TCELS ผนึกรามาถอดรหัสพันธุกรรมคนไทยเป็นครั้งแรกที่ละเอียดที่สุด

พุธ ๑๑ พฤษภาคม ๒๐๑๑ ๑๒:๐๔
TCELS ร่วมกับ รพ.รามาธิบดี เตรียมถอดรหัสพันธุกรรมคนไทยเป็นครั้งแรกที่ละเอียดที่สุดถึง 3 พันล้านเบส จากดีเอ็นเอชายไทยสุขภาพดี เดือนมิถุนายนนี้ เพื่อเป็นเข็มทิศในการรักษาโรคที่รักษาไม่หายให้หายได้ รวมทั้งบ่งชี้ตัวยาที่เหมาะเฉพาะบุคคล และจะพัฒนาไปสู่ชุดตรวจในอนาคต พร้อมเผย เตรียมร่วมมือกับมหาวิทยาลัยวอชิงตัน ศึกษายาทั้งโครงสร้างที่ได้รับรองจาก อย.สหรัฐ เพื่อพัฒนาต่อยอดเป็นยาใหม่รักษาโรคระดับดีเอ็นเอ

ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ของประเทศไทย (TCELS) ร่วมกับ หน่วยไวรัสวิทยาร่วมกับห้องปฏิบัติการเภสัชพันธุศาสตร์ และการรักษาเฉพาะบุคคล ภาควิชาพยาธิวิทยา คณะแพทยศาสตร์ รพ. รามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกันแถลงข่าว “การถอดรหัสพันธุกรรมคนไทย” เป็นครั้งแรกที่ละเอียดที่สุดจำนวน 3 พันล้านเบส ภายใต้โครงการเภสัชพันธุศาสตร์ที่ TCELS ให้การสนับสนุน โดยทีมนักวิจัยจากรามาธิบดี ประกอบไปด้วย รศ.ดร.วสันต์ จันทราทิตย์ หัวหน้าโครงการเภสัชพันธุศาสตร์ ดร.เอกวัฒน์ ผสมทรัพย์ จากหน่วยไวรัสวิทยา ภาควิชาพยาธิวิทยา ดร.ชลภัทร สุขเกษม จากห้องปฏิบัติการเภสัชพันธุศาสตร์และการรักษาโรคเฉพาะบุคคล

นายสุริยัน ปานเพ็ง รักษาการผู้อำนวยการ TCELS กล่าวว่า TCELS ร่วมกับคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี จัดทำโครงการเภสัชพันธุศาสตร์ (Pharmacogenomics) เพื่อศึกษาลักษณะทางพันธุกรรมของคนที่ส่งผลให้มีการตอบสนองต่อยาที่แตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล เพื่อเป็นฐานข้อมูลให้แพทย์ได้รับเลือกปรับยาให้เหมาะกับผู้ป่วย ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดผลข้างเคียงและการแพ้ยา การถอดรหัสพันธุกรรมคนไทยในครั้งนี้ ซึ่งถือเป็นครั้งแรกที่ละเอียดที่สุด นับเป็นความโชคดีของคนไทย ที่จะพัฒนาไปสู่การทำนายโรคได้อย่างแม่นยำในอนาคต

รศ.ดร.วสันต์ กล่าวว่า การถอดรหัสพันธุกรรมคนไทยรายแรกที่ละเอียดทีสุด จะเริ่มในเดือนมิถุนายน 2554 จากดีเอ็นเอผู้บริจาคชายไทยสุขภาพดีไม่ระบุชื่อเพื่อเป็นต้นแบบสำหรับการศึกษาเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงจีโนมในระดับดีเอ็น(DNA variant)ของผู้ที่ป่วยโรคต่างๆ ทั้งโรคที่พบได้บ่อยและโรคที่พบได้ยาก(common and rare diseases) ซึ่งจะทยอยถอดรหัสจีโนมต่อกันไปเป็นลำดับโดยโครงการมีวัตถุประสงค์หลักสองประการ ประการแรกเพื่อค้นหาตำแหน่งดีเอ็นเอบนจีโนมที่เปลี่ยนแปลงไปจากคนปรกติหรือชนชาติอื่นซึ่งมีความสัมพันธ์กับการเกิดโรค

โดยองค์ความรู้ที่ได้อาจสามารถนำไปสู่จัดที่พัฒนาเป็นชุดตรวจคัดกรองทางพันธุกรรม (genetic screening test) ต้นทุนต่ำได้ซึ่งหากผลการตรวจ (วินิจฉัยทางห้องปฏิบัติการ)เป็นบวกจะหมายถึงบุคคลนั้นมีความความเสี่ยงสูงที่จะเป็นโรคดังกล่าวได้ในอนาคต แต่บุคคลเหล่านั้นสามารถลดความเสี่ยงการเกิดโรคของตนลงได้หากปรับเปลี่ยนพฤติกรรมความเป็นอยู่และสิ่งแวดล้อมรอบตัวแต่เนิ่นๆรวมทั้งการไปพบแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ ยกตัวอย่างโรคในเด็ก เช่นปัญหาด้านการเจริญเติบโตโดยไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริง การถอดรหัสจีโนมเด็กเหล่านั้นจะเป็นกุญแจสำคัญนำไปสู่การพัฒนาชุดตรวจและการรักษาได้อย่างถูกต้องในอนาคต

หัวหน้าโครงการเภสัชพันธุศาสตร์ กล่าวว่า วัตถุประสงค์หลักประการที่สองคือ การตรวจจีโนมของผู้ป่วยจากโรคที่รักษาได้ยากหรือรักษาด้วยยาที่มีใช้กันอยู่ไม่ได้ผล(difficult to treat) อาทิ โรคมะเร็ง โดยนำตำแหน่งดีเอ็นเอบนจีโนมที่เปลี่ยนแปลงไป(จากเซลล์ปรกติ) ไปประมวลผลด้วยโปรแกรมชีวิทยาเชิงคำนวณ (computational biology) พิเศษซึ่งเป็นความร่วมมือกับ ศ.ดร.ราม สมุทดารา แห่งมหาวิทยาลัยวอชิงตัน (University of Washington) ซึ่งโปรแกรมดังกล่าวได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยและพัฒนาจากสถาบันสุขภาพแห่งชาติ (NIH) ประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อเฟ้นหายาจากฐานข้อมูลโครงสร้างยาทั้งหมดที่องค์การอาหารและยาให้การรับรองให้ใช้รักษาโรคในคนซึ่งหากการทดสอบผ่านแบบจำลองบนคอมพิวเตอร์แล้วพบว่ายาตัวใดสามารถจับตัวได้ดีกับโปรตีนที่ก่อโรค(ซึ่งเกิดมาจากการเปลี่ยนแปลงในระดับดีเอ็นเอ) ยาดังกล่าวอาจเป็นทางเลือกใหม่ให้แพทย์นำมาทดลองใช้รักษาแทนยาเดิมซึ่งใช้ไม่ได้ผลอันเป็นการเริ่มบุกเบิกการรักษาแผนใหม่ซึ่งมุ่งเน้นการใช้ยาส่วนบุคคล(personalized medicine) ซึ่งท้ายที่สุดสามารถช่วยทั้งภาครัฐและตัวผู้ป่วยเองในการเพิ่มประสิทธิภาพการรักษาของแพทย์พร้อมกับประหยัดค่ารักษาพยาบาลและลดค่าใช้จ่ายในการตรวจวินิจฉัยทางห้องปฏิบัติการที่ไม่จำเป็นลง

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๘ เม.ย. ARDA จับมือ ฟาร์ม เอ็กซ์โป และพันธมิตร เปิดศึก AGRITHON by ARDA Season 2 เฟ้นหาสุดยอดไอเดียปลุกพลังนวัตกรรมเกษตรไทย ชิงทุนวิจัยรวมกว่า 100
๑๘ เม.ย. กรุงศรี ฉลอง 80 ปี ดูหนัง 80 บาท ที่ Major Cineplex เมื่อชำระด้วยบัตรกรุงศรี เดบิตและบัตร Krungsri Boarding
๑๘ เม.ย. แบรนด์ซุปไก่สกัด รณรงค์ขับขี่ปลอดภัยในโครงการ สมองล้าอย่าขับ พักดื่มแบรนด์ จับมือ ตำรวจทางหลวง และ ตำรวจจราจร
๑๘ เม.ย. ซัมซุงจัดใหญ่! เป็นเจ้าของ ตู้เย็น Side by Side รุ่นใหม่ล่าสุด พร้อมรับสิทธิพิเศษแบบจุใจ ได้แล้ววันนี้
๑๘ เม.ย. ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ดปรับลดประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2568 คาดกนง.มีมติลดดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมเดือนเมษายนนี้
๑๘ เม.ย. EXIM BANK ร่วมกับกระทรวงการคลังและกระทรวงพาณิชย์ ออกมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการไทย โดยเฉพาะ SMEs รับมือนโยบายภาษีแบบตอบโต้ของสหรัฐฯ
๑๘ เม.ย. ปักหมุด! เตรียมจัดงาน PET Expo Thailand 2025 จัดยิ่งใหญ่ครบรอบ 25 ปี
๑๘ เม.ย. ลดคลายร้อน ช้อปแลคตาซอย 1,000 ลด 100 พร้อมชวนร่วมสนุกถ่ายภาพคู่แลคตาซอย ลุ้น 10 รางวัล
๑๘ เม.ย. DITP ประชุมผู้จัดแสดงสินค้า เตรียมความพร้อมสู่เวที THAIFEX - ANUGA ASIA 2025
๑๘ เม.ย. โรงแรมเครือดุสิตธานี เปิดตัวโปรพิเศษต้อนรับซัมเมอร์ 'A Night on Us' เติมเต็มวันพักผ่อนอย่างมีความสุขกับโรงแรมและรีสอร์ทในเครือดุสิตธานีทั่วโลก