ส.อ.ท.เตรียมเสนอยุทธศาสตร์พัฒนากลุ่ม 4 จังหวัดภาคเหนือตอนล่างแก่นายกฯ และคณะรัฐมนตรีสัญจร 31 ตุลาคม นี้

จันทร์ ๓๑ ตุลาคม ๒๐๐๕ ๑๐:๒๐
กรุงเทพฯ--31 ต.ค.--ส.อ.ท.
ส.อ.ท.เตรียมเสนอยุทธศาสตร์พัฒนากลุ่ม 4 จังหวัดภาคเหนือตอนล่างแก่นายกฯ และคณะรัฐมนตรีสัญจร 31 ตุลาคม นี้ สองแผนงานหลัก เสนอรัฐสร้างสถานีรวบรวมและกระจายสินค้าทางน้ำ รองรับแผนเพิ่มปริมาณการขนส่งทางน้ำ คาดช่วยลดต้นทุนขนส่งกว่าหมื่นล้านบาทต่อปี ควบคู่กับสนับสนุนการวิจัยผลิตพลังงานทดแทนจากพืชผลการเกษตรกรจริงจัง
นายนิพนธ์ สุรพงษ์รักเจริญ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยถึงแผนยุทธศาสตร์พัฒนากลุ่ม 4 จังหวัดภาคเหนือตอนล่าง ที่สภาอุตสาหกรรมจังหวัดกำแพงเพชร สภาอุตสาหกรรมจังหวัดนนครสวรรค์ สภาอุตสาหกรรมจังหวัดพิจิตร และสภาอุตสาหกรรมจังหวัดอุทัยธานี จะนำเสนอต่อ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจ ที่ต้องการแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นกับภาคเอกชนเกี่ยวกับประเด็นการดำเนินนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของรัฐบาล ในโอกาสที่ได้เดินทางมาประชุมคณะรัฐมนตรีนอกสถานที่ ณ จังหวัดนครสวรรค์ ว่า "สภาอุตสาหกรรมจังหวัดทั้ง 4 แห่ง มีข้อเสนอสำคัญ 2 ประการ เกี่ยวกับการพัฒนาระบบคมนาคมขนส่งทางน้ำ และการส่งเสริมการแปรรูปพืชผลการเกษตรเพื่อเพิ่มมูลค่า ซึ่งต้องการให้รัฐเร่งดำเนินการ เพื่อพัฒนาให้กลุ่มจังหวัดในพื้นที่ดังกล่าวยกระดับเป็นศูนย์กลางการขนส่งสินค้าเกษตรทางน้ำ และศูนย์วิจัยการผลิตพลังงานทดแทนจากพืชผลการเกษตร ดังนี้
เสนอโครงการสถานีรวบรวมและกระจายสินค้าทางน้ำ (Inland Water Depot : IWD) โดยสร้างท่าเทียบเรือและคลังสินค้าสำหรับรวบรวมและกระจายสินค้าทางน้ำให้เชื่อมโยงกับการขนส่งทางบก เพื่อรองรับกับยุทธศาสตร์ของผู้ประกอบการในพื้นที่ ซึ่งมีแนวคิดจะเปลี่ยนรูปแบบการขนส่งจากทางบกเป็นทางน้ำมากขึ้น เนื่องจากผลการศึกษาพบว่า จะช่วยลดต้นทุนค่าขนส่งลงได้กว่า 11,940 ล้านบาท/ ปี โดยเทียบปริมาณการขนส่ง 60 ล้านตัน/ปี ระยะทางจากนครสวรรค์ - กรุงเทพฯ หากขนส่งด้วยรถบรรทุก มีค่าใช้จ่าย17,400 ล้านบาท ขณะที่ทางเรือซึ่งสามารถบรรทุกสินค้าต่อเที่ยวได้มากกว่า มีค่าใช้จ่ายเพียง 5,460 ล้านบาท ทั้งนี้ การพัฒนาเส้นทางขนส่งทางน้ำ ที่จำเป็นต้องก่อสร้างเขื่อนยกระดับในบางพื้นที่ เพื่อยกระดับระดับการเดินเรือในแม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำน่าน ยังก่อให้เกิดแหล่งท่องเที่ยวใหม่ เพิ่มแหล่งผลิตน้ำประปา แหล่งผลิตกระแสไฟฟ้า เอื้อประโยชน์ต่อภาคเกษตรกรรม
เสนอให้จัดตั้งศูนย์ศึกษาพลังงานชีวภาพ โดยใช้พื้นที่และบุคลากรของมหาวิทยาลัยในพื้นที่เป็นศูนย์กลางในการนำพืชผลการเกษตรท้องถิ่น เช่น อ้อย มันสำปะหลัง แกลบ มาดำเนินการวิจัยและพัฒนาเพื่อผลิตพลังงานทดแทน รวมถึงศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนาให้เกิดการผลิตที่มีความคุ้มค่าเชิงพาณิชย์ เพื่อสร้างความมั่นใจให้ภาคเอกชนลงทุนผลิตพลังงานทดแทนจากสินค้าเกษตรมากขึ้น นอกจากนั้น ภาคเอกชนในพื้นที่ 4 จังหวัดยังต้องการให้ภาครัฐสนับสนุนให้เป็นกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบนเป็นฐานการผลิตพลังงานทดแทนของประเทศ เนื่องจากมีวัตถุดิบเหลือใช้ทางการเกษตรเป็นจำนวนมาก
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อ
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ โทร. 0-2345-1017--จบ--

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๑:๐๐ วว. จับมือจังหวัดสระบุรี/อบต.ตาลเดี่ยว ขับเคลื่อนลดก๊าซเรือนกระจก นำ วทน. พัฒนาศูนย์เรียนรู้เทคโนโลยีจัดการขยะชุมชน
๑๑:๐๐ วว.จับมือคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ส่งเสริมวิจัยนวัตกรรม พัฒนาบัณฑิตสมรรถนะสูง ด้วยวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี
๑๑:๓๗ เปลี่ยนธุรกิจคุณให้โตคูณร้อย กับหลักสูตร CMF เปิดรับสมัครรุ่นที่ 21 แล้ววันนี้ !!
๑๑:๒๖ GFC เสิร์ฟข่าวดีรับศักราชใหม่ปี 68 ดีเดย์ให้บริการคลินิกรักษาผู้มีบุตรยาก GFC Ubon เต็มสูบ
๑๑:๐๐ โรงพยาบาลลานนา จัดอบรม ชาวลานนาร่วมใจ ต้านโรคภัยจากภาวะอ้วนลงพุง
๑๑:๑๕ ค้นหา รักแท้ ในมุมมองใหม่กับศูนย์ฯ สิริกิติ์ ในกิจกรรม ธรรมะในสวน ณ สวนเบญจกิติ 1 กุมภาพันธ์ 2568 นี้
๑๑:๑๐ เชฟรอน (ไทย) รุกเจาะตลาดน้ำมันเครื่อง เพื่ออุตสาหกรรมเครื่องจักรกล
๑๑:๐๗ RML เปิดศักราชปี'68 มาแรง! หุ้นกู้มีหลักประกันขายหมดเกลี้ยง 100%
๑๑:๐๐ สมาคมดินโลก ร่วมกับ 4 หน่วยงาน ลงนามความร่วมมือเสริมสร้างการจัดการดินเพื่อเกษตรยั่งยืน
๑๐:๐๐ ศูนย์การค้าเครือเอ็ม บี เค ฉลองเทศกาลตรุษจีนสุดยิ่งใหญ่ CHINESE NEW YEAR 2025