มติของสังคม (Public Opinion) เป็นปัจจัยส่งเสริมให้บริษัททำกิจกรรมเพื่อสังคม (CSR activity)

อังคาร ๐๗ มิถุนายน ๒๐๑๑ ๐๙:๐๔
รายงานผลการสำรวจธุรกิจนานาชาติของแกรนท์ ธอร์นตัน ฉบับล่าสุด หรือ The 2011 Grant Thornton International Business Report (IBR) รายงานว่ามีธุรกิจเอกชนจำนวนไม่มากนักที่ดำเนินกิจกรรมส่งเสริมการรักษาสิ่งแวดล้อมโดยไม่คิดหวังผลตอบแทน โดยมีเพียง 36% ของธุรกิจเอกชนทั่วโลกที่มีความกระตือรือร้นที่จะดำเนินกิจกรรมเพื่อสังคมด้วยความตั้งใจที่จะ 'อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม' ซึ่งลดลงจาก 40% เมื่อปี 2008

อย่างไรก็ตาม ธุรกิจยังคงเล็งเห็นคุณประโยชน์ที่ได้รับจากกิจกรรมเพื่อสังคม (Corporate Social Responsibility: CSR) ในการสร้างแบรนด์ รักษาบุคลากรที่สำคัญของบริษัท และทำให้ได้ลูกค้าใหม่ในอนาคต โดย 56% ของธุรกิจทั่วโลกระบุว่า มติมหาชน/การสร้างแบรนด์ และการจ้างงาน/การรักษาไว้ซึ่งบุคลากร เป็นปัจจัยหลัก (ควบคู่กับการบริหารต้นทุน) ในการกระตุ้นให้เกิดกิจกรรม CSR ในปีนี้

ทั้งนี้ ในขณะที่ธุรกิจในกลุ่มเศรษฐกิจที่พัฒนาแล้วยังคงพยายามรับมือกับเศรษฐกิจที่เติบโตเชื่องช้า ธุรกิจในกลุ่มประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ (BRIC) นั้นดูเหมือนว่ามีความห่วงใยในสิ่งแวดล้อมมากที่สุด โดย 60% ของประเทศในกลุ่มเศรษฐกิจ BRIC และ 59% ของประเทศในกลุ่ม ASEAN ระบุว่าการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเป็นเครื่องผลักดันให้เกิดการดำเนินธุรกิจอย่างมีจริยธรรมมากยิ่งขึ้น เปรียบเทียบกับ 30% ใน EU และ 16% ในอเมริกาเหนือ

เอียน แพสโค กรรมการบริหาร แกรนท์ ธอร์นตัน ประเทศไทย กล่าวว่า "ในโลกธุรกิจที่เต็มไปด้วยคู่แข่งที่มีการพัฒนาตนเองตลอดเวลา ธุรกิจเอกชนมีความเข้าใจมากยิ่งขึ้นว่าการดำเนินกิจกรรม CSR ที่ครอบคลุมในทุกๆ ด้าน จะช่วยให้บริษัทมีความโดดเด่นในสายตาของบุคลากร ผู้บริโภค และพาร์ทเนอร์ธุรกิจซึ่ง 65% ของธุรกิจในประเทศไทยบ่งชี้ว่าการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเป็นปัจจัยสำคัญที่ผลักดันให้บริษัทดำเนินธุรกิจอย่างมีจริยธรรม”

"นอกจากนี้ เมื่อธุรกิจและผู้บริโภคในกลุ่มประเทศเศรษฐกิจที่พัฒนาแล้วดิ้นรนต่อสู้กับผลกระทบจากเศรษฐกิจขาลง ความเอาใจใส่ต่อการอนุรักษ์ธรรมชาติโดยไม่คิดหวังผลตอบแทนจึงกลายเป็นเรื่องรอง เพราะธุรกิจต่างก็ให้ความสำคัญกับงบกำไรขาดทุน และผู้บริโภคก็หาวิถีทางที่จะทำให้รายได้ตนเองเพิ่มขึ้น ดังนั้น จึงเป็นไปตามที่กล่าวไว้ว่าธุรกิจในกลุ่มเศรษฐกิจเกิดใหม่จึงดูเหมือนว่ามีความพร้อมในการริเริ่มกิจกรรม CSR อย่างต่อเนื่อง"

ในขณะเดียวกัน ระดับของการดำเนินกิจกรรม CSR ทางด้านสิ่งแวดล้อม แรงงาน และชุมชนอื่นๆ นั้นมีความแตกต่างกันทั่วโลก ซึ่งธุรกิจในยุโรปตอนเหนือและแอฟริกา รวมถึงอเมริกาเหนือและเอเชีย-แปซิฟิก มีความโดดเด่นในเรื่องการริเริ่มกิจกรรม CSR ในขณะที่ยุโรปยังคงล้าหลังอยู่

เอียน แพสโค กล่าวเสริมว่า "กิจกรรม CSR ในประเทศไทยมีจำนวนเพิ่มขึ้นในหลายปีที่ผ่านมา เนื่องจากธุรกิจต่างตระหนักถึงการส่งเสริมคุณค่าของบุคลากรนอกเหนือไปจากการหวังผลเชิงพาณิชย์ การที่บริษัททำกิจกรรมเพื่อสังคมนั้นจึงเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยดึงดูดและรักษาบุคลากรที่มีคุณภาพไว้”

ในการนี้ การสำรวจดังกล่าวยังเปิดเผยด้วยว่าความคิดเห็นต่อการรายงานการดำเนินกิจกรรม CSR นั้นแบ่งแยกเป็นสองขั้ว โดยหนึ่งในสี่ของธุรกิจทั่วโลกรายงานว่ามีการทำกิจกรรม CSR ในองค์กร (53% ในละติน อเมริกา, 41% ในกลุ่มเศรษฐกิจ BRIC, 17% ในอเมริกาเหนือและ 18% ในกลุ่มเศรษฐกิจ G7) นอกจากนี้ ธุรกิจยังมีความคิดเห็นแตกต่างกันเรื่องการรายงานเกี่ยวกับกิจกรรม CSR ว่าควรรวมอยู่ในรายงานทางการเงินหรือไม่ ซึ่ง 44% เห็นด้วยว่าจะเป็นการดำเนินธุรกิจที่ดีที่สุด ในขณะที่อีก 40% ไม่เห็นด้วยและ

16% ไม่มีความเห็น

เอียน แพสโค กล่าวสรุปว่า "ธุรกิจเอกชนควรจะพิจารณาถึงประโยชน์ที่ได้รับจากการรายงานกิจกรรม CSR โดยธุรกิจที่แสดงความเป็นผู้นำในการดำเนินกิจกรรม CSR อย่างโปร่งใสจะมีข้อได้เปรียบเหนือคู่แข่งขัน และเพิ่มโอกาสในการดึงดูดและรักษาไว้ซึ่งบุคลากรที่มีคุณภาพ สร้างคุณค่าของแบรนด์ และได้ลูกค้าต่างชาติรายใหม่ๆ ซึ่งมักจะใช้แนวทาง CSR มาใช้ในการพิจารณาคัดเลือกพาร์ทเนอร์ธุรกิจเช่นเดียวกัน"

หมายเหตุ

รายงานผลการสำรวจธุรกิจนานาชาติของแกรนท์ ธอร์นตัน หรือ Grant Thornton International Business Report (IBR) นำเสนอทัศนคติและความคาดหวังของกว่า 11,000 ธุรกิจจาก 39 กลุ่มประเทศเศรษฐกิจในแต่ละปี โดยเป็นการสำรวจที่มีลักษณะเฉพาะคือมีการนำผลการสำรวจจากปีที่ผ่านๆ มามาจัดทำแนวโน้มข้อมูลซึ่งรวมถึง 19 ปีจากหลายประเทศในยุโรป

และ 9 ปีจากหลายประเทศนอกเหนือทวีปยุโรป ค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.internationalbusinessreport.com

การเก็บข้อมูลการสำรวจนั้นจัดทำผ่านการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์เป็นหลัก ซึ่งใช้เวลาประมาณ 15 นาที ยกเว้นประเทศญี่ปุ่น (จัดทำผ่านทางไปรษณีย์), ฟิลิปปินส์และอาร์เมเนีย (จัดสัมภาษณ์แบบตัวต่อตัว), จีนและอินเดีย (ใช้ทั้งวิธีตัวต่อตัวและทางโทรศัพท์) เนื่องด้วยความแตกต่างทางวัฒนธรรมเป็นองค์ประกอบในการเข้าถึงผู้ร่วมการสำรวจ ทั้งนี้ การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ช่วยให้แกรนท์ ธอร์นตัน สามารถจัดทำการสัมภาษณ์ได้ตามจำนวนครั้งที่ตั้งไว้ และมั่นใจได้ว่าผู้ที่เข้าร่วมการสำรวจส่วนใหญ่เป็นผู้บริหารที่ทำงานในองค์กรที่อยู่ในเกณฑ์การสำรวจที่กำหนดไว้

การเก็บข้อมูลนั้น บริหารจัดการโดยบริษัทวิจัยที่มีชื่อว่า Experian Business Strategies ซึ่งจัดทำการแปลแบบสอบถามเป็น ภาษาของแต่ละประเทศ โดยนอกเหนือจากคำถามหลักแล้ว แต่ละประเทศสามารถเพิ่มเติมคำถามที่สำคัญหรือเจาะจงเกี่ยวกับประเทศตนเองได้ และจากปี 2011 เป็นต้นไป จะมีการเก็บข้อมูลทุกไตรมาสซึ่งการเก็บข้อมูลแต่ละครั้งจะใช้เวลาราว 1 เดือนครึ่ง

กลุ่มตัวอย่างIBR เป็นการสำรวจทัศนคติของธุรกิจเอกชนที่มีขนาดกลางจนถึงขนาดใหญ่ สำหรับผลสำรวจเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคมครั้งนี้ได้มาจากการสัมภาษณ์บริษัทกว่า 7,700 รายทั่วโลก ในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2553 ถึงเดือนมกราคม 2554

กลุ่มตัวอย่างได้แก่ผู้บริหารในระดับประธานกรรมการบริษัท กรรมการบริหาร ประธาน และผู้บริหารอาวุโส (ชื่อตำแหน่งนั้นอาจแตกต่างกันตามความเหมาะสมในแต่ละประเทศ) จาก 39 กลุ่มประเทศเศรษฐกิจ ใน 5 อุตสาหกรรมหลัก ได้แก่ การผลิต (25%), การบริการ (25%), ค้าปลีก (15%) และการก่อสร้าง (10%) โดยอีก 25% เป็นการสำรวจในอุตสาหกรรมอื่นๆ

กลุ่มตัวอย่างในทุกประเทศส่วนใหญ่เป็นผู้บริหารที่มาจากอุตสาหกรรมข้างต้นที่กล่าวมา แต่ในบางประเทศก็จะมีการนำเสนอข้อมูลสำหรับอุตสาหกรรมอื่นๆ ที่แตกต่างไปโดยมีความเฉพาะเจาะจงมากกว่า ทั้งนี้จำนวนของกลุ่มตัวอย่างต้องมีมากเพียงพอด้วย

เกี่ยวกับ แกรนท์ ธอร์นตัน ประเทศไทย

แกรนท์ ธอร์นตัน ประเทศไทย เป็นที่รู้จักกันดีในแวดวงธุรกิจในฐานะบริษัทที่ปรึกษาและให้บริการอย่างมืออาชีพระดับแนวหน้าของประเทศไทย ซึ่งก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2534 มีประสบการณ์ในการให้คำปรึกษาแก่บริษัทต่างๆ ในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจเอเชียปี พ.ศ. 2540 โดยใช้วิธีการปรับโครงสร้างหนี้ การลดค่าใช้จ่าย และการปรับปรุงแผนธุรกิจ รวมถึงดำเนินการช่วยเหลือลูกค้าขยายธุรกิจผ่านการควบรวมและมองหาโอกาสในการขยายกิจการ ทั้งนี้ การให้บริการของแกรนท์ ธอร์นตัน ครอบคลุมถึง การให้คำปรึกษาด้านธุรกิจ การตรวจสอบบัญชีทั้งภายในและภายนอกองค์กร การให้คำปรึกษาทางภาษีทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ การให้คำปรึกษาด้านการเงิน การปรับโครงสร้างองค์กร การควบรวมกิจการ งานด้านกฏหมายและการสืบสวน การบริหารความเสี่ยง การประเมินราคาทรัพย์สินสุทธิทางการเงินและภาษีก่อนที่จะทำการซื้อขายกิจการ ความช่วยเหลือด้านการโอนเงิน การประเมินมูลค่าสินทรัพย์ การแนะกลยุทธ์ให้บริษัทในการออกจากธุรกิจเพื่อถอนทุนคืน การจัดหาบุคลากรระดับผู้บริหาร การเตรียมการเพื่อถ่ายโอนกิจการ และการพิจารณาผลตอบแทน ต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ แกรนท์ ธอร์นตัน ประเทศไทย กรุณาค้นหาที่เว็บไซต์ www.grantthornton.co.th

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม ท่านสามารถติดต่อ

เอียน แพสโค ลักษณ์พิไล วรทรัพย์

กรรมการบริหาร ผู้จัดการอาวุโส ฝ่ายการตลาดและการสื่อสาร

แกรนท์ ธอร์นตัน แกรนท์ ธอร์นตัน

โทร: 02 205 8100 โทร: 02 205 8142

อีเมล์: [email protected] อีเมล์: [email protected]

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๒ พ.ย. รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๒๒ พ.ย. ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๒๒ พ.ย. Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๒๒ พ.ย. ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๒๒ พ.ย. โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๒๒ พ.ย. กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๒๒ พ.ย. สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๒๒ พ.ย. 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๒๒ พ.ย. โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๒๒ พ.ย. electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version