รองผู้ว่าราชการจังหวัด ท่านนฤมล ปาลวัฒน์ กล่าวว่า ในช่วงเทศกาลที่ผ่านมาได้มีเครือข่ายภาคประชาชนต่างๆ เครือข่ายองค์กรงดเหล้า ร่วมมือกันผลักดันให้เทศกาลปลอดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ งานกาชาติ ยี่เป็ง สงกรานต์ และช่วงเทศกาลที่จะมาถึงนี้ “ท่านรอง ท่านผู้ว่า มีความยินดี ที่จะสนับสนุน ในการแก้ไขปัญหา เรื่องขยะ การดื่มสุราอย่างเต็มที่” โดยให้เน้นย้ำเรื่องการประชาสัมพันธ์ การสร้างความเข้าใจ การรับรู้ถึงแนวทางปฏิบัติตน การเดินขึ้นดอย อย่างถูกต้องให้เหมาะสม ขอความช่วยเหลือหน่วยงานที่มีส่วนและบทบาทเกี่ยวข้อง ในการปกปักดูแลรักษาให้ประเพณีเดินขึ้นดอยมีความศักดิ์สิทธิ์ตลอดอดีตถึงปัจจุบัน ตามนโยบายของท่านผู้ว่าที่ประกาศ ให้ “เชียงใหม่เป็นนครแห่งวัฒนธรรมที่สง่างาม” เป็นการบ้านที่ทางหน่วยงานราชการจังหวัดต้องทำอย่างเต็มใจ ทำอย่างเต็มที่
จากการน้ำเสนอภาพรวมสถานการณ์ สภาพปัญหา จากการทิ้งขยะ การดื่มสุรา อันเป็นเหตุผมทำให้ประชาชนนักท้องเที่ยวช่วงเทศกาลเตียวขึ้นดอย “ได้บาปมากกว่าได้บุญ” จึงได้ทบทวนและระดมแนวทางการแก้ไขปัญหา ป้องกันและฟื้นฟู ผ่านกลไกความร่วมมือ จาก ภาคี องค์กร หน่วยงาน ซึ่งมี ข้อสรุปจากการประชุม ดังนี้
มาตรการเชิงการประชาสัมพันธ์
- กลุ่มเครือข่ายได้ติดป้ายรณรงค์ ป้ายขวางถนน ระหว่าง แยกคันครองไปจนถึง ลานครูบา
- ให้มีการประชาสัมพันธ์ ผ่าน สื่อทางทีวี วิทยุ อย่างเข้มข้น ชัดเจนก่อนวันงาน
- ให้อุทยาน ฯ เป็นเจ้าภาพสถานที่ในการติดป้ายประชาสัมพันธ์ ตลอดระยะทางขึ้นวัดพระธาตุดอยสุเทพ ในการรณรงค์ประชาสัมพันธ์ ไม้ดื่มสุรา ไม้ทิ้งขยะ โดยรับการสนับสนุนเรื่องป้ายจากเครือข่าย
มาตรการเชิงรณรงค์ขับเคลื่อน
- สโมสรนักศึกษาเทคโนโลยี ฯ สามสิบคน จุดละสิบคน เกิดการสกัดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และเป็นหน่วยเฝ้าระวังขนาดย่อมในการเฝ้าระวังและชี้จุด แก่เจ้าหน้าที่ตำรวจ และสรรพสามิต
- เครือข่ายเยาวชน
- มีนักสืบนักศึกษาของสถาบัน ฯ ตลอดเส้นทาง ให้เก็บข้อมูลพฤติกรรมการดื่ม
- เทศบาลตำบลสุเทพ มีมาตรการ รณรงค์เรื่องขยะ การติดตั้งจุดทิ้งขยะ ขนาดใหญ่ 4 จุด —ขนาดเล็ก ทุก 10เมตร เสนอเรื่องการสร้างจิตสำนึก
- มูลนิธิวัดพระธาตุดอยสุเทพ ขอให้ประสาน เรื่อง ไม่ใช้โฟมเป็นภาชนะ
- ระดมกลุ่มเยาวชน รักษ์สิ่งแวดล้อมชวนร่วม เป็นกลุ่มเด็กและเยาวชนจิตอาสา มีคนแนะนำคอยบอก กระตุกให้คนทิ้งขยะลงถัง(คนเราบางทีต้องทำให้อาย) และกิจกรรมเก็บขยะในเช้าวันที่ 17 พฤษภาคม 2554
- บริษัทนิ่มซีเส็ง ให้ความอนุเคราะห์น้ำดื่ม โดยมีการแจกน้ำดื่มที่มีเชือกแขวนเก็บไว้ที่คอ และเติมน้ำตลอดแต่ละจุดประจำทาง
มาตรการเชิงควบคุมปัจจัยเสี่ยง
- เสนอให้มีโรงทานมี 10 จุด และมีป้าย ประชาสัมพันธ์บอกกับกลุ่ม ผู้กิน ร้านขาจร ต้องบังคับให้จอดตามจุดโรงทาน ห้ามขายตามรายทาง โดยให้กลุ่มไม่ใช้โฟม: ประสานขอความร่วมมือ เสนอทางเลือกการใช้ภาชนะ (เราจะช่วยเขาอย่างไร?)เสร็จงาน มีใบประกาศมอบเพื่อชื่นชมในการ่วมทำความ
- โรงทาน ศรัทธาของแต่ละวัด มาร่วมตั้งโรงทานแต่ละจุด ตามที่อบจ.กำหนด
- ร้านจร ขอให้เข้าไปขายในวัดศรีโสดา วัดต่างๆ ตามรายทาง เป็นจุดๆ
- เสนอให้มีถุงดำ ติดถีๆกันทุกระยะ 10 เมตร เพื่อมีพื้นที่ในการทิ้งขยะเพิ่มมากยิ่งขึ้น
- การทานน้ำดื่ม ควรที่จะเติมที่เดียว ค่อยไปเติมน้ำประจำที่ละจุด แต่ละจุด ลดขยะ
- อุทยานให้ ประกาศห้ามจำหน่ายอาหาร+เครื่องดื่มแอลกอฮอล์มาขายในพื้นที่อุทยาน ตามประกาศอุทยานเป็นเขตปลอดเครื่องดื่ม
- เสนอ ให้อุทยาน มีการลงทะเบียนร้านค้า ให้ขายเฉพาะที่อนุญาตเท่านั้น เพื่อจัดระเบียบการขายของในงานประเพณีเดินขึ้นดอยสุเทพ
- การจำกัดจำนวนรถขึ้น เฉพาะที่มีสติกเกอร์ ส่วนใหญ่รถจะจอดรอบนดอย
- กำลังความร่วมมือ เทศบาลตำบลสุเทพ,สภ.ภูพิงค์,สรรพสามิตร