดิบ ยังคงให้ความสนใจกับผลิตภัณฑ์หนังดิบ และเครื่องหนังของไทยเป็นอย่างมาก โดยตลาดหลักที่มีการส่งหนังผืนออก คือ ยุโรป อเมริกา และประเทศในแถบเอเชีย
นายชนิทร์ จิตต์โกมุท นายกสมาคมรองเท้าไทย ยังได้กล่าวเสริมว่า งาน BIFF&BIL 2011 ในครั้งนี้มีความหลากหลายของผู้แสดงสินค้า และ สินค้า มี ผู้ซื้อ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ เช่น ญี่ปุ่น, สหรัฐอเมริกา และประเทศในกลุ่มตะวันออกกลาง รวมทั้งในกลุ่มประเทศอาเซียน เพิ่มขึ้น ทั้งในวันเจรจาการค้าและวันจำหน่ายปลีก ที่ให้ความสนใจมาสั่งซื้อ และซื้อสินค้ามากขึ้น เนื่องจากผู้ประกอบการมีการพัฒนาสินค้า และวัตถุดิบในการผลิต ให้ได้มาตรฐาน ตรงตามความต้องการของผู้ซื้อมากยิ่งขึ้น
เตรียมพบกับงานแสดงสินค้าแฟชั่นและงานแสดงสินค้าเครื่องหนังปี 2555 (BIFF&BIL 2012) ได้ในเดือนกุมภาพันธ์ 2555 สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่กรมส่งเสริมการส่งออก โทร. 0-2507-8370, 2507-8369, 2507-8367, 2507-8368 หรืออีเมล์[email protected]
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ กรมส่งเสริมการส่งออก กระทรวงพาณิชย์
สำนักกิจกรรมส่งเสริมการส่งออก (ชั้น 8)
40/100 ถนน นนทบุรี 1 ตำบลบางกระสอ จังหวัดนนทบุรี 11000
โทร. 0-2507-8369, 0-2507-8368, 0-2507-8370, 0-25078367, 0-2507-8371
โทรสาร 0-2547-4283
อีเมล์ [email protected]
หรือบริษัท ทีทีไอเอส จำกัด
โทร. 0-2357-1183
โทรสาร 0-2357-1185
อีเมล์ [email protected] หรือ [email protected]