ดร.สุจินต์ จันทร์สอาด ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ฝ่ายพัฒนาผลิตภัณฑ์และการตลาด ให้ความเห็นว่า” เบสซอ เอ็นจิเนียร์ เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านนวัตกรรมเทคโนโลยีน้ำหยดในประเทศไทย เสนอทางเลือกในการใช้ระบบน้ำหยดในการจ่ายน้ำให้กับพืช เพราะระบบน้ำหยดสามารถช่วยลดต้นทุนและเพิ่มผลผลิตให้ได้มาก ทั้งยังได้มีการพัฒนาวิจัยออกแบบและติดตั้งระบบน้ำหยด โดยคำนึงถึงพืชที่ปลูกเป็นสำคัญ อย่างในปาล์มน้ำมัน ที่มีความต้องการน้ำประมาณ 400 ลิตรต่อต้นต่อวันนั้น การคำนวณหาปริมาณการใช้น้ำของปาล์มน้ำมันต่อพื้นที่ไร่ที่จะใช้ทั้งหมด จะนำมาคำนวณหาขนาดของปั๊มน้ำและท่อการส่งน้ำด้วย
ข้อดีของระบบน้ำหยด แม้ต้องใช้ต้นทุนสูงในระยะเริ่มแรก แต่มีความคุ้มค่าและส่งผลดีต่อพืชผลการเกษตรอย่างมากมาย เช่น 1.ประหยัดน้ำมากกว่าในทุก ๆ วิธี ไม่ว่ารดด้วยมือหรือใช้สปริงเกลอร์ หรือวิธีอื่นใดก็ตามและแก้ปัญหาภาวะวิกฤตการขาดแคลนน้ำในบางฤดูได้ 2.ประหยัดต้นทุนในการบริหารจัดการ โดยลงทุนเพียงครั้งเดียว แต่ให้ผลคุ้มค่าในระยะยาว การติดตั้งอุปกรณ์ไม่ยุ่งยาก ติดตั้งครั้งเดียวใช้งานได้ตลอดอายุ สามารถควบคุมการเปิด-ปิดน้ำ โดยใช้ระบบ Manual และ Automatic หรือ Micro Controller โดยเฉพาะระบบตั้งเวลาและตรวจจับความชื้นทำให้ประหยัดค่าแรง 3.ใช้ได้กับพื้นที่ทุกประเภทไม่ว่าดินร่วน ดินทราย ดินเหนียว ดินเค็ม และดินด่างด้วย น้ำหยดจะไม่ละลายเกลือมาตกค้างอยู่ที่ผิวดินบน 4.ใช้กับพืชประเภทต่าง ๆ ได้เกือบทุกชนิด ยกเว้นพืชที่ต้องการน้ำขัง 5.เหมาะสำหรับพื้นที่ขาดแคลนน้ำ ต้องการใช้น้ำอย่างประหยัด 6.ประสิทธิภาพในการใช้น้ำสูงที่สุด 75-95 เปอร์เซ็นต์ ทำให้เกิดการสูญเสียน้ำน้อยที่สุด เมื่อเทียบกับการปล่อยน้ำท่วมขัง มีประสิทธิภาพเพียง 25-50 เปอร์เซ็นต์ ในระบบสปริงเกลอร์ แบบติดตายตัวมีประสิทธิภาพ 70-80 เปอร์เซ็นต์ และในระบบสปริงเกลอร์แบบเคลื่อนย้ายมีประสิทธิภาพ 65-75 เปอร์เซ็นต์ 7.ประหยัดเวลาทำงาน ไม่ต้องคอยเฝ้า สามารถใช้เวลาไปทำงานอย่างอื่นไปพร้อม ๆ กับการให้น้ำ 8.ลดการระบาดของศัตรูพืชบางชนิดได้ดี เช่น โรคพืช และวัชพืช 9.ได้ผลผลิตสูงกว่าการใช้ระบบชลประทานแบบอื่น ทั้งด้านปริมาณและคุณภาพ ขณะเดียวกันประหยัดต้นทุนน้ำ ทำให้มีกำไรสูงกว่า 10.สามารถให้ปุ๋ยและสารเคมีอื่นละลายไปกับน้ำพร้อม ๆ กัน ทำให้ไม่ต้องเสียเวลาใส่ปุ๋ย พ่นยาอีก ทั้งนี้ต้องทำการติดตั้งอุปกรณ์จ่ายปุ๋ย (Injector) เข้ากับระบบการจ่ายน้ำด้วย “
นายภูวนิตย์ จีนะวงษ์ ผู้จัดการฝ่ายขาย บ. เบสซอ เอ็นจิเนียร์ (ประเทศไทย) จก.กล่าวว่า “ระบบน้ำหยดที่นิยมใช้กันในอุตสาหกรรมเกษตรอย่างแพร่หลาย มี 2 แบบ คือ 1.ระบบท่อน้ำหยด (DRIPLINES) เทคโนโลยีการชลประทาน ด้วยการนำมาวางระบบบริหารจัดการน้ำในภาคการเกษตร เป็นการส่งน้ำผ่านระบบท่อและปล่อยน้ำออกทางหัวน้ำหยดแก่พืช ซึ่งถูกติดตั้งไว้บริเวณโคนต้นพืช น้ำจะหยดซึมลงมาบริเวณรากช้า ๆ อย่างสม่ำเสมอในอัตราเฉลี่ย 1-20 ลิตร ต่อชั่วโมง ที่แรงดัน 0.8-2 บาร์ ซึ่งขึ้นอยู่กับระบบ ชนิดของพืช ขนาดของพื้นที่ และชนิดของดิน ช่วยทำให้ดินมีความชื้นคงที่ในระดับที่พืชต้องการและเหมาะสมตลอดเวลา ส่งผลให้พืชเจริญเติบโตอย่างมีประสิทธิภาพ เหมาะสำหรับพืชทุกประเภท ทั้งพืชล้มลุก พืชไร่ เช่น มะเขือ แตงกวา สตอเบอรี่ พริก แตงโม แคนตาลูป อ้อย ข้าวโพด มันสำปะหลัง เป็นต้น ระบบน้ำหยดสามารถให้ปุ๋ย และสารเคมีทางระบบน้ำ โดยการละลายปุ๋ยจ่ายไปตามท่อน้ำ ประหยัดค่าใช้จ่าย ให้ผลผลิตสูง ทั้งด้านปริมาณและคุณภาพ มีประสิทธิภาพในการใช้น้ำสูงทำให้มีการสูญเสียและสิ้นเปลืองน้ำน้อยที่สุด ทำให้มีกำไรสูง อีกทั้งช่วยลดปัญหาการระบาดของศัตรูพืชบางชนิดได้ดี เช่น โรคพืช และวัชพืช เป็นต้น
แบรนด์ ท่อน้ำหยดที่นิยมใช้กันในอุตสาหกรรมการเกษตร มีให้เลือกใช้งานได้อย่างเหมาะสมกับประเภทพืชเกษตร 4 แบรนด์ คือ อาดริเทป (Adritape) เหมาะกับกลุ่มพืชล้มลุก ซุปเปอร์ไลท์ (Superlite) เหมาะกับกลุ่มพืชที่ปลูกเป็นแถวหรือพืชที่ปลูกในโรงเรือน ซิลเวอร์ดริป (Sliverdrip) เหมาะกับกลุ่มพืชล้มลุก และใหม่ล่าสุด คือ โกลเดนดริป (Goldendrip) เหมาะกับไร่อ้อยและมันสำปะหลัง หรือกลุ่มพืชที่ปลูกเป็นแถวหรือพืชที่ปลูกในโรงเรือน นอกจากนี้ท่อน้ำหยดทั้ง 4 ชนิด ยังเหมาะสมกับการใช้ในกลุ่มพืชไร่ด้วย ทั้งรูระยะน้ำหยดที่แตกต่างกัน อัตราการไหลของน้ำจะสม่ำเสมอ สามารถเลือกให้เหมาะสมกับงานเกษตรกรรมประเภทต่าง ๆ ได้ ในการเลือกอัตราการไหลของหัวน้ำหยด แรงดันเหมาะสมอยู่ที่ 0.8 — 1.0 บาร์ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแหล่งน้ำ หากมีแหล่งน้ำที่ดีเก็บกักปริมาณน้ำมาก สามารถเลือกหัวน้ำหยดที่มีอัตราการไหลสูง ๆ ได้
2 .หัวน้ำหยด (DRIPPER)ชนิดชดเชยแรงดันคุณภาพสูง เทคโนโลยีระบบการจ่ายน้ำไปยังพื้นที่การเกษตรประเภทต่าง ๆ อย่างสม่ำเสมอ จะหยดน้ำลงในพื้นที่อย่างสม่ำเสมอ ด้วยการจ่ายน้ำของหัวน้ำหยดในอัตราการหยดของน้ำอย่างสม่ำเสมอ ที่ 2-10 ลิตรต่อชั่วโมง ที่แรงดัน 1-2 บาร์ เหมาะสำหรับพื้นที่ลาดเอียงไม่สม่ำเสมอ เพราะช่วยการไหลของน้ำไม่ให้ไปสะสมในพื้นที่ต่ำ ส่งผลให้พืชเจริญเติบโตเท่ากัน สามารถติดตั้งไว้ใช้งานได้ในระยะยาว ผลิตภัณฑ์ใหม่ หัวน้ำหยด นายน์ (Nien) เป็น มีจุดเด่นที่หัวถอดล้างได้ ส่วนอีกแบรนด์ คือ อีเดน (Eden) เป็นหัวน้ำหยดแบบถอดล้างไม่ได้ เหมาะสำหรับไม้ผลและงานโรงเรือน เช่น องุ่น ไม้กระถาง เป็นต้น
ในด้านข้อคิดในการเลือกและการใช้ระบบท่อน้ำหยด และหัวน้ำหยด คุณภูวนิตย์ จีนะวงษ์ กล่าวว่า “เกษตรกรจะต้องมีความรู้ปริมาณการใช้น้ำของพืชแต่ละชนิดด้วย เช่น มะเขือเทศ ต้องการปริมาณน้ำประมาณ 40 มิลลิเมตรต่อไร่ต่อวัน หรือประมาณ 1.5 ลิตรต่อต้นต่อวัน เป็นต้น การวางระบบท่อน้ำหยด ควรติดตั้งโดยผู้เชี่ยวชาญให้คำแนะนำ ซึ่งสามารถนำไปวางติดตั้งได้ทั้งใต้ดินพลาสติกคลุมดิน หรือวางบนดิน การติดตั้งท่อน้ำหยดใต้ดินจะมีความยุ่งยาก และค่าใช้จ่ายมากกว่าบนดิน ผลที่ได้ตอบแทนระยะยาวที่ดีกว่าลดปัญหาวัชพืชและหน้าดินร่วน คงสภาพได้ดีกว่า สามารถใช้ทรัพยากรน้ำได้เต็มประสิทธิภาพมากกว่า ส่วนสำคัญในการติดตั้งระบบน้ำหยด คือ การติดตั้งเครื่องกรองน้ำ เพื่อป้องกันการอุดตันจากตะกอนที่มาติดหัวน้ำหยด การให้ปุ๋ยพร้อมกับน้ำหยดช่วยให้พืชได้รับอาหารและแร่ธาตุสม่ำเสมอตามความต้องการในแต่ละช่วงอายุพืชดูดไปใช้ได้ทันที ทำให้พืชเจริญเติบโตสม่ำเสมอ และควบคุมการให้ผลผลิตนอกฤดูได้ ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม ประหยัดพลังงาน ลดการระบาดของโรคพืช วัชพืช ลดต้นทุน ลดการปนเปื้อนสารเคมีการบริหารจัดการระบบน้ำหยดให้ได้ผลสูงสุด มี 3 ประการ คือ 1.การให้น้ำปริมาณที่เหมาะสมกับความต้องการของพืชแต่ละชนิด 2.การให้ปุ๋ยปริมาณที่เหมาะสม 3.การวางแผนการบำรุงรักษา เพื่อให้พืชมีการเจริญเติบโตได้ดี
บริการก่อนและหลังการขาย บริษัท เบสซอ เอ็นจิเนียร์ (ประเทศไทย) จำกัด เป็นแหล่งรวมนักวิชาการผู้เชี่ยวชาญ พร้อมให้คำปรึกษาแนะนำ โดยทีมงานคุณภาพลงสำรวจสถานที่ในการหาข้อมูล และวางแผนการบริหารจัดการน้ำ การติดตั้งวางระบบ ตลอดจนบริการหลังการขายในการให้คำแนะนำดูแลรักษาที่ดี การป้องกันและการแก้ไขปัญหาในแปลงเกษตรอีกด้วย www.bessaw.com และขอคำปรึกษาได้ที่ 02-954-3120-6
www.ladda.com
PR AGENCY: บ.เบรนเอเซีย คอมมิวนิเคชั่น จำกัด
Tel. ประภาพรรณ 081-899-3599, 02-911-3282 (5 Auto Lines) Fax 02-911-3208
Email: [email protected]