บีโอไอนำทัพธุรกิจไทยลงทุน 3 เมืองใหญ่พม่า สร้างเครือข่ายธุรกิจ กลุ่มเกษตร ประมง ท่าเรือ

จันทร์ ๓๐ พฤษภาคม ๒๐๑๑ ๑๔:๑๓
บีโอไอนำทัพธุรกิจไทยเยือน 3 เมืองใหญ่ของพม่า ย่างกุ้ง ทวาย มะริด วางแผนพบนักธุรกิจพม่า กลุ่มเกษตร ประมง และท่าเรือ ก่อนพบหน่วยงานด้านการลงทุนพม่าศึกษาโอกาสขยายทุนไทยเพิ่ม

นางอรรชกา สีบุญเรือง เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เปิดเผยว่า ระหว่างวันที่ 5 — 9 กรกฎาคม 2554 บีโอไอร่วมกับศูนย์แม่โขงศึกษา สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดกิจกรรมนำนักลงทุนไทยไปดูลู่ทางการขยายธุรกิจการลงทุนร่วมกับนักธุรกิจพม่า และพบปะหารือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่เมือง ย่างกุ้ง ทวาย และมะริด

การเยือนครั้งนี้ จะเน้นไปที่อุตสาหกรรมประมงที่เมืองมะริด ซึ่งเป็นศูนย์กลางการประมงขนาดใหญ่ โดยการเยี่ยมชมบริษัท MYANMAR ANDAMAN PEARLที่ไทยได้ร่วมลงทุนกับพม่าทำฟาร์มเลี้ยงหอยมุกจนประสบความสำเร็จ หลังจากนั้นจะหารือกับบริษัทโรงงานห้องเย็น ท่าเรือ และธุรกิจโรงแรม เพื่อหาเครือข่ายและขยายการลงทุนร่วมกัน

“ นอกจากทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์แล้ว พม่ายังมีปัจจัยบวกเรื่องการเป็นตลาดใหญ่และเป็นประตูเชื่อมเอเชียใต้กับเอเชียตะวันออก นักลงทุนไทยจึงสามารถใช้ประโยชน์นี้ต่อยอดให้ธุรกิจของตัวเอง บีโอไอจึงนำนักลงทุนไทยเข้าไปพบกับสมาชิกสมาพันธ์การค้าและอุตสาหกรรมของสหภาพพม่า เพื่อหารือกฎระเบียบและการขยายธุรกิจร่วมกันต่อไป ” เลขาบีโอไอกล่าว

นอกจากคณะนักธุรกิจไทยจะได้เจรจาธุรกิจกับสมาชิกสมาพันธ์การค้าและอุตสาหกรรมแห่งสหภาพพม่า และร่วมหารือกับเอกอัครราชทูตไทยประจำสหภาพพม่าแล้วยังจะได้พบปะกับสภาหอการค้าเมืองทวาย เยี่ยมชมโครงการพัฒนาท่าเรือน้ำลึกทวาย และเข้ารับฟังคำบรรยายที่บริษัทอิตาเลียนไทยซึ่งได้รับสัปทานโครงการพัฒนาท่าเรือน้ำลึกและนิคมอุตสาหกรรม ซึ่งข้อมูลที่ได้จากการหารือ บีโอไอจะนำไปจัดทำแนวทางเพื่อส่งเสริมเอกชนไทย ให้มีส่วนร่วมพัฒนาท่าเรือน้ำลึกทวายและพัฒนาอุตสาหกรรมต่าง ๆ ในทวายต่อไป

ในปี 2553 บีโอไอได้จัดกิจกรรมส่งเสริมการลงทุนไทยในพม่าทั้งสิ้น 3 ครั้ง ได้รับการตอบรับจากนักธุรกิจไทยที่เข้าร่วมกิจกรรมเป็นอย่างดี จากภาคธุรกิจที่หลากหลาย อาทิ เกษตรกรรม อุตสาหกรรมก่อสร้าง อุตสาหกรรมเกษตรและการแปรรูป อุตสาหกรรมอาหารเป็นต้น โดยได้เข้าเยี่ยมชมธุรกิจต่าง ๆรวมเกือบ 30 แห่ง ที่สำคัญมีนักลงทุนไทยสนใจและต้องการที่จะเข้าไปดำเนินธุรกิจในพม่าด้านเครื่องจักรกลการเกษตร วัสดุก่อสร้าง การรับออกแบบเครื่องจักร เครื่องจักรกลเป็นต้น

ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2531 ถึงปี พ.ศ. 2554 มีนักลงทุนไทยไปลงทุนทั้งสิ้น 61 โครงการ มูลค่าเงินลงทุนประมาณ 9,568 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งในปี 2553 ไทยจัดเป็นนักลงทุนต่างชาติที่เข้าไปลงทุนในประเทศพม่าเป็นอันดับ 2 รองจากจีน

นักลงทุนที่สนใจเข้าร่วม กิจกรรม BUSINESS MISSION IN MYANMAR ณ เมืองย่างกุ้ง ทวาย และมะริดครั้งนี้ ติดต่อขอข้อมูลหรือตอบรับการเข้าร่วมกิจกรรมได้ที่ สำนักความร่วมมือการลงทุนต่างประเทศ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน โทรศัพท์ 0- 2553 — 8111 ต่อ 6123 แฟกซ์ 0 — 2553 — 8318 ภายในวันที่ 6 มิถุนายน 2554

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๓:๔๖ MEDEZE ต้อนรับสถาบันนักลงทุน CSI เยี่ยมชมบริษัท
๑๓:๔๙ บริษัท อินเตอร์ไฟเบอร์ คอนเทนเนอร์ จำกัด รับประกาศนียบัตร เครื่องหมายรับรองคาร์บอนฟุตพริ้นท์ ประจำปี 2567
๑๓:๔๓ AJA จัดประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นครั้งที่ 1/2568 ผถห. โหวตผ่านทุกวาระ พร้อมเปิดตัวกลยุทธ์ใหม่ รีแบรนด์ AJ EV BIKE สู่
๑๓:๕๑ SCAP ตั้งเป้าระดมทุนโดยการขายหุ้นกู้1,600 ล้านบาท ชูดอกเบี้ยสูงสุด 5.05% ต่อปี ด้วยอันดับความน่าเชื่อถือที่ BBB เปิดขายวันที่ 31 ม.ค. และ 3-4 ก.พ.
๑๒:๐๐ สกสว. - สวทช. รุกปั้นกลุ่ม ผู้จัดการงานวิจัยและนวัตกรรม หนุนระบบบุคลากร
๑๒:๑๕ HMD ประเทศไทย เปิดแผนธุรกิจปี 68 ย้ำมุ่งพัฒนาสมาร์ทโฟนคุณภาพ ด้วยปรัชญา ใช้งานปลอดภัย ไว้ใจได้ ด้วยราคาเข้าถึงง่าย
๑๑:๑๒ VEHHA Hua Hin คว้า Fitwel มาตรฐานคอนโดระดับโลก ยกระดับคุณภาพชีวิตระยะยาว ต่อยอดจุดแข็งสู่ที่สุดของความครบครัน
๑๑:๐๐ ttb reserve มอบประสบการณ์ใหม่เหนือระดับเพื่อลูกค้าคนสำคัญ
๑๑:๓๙ ศิลปะจักสานหลินซู ภูมิปัญญาโบราณสู่ตลาดโลก
๑๑:๐๐ ฉลองครบ 10 ปี HOUSE OF LITTLEBUNNY กระเป๋าแบรนด์ไทย จากกระต่ายน้อยตัวเล็ก เติบโตสู่ตลาดอินเตอร์ จัดแฟชั่นโชว์ยิ่งใหญ่