“ซีพีเอฟได้มอบแพะพันธุ์ดีให้แก่สหกรณ์หุบกะพง ตั้งแต่เดือนปี 2551 โดยสนับสนุนพ่อพันธุ์ 7 ตัว เป็นแพะเนื้อพันธุ์บอร์ 6 ตัว แพะนมพันธุ์ซาแนล 1 ตัว เพื่อให้สมาชิกสหกรณ์นำไปปรับปรุงพันธุ์ โดยผสมกับพันธุ์พื้นเมือง ขณะเดียวกันซีพีเอฟก็เชิญกลุ่มผู้นำสหกรณ์ไปศึกษาดูงานที่ฟาร์มตัวอย่างของบริษัท ตลอดจนส่งสัตวบาลเข้าไปช่วยดูแลติดตามการเลี้ยง โดยสหกรณ์มีตลาดรองรับแพะเนื้ออยู่ในพื้นที่ภาคใต้ ซึ่งพบว่ากิจกรรมการเลี้ยงแพะของสหกรณ์หุบกะพงประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก นอกจากนี้ ซีพีเอฟยังได้สนับสนุนพ่อแม่พันธุ์แพะเนื้อให้สหกรณ์ดอนขุนห้วย สหกรณ์กลัดหลวง และสหกรณ์ห้วยสัตว์ใหญ่ อีกแห่งละ 6 ตัวด้วย คาดว่าสหกรณ์ทั้ง 3 แห่งจะสามารถดำเนินโครงการเลี้ยงแพะได้สำเร็จเช่นเดียวกัน” นายวินัยกล่าว
ด้าน นายมนูญ เตี๋ยวศรีทอง ประธานกลุ่มผู้เลี้ยงแพะสหกรณ์หุบกะพง กล่าวว่า ประเทศไทยมีชาวมุสลิมจำนวนมาก แต่มีเนื้อแพะบริโภคไม่เพียงพอ ตนจึงสนใจที่จะเลี้ยงแพะและได้รวบรวมสมาชิกสหกรณ์เข้ามาร่วมกันทำกลุ่มผู้เลี้ยงแพะ เมื่อได้สายพันธุ์ที่ดีจากซีพีเอฟ ประกอบกับได้รับความรู้ในการเลี้ยงแพะอย่างถูกหลักวิชาการ ทำให้ประสิทธิภาพผลผลิตแพะของกลุ่มเป็นไปตามมาตรฐาน โดยแพะของที่นี่จะให้ลูก 5 ครอกต่อ 2 ปี จำนวนครอกละ 1-2 ตัว ปัจจุบันมีแพะทั้งหมด 1,300 ตัว ส่งไปขายยังจังหวัดปัตตานี เป็นประจำทุกเดือนๆละ 80-120 ตัว ทำให้กลุ่มผู้เลี้ยงแพะมีกำไรปีละประมาณ 200,000 บาท คุณภาพชีวิตดีขึ้นกว่าเดิมที่เคยทำไร่มากทีเดียว
อย่างไรก็ตาม การส่งเสริมสหกรณ์เข้มแข็งโดยซีพีเอฟร่วมกับมูลนิธิพัฒนาชีวิตชนบทฯ นั้น ได้ดำเนินการใน 3 ประเด็นหลัก ได้แก่ 1.การส่งเสริมอาชีพการเลี้ยงไก่ไข่สหกรณ์ 2.การพัฒนาศักยภาพผู้นำสหกรณ์ และ 3.การสร้างเสริมเยาวชนรักษ์สหกรณ์ ซึ่งการเลี้ยงแพะในสหกรณ์ถือเป็นการต่อยอดขยายธุรกิจเกษตรอื่นๆ ที่เกิดจากการนำทุนหมุนวียนของธุรกิจไก่ไข่มาใช้ให้เกิดประโยชน์ และช่วยสร้างงานสร้างอาชีพให้สมาชิกสหกรณ์และชุมชน
ทั้งนี้ ซีพีเอฟได้ให้การสนับสนุนการเลี้ยงไก่ไข่ในโครงการหมู่บ้านสหกรณ์ ตามแนวพระราชดำริฯ แล้วจำนวน 7 แห่ง จากทั้งหมด 14 แห่ง ได้แก่ โครงการหมู่บ้านสหกรณ์การเกษตรสันกำแพง จ.เชียงใหม่ โครงการตามพระราชประสงค์ดอนขุนห้วย กลัดหลวง และหุบกะพง จงเพชรบุรี สหกรณ์การเกษตรหนองพลับ จำกัด จ.เพชรบุรี โครงการหมู่บ้านสหกรณ์ห้วยสัตว์ใหญ่ ป่าละอู-ป่าเต็ง จ.ประจวบคีรีขันธ์ และ จ.เพชรบุรี รวมถึง โครงการเศรษฐกิจพอเพียงในผืนดินพระราชทานอ.บางไทร จ.พระนครศรีอยุธยา โดย สำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (สปก.)
พรรณินี นันทพานิช ด้านสื่อสารองค์กรและประชาสัมพันธ์ CPF
โทร. 02-625-7343-5 , 02-631-0641, 02-638-2713