วช. หนุนสิ่งประดิษฐ์เด็กอาชีวต่อยอดสู่เชิงพาณิชย์

พุธ ๒๕ พฤษภาคม ๒๐๑๑ ๑๖:๒๕
สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) ได้จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “การวิจัยเครือข่ายนวัตกรรมสายอาชีวศึกษา ปี 2554 (ครั้งที่ 2)” เพื่อเป็นการต่อยอดผลงานสิ่งประดิษฐ์ของนักศึกษาสายอาชีวศึกษาในเวทีระดับชาติต่อไปในอนาคต

นางกาญจนา ปานข่อยงาม รองเลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ เปิดเผยว่าสืบเนื่องจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) และสำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา( สอศ.) ได้ร่วมกันลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ เรื่อง การเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพ ขีดความสามารถด้านการวิจัยและพัฒนาสิ่งประดิษฐ์คิดค้นในสถาบันการอาชีวศึกษานั้น เพื่อเป็นการเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพความสามารถด้านการวิจัย ประดิษฐ์คิดค้นของอาจารย์และนักศึกษาในสถาบันการอาชีวศึกษาให้เข้มแข็งบนพื้นฐานสติปัญญา ความรู้ ความคิด เพื่อให้เกิดทักษะพัฒนาความคิดได้อย่างเป็นแบบแผน และเป็นรูปธรรม สามารถนำผลงานเผยแพร่สู่สาธารณชนให้กว้างขวางต่อไป จึงได้จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “การวิจัยเครือข่ายนวัตกรรมสายอาชีวศึกษา ปี 2554 (ครั้งที่ 2)” ขึ้น ระหว่างวันที่ 25 — 27 พฤษภาคม 2554 ณ หอประชุมราชมงคล มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี

ทั้งนี้โดยมีวัตถุประสงค์ 5 ประการคือ 1.) เพื่อเสริมสร้างพื้นฐานความรู้และทักษะด้านการเขียนข้อเสนอโครงการผลงานประดิษฐ์ 2.) เพื่อถ่ายทอดความรู้เทคนิคด้านการวิจัยและการประดิษฐ์คิดค้นอย่างเป็นระบบ 3.) เพื่อกระตุ้นและสร้างแรงจูงใจให้เยาวชนได้เข้าใจและเห็นประโยชน์ของการวิจัยและการประดิษฐ์คิดค้น เพื่อสร้างสรรค์ผลงานในเชิงนวัตกรรม และพัฒนาสู่เชิงพาณิชย์ เพื่อเป็นการเพิ่มมูลค่าสินค้าอย่างเป็นรูปธรรม 4.) เพื่อคัดเลือกผลงานประดิษฐ์ที่มีศักยภาพให้สามารถพัฒนาสู่เวทีระดับชาติ5.) เพื่อสร้างเครือข่ายนักวิจัยและนักประดิษฐ์ในสถาบันการอาชีวศึกษา

สำหรับกิจกรรมภายในงานได้จัดแสดงนิทรรศการและการนำเสนอผลงานประดิษฐ์ของสถาบันอาชีวศึกษา และการประกวดผลงานประดิษฐ์ของนักศึกษา เพื่อคัดเลือกและให้รางวัลแก่ผลงานประดิษฐ์ที่มีศักยภาพและพัฒนาต่อยอดสู่เชิงพาณิชย์ และนำเข้าร่วมประกวดผลลงานประดิษฐ์คิดค้นและแสดงนิทรรศการในงาน “วันนักประดิษฐ์” ที่ วช. ได้ดำเนินการจัดขึ้นในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ของทุกปี ซึ่งในการจัดงานครั้งนี้คาดว่าจะได้ผลงานอย่างน้อย 6 ผลงาน สามารถขยายผล เพิ่มคุณค่าหรือสร้างมูลค่าเพิ่ม และมีศักยภาพสามารถต่อยอดสู่เชิงพาณิชย์ได้ และการจัดงานในครั้งนี้จะช่วยให้นักศึกษาและอาจารย์มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการวิจัย การเขียนข้อเสนอโครงการและการนำเสนอผลงานประดิษฐ์ เกิดนักวิจัยและนักประดิษฐ์รุ่นใหม่ในสถาบันอาชีวศึกษา เกิดเครือข่ายความร่วมมือระหว่างอาจารย์และนักศึกษาในสถาบันการอาชีวศึกษา

ผู้ที่สนใจสามารถเข้าร่วมชมผลงานได้ตามวันและเวลาดังกล่าว หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) โทร 02 579 7775, 02 561 2445 ต่อ 576

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ