การสำรวจแบรนด์ที่เชื่อมั่นได้โดยรีดเดอร์ส ไดเจสท์ เผยช่วงระยะเวลาที่แบรนด์สินค้าจะสามารถกอบกู้ชื่อเสียงในหมู่ผู้บริโภคได้

พฤหัส ๐๙ มิถุนายน ๒๐๑๑ ๐๘:๔๕
การสำรวจแบรนด์ที่เชื่อมั่นได้ โดยรีดเดอร์ส ไดเจสท์ ปี 2554 เผยให้เห็นว่า ผู้ตอบแบบสอบถามชาวไทยมากกว่าครึ่ง (ร้อยละ 53) จะยอมพิจารณาถึงความน่าเชื่อถือที่มีต่อแบรนด์สินค้าที่เคยเกิดเรื่องอื้อฉาวด้านคุณภาพอีกครั้ง หลังเวลาผ่านไปราวหนึ่งปี แม้ปัญหาดังกล่าวจะได้รับการแก้ไขในทันทีจากเจ้าของแบรนด์แล้วก็ตาม โดยในจำนวน 8 ประเทศที่ทำการสำรวจ ประเทศไทยรั้งอันดับสองในการเว้นช่วงระยะเวลาที่สั้นที่สุดในการฟื้นฟูความเชื่อมั่นที่มีต่อแบรนด์ โดยประเทศที่ยอมรับเรื่องอื้อฉาวด้านคุณภาพได้เร็วที่สุดคือไต้หวัน โดยผู้คนร้อยละ 60 ยินดีพิจารณาถึงความเชื่อมั่นที่มีต่อแบรนด์ดังกล่าวใหม่ในระยะเวลาไม่ถึงหนึ่งปี ส่วนประเทศที่จะกลับมาเชื่อถือใหม่ได้ยากที่สุดคือมาเลเซีย ตามมาด้วยอินเดียและฟิลิปปินส์ โดยมีผู้บริโภคในประเทศเหล่านี้เพียงร้อยละ 32-33 ที่จะยอมพิจารณาแบรนด์ดังกล่าวอีกครั้งก่อนระยะเวลาหนึ่งปี

การสำรวจครั้งนี้จัดขึ้นติดต่อกันเป็นปีที่ 13 โดยได้รับการยอมรับว่าเป็นการสำรวจความนิยมของผู้บริโภคโดยตรง ด้วยวิธีการที่โปร่งใสและสามารถพิสูจน์ได้ในภูมิภาคเอเชีย โดยผลการสำรวจที่ได้เกิดจากความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่มีต่อแบรนด์อย่างแท้จริงซึ่งไม่ได้เกิดจากการชี้นำใดๆ และทำการโหวตคะแนนให้แก่แบรนด์ดังกล่าว การสำรวจเริ่มดำเนินการในเดือนตุลาคมปี 2553 โดยซินโนเวต บริษัทวิจัยชั้นนำแห่งหนึ่งของโลก ด้วยวิธีการสอบถามกับผู้บริโภคกว่า 8,000 คนในเอเชีย ซึ่ง 1,000 คน จากทั้งหมดเป็นผู้บริโภคชาวไทย ซึ่งผลการสำรวจได้มอบความรู้ความเข้าใจที่มีประโยชน์อย่างยิ่งเกี่ยวกับกระบวนการตัดสินใจซื้อสินค้าหรือบริการของผู้บริโภค การสำรวจนี้ยังเป็นการยกย่องแบรนด์สินค้าที่มีความโดดเด่นในตลาดของแต่ละประเทศอีกด้วย

“สำหรับการสำรวจในปีนี้ เราได้ตั้งคำถามในเรื่องการฟื้นฟูความเชื่อมั่นที่มีต่อแบรนด์สินค้าหลังเกิดวิกฤติหรือเหตุการณ์อื้อฉาว ซึ่งเราคิดว่าเป็นสิ่งที่มีประโยชน์มากที่จะเปิดโอกาสให้ผู้บริโภคสามารถแสดงความคิดเห็นและแนวโน้มพฤติกรรมต่อเรื่องนี้ ซึ่งทำให้เราสามารถนำเสนอเนื้อหาสาระอันมีค่าให้แก่แบรนด์สินค้าอุปโภคบริโภคได้อย่างแท้จริงถึงสิ่งที่ผู้บริโภคต้องการ” มิสเตอร์ คริสโตเฟอร์ แอ็กซ์เบิร์ก กรรมการผู้จัดการรีดเดอร์ส ไดเจสท์ เอเชีย กล่าว

จากคำถามที่ว่าจะใช้เวลานานเท่าใดกว่าที่ผู้ตอบแบบสอบถามจะยอมพิจารณาซื้อสินค้าของแบรนด์ที่เคยเกิดเรื่องอื้อฉาวด้านคุณภาพมาก่อน ปรากฏว่า ผู้ตอบแบบสอบถามชาวไทยกว่าร้อยละ 74 จะยอมพิจารณาเรื่องความน่าเชื่อถือใหม่ภายในระยะเวลาสามปี หากแบรนด์ดังกล่าวสามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างทันท่วงที ผลการสำรวจชิ้นนี้จึงชี้ให้เห็นว่าการมีแผนสำหรับรับมือกับวิกฤตการณ์ที่มีประสิทธิภาพและรวดเร็ว นับเป็นสิ่งที่สำคัญยิ่งสำหรับแบรนด์สินค้าและบริการทุกประเภท

หากพิจารณาถึงเรื่องช่วงอายุของผู้ตอบคำถามข้อนี้ จะพบว่าผู้ที่เกิดหลังทศวรรษที่ 1980 จะฟื้นฟูความเชื่อมั่นได้เร็วกว่าผู้ที่มีอายุมากกว่า โดยผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไปจะใช้เวลาในการฟื้นฟูความเชื่อถือยาวนานที่สุด โดยในกลุ่มนี้มีถึงร้อยละ 30 ที่จะไม่กลับไปซื้อสินค้าแบรนด์นั้นอีกเลย ในขณะที่กลุ่มผู้ที่เกิดหลังทศวรรษที่ 1980 มีเพียงร้อยละ 15 เท่านั้นที่จะไม่กลับไปซื้ออีก อย่างไรก็ดี ความแตกต่างของเพศไม่ได้ก่อให้เกิดทัศนคติที่แตกต่างกันในเรื่องความอื้อฉาวของแบรนด์สินค้าแต่อย่างใด โดยผู้ตอบแบบสอบถามทั้งสองเพศจะใช้ระยะเวลาใกล้เคียงกันในเรื่องนี้ (ชายร้อยละ 54 และหญิงร้อยละ 52 จะใช้ระยะเวลาไม่ถึงหนึ่งปีในการฟื้นฟูความเชื่อถือที่มีต่อแบรนด์)

คุณบุริม โอทกานนท์ รองคณะบดีและที่ปรึกษาการตลาด วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า “การกอบกู้ความเชื่อมั่นที่เกิดจากการผิดสัญญานั้นไม่ใช่เรื่องง่ายเลย การฟื้นฟูความเชื่อมั่นที่แท้จริงไม่ได้อยู่ที่ทัศนคติของบริษัทที่มีต่อการฟื้นฟูกิจการ หากสิ่งสำคัญอยู่ที่ว่าผู้บริโภคจะมีทัศนคติอย่างไรต่อภาพลักษณ์ใหม่ของแบรนด์ที่จะส่งผลต่อการฟื้นฟูความเชื่อมั่นของพวกเขาได้ ซึ่งหากความเชื่อถือเป็นตัวชี้วัดความอยู่รอดอย่างยั่งยืนของแบรนด์แล้ว ความซื่อสัตย์ยุติธรรมในการประกอบธุรกิจก็ถือเป็นแก่นสารที่สำคัญยิ่งที่ต้องฝังอยู่ในดีเอ็นเอของแบรนด์สินค้าทุกชนิดบนโลกใบนี้เลยทีเดียว ซึ่งจากการศึกษาผลการสำรวจของรีดเดอร์ส ไดเจสท์ ครั้งนี้ ทำให้ผมรู้สึกยินดีมากที่พบว่าผู้บริโภคชาวไทยมีคะแนนสูงสุดในหัวข้อความเข้าใจในเรื่องสินค้าแฟร์เทรด เมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ในเอเชีย”

จากกระแสการปฏิบัติอย่างจริงจังในเรื่องสินค้าแฟร์เทรดที่กำลังแพร่กระจายไปทั่วโลก จึงนับว่าน่าแปลกใจมากที่ผู้ตอบแบบสอบถามชาวไทยกว่าร้อยละ 58 ไม่รู้เรื่องอะไรเลยเกี่ยวกับสินค้าแฟร์เทรด โดยมีเพียงร้อยละ 42 เท่านั้นที่เข้าใจถึงแนวคิดในเรื่องนี้ อย่างไรก็ดี เมื่อวิเคราะห์ในวงกว้างแล้วกลับพบว่า ประเทศไทยมีคะแนนสูงสุดในประเด็นเรื่องความเข้าใจในสินค้าแฟร์เทรด เมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ในเอเชียจากการสำรวจครั้งนี้

ผู้ตอบแบบสอบถามราวร้อยละ 74 ที่เข้าใจในเรื่องสินค้าแฟร์เทรด ต่างยินดีที่จะซื้อสินค้าแฟร์เทรดที่มีส่วนเพิ่มราคา โดยยินดีจ่ายในส่วนเพิ่มของราคาที่อัตราร้อยละ 6.8 เพื่อสร้าง “ความชอบธรรม”

จุดเด่นของการสำรวจ:

1. ในจำนวนผู้ที่ได้รับรางวัลทั้ง 109 แบรนด์ของการสำรวจแบรนด์ที่เชื่อมั่นได้โดยรีดเดอร์ส ไดเจสท์ในประเทศไทย มีแบรนด์ของประเทศไทยจำนวน 52 แบรนด์

2. ผู้บริโภคชาวไทยร้อยละ 74 จะยอมพิจารณาถึงความน่าเชื่อถืออีกครั้งภายในระยะเวลาสามปี ถ้าแบรนด์ที่เกิดเรื่องอื้อฉาวเกี่ยวกับคุณภาพของสินค้านั้น สามารถแก้ไขปัญหาได้ในทันที

3. ผู้ที่เกิดหลังทศวรรษที่ 1980 มีแนวโน้มที่จะฟื้นฟูความเชื่อมั่นได้เร็วกว่า

4. ผู้บริโภคมากถึงร้อยละ 58 ไม่เข้าใจว่า “สินค้าอุปโภคบริโภคที่ได้รับมาตรฐานระบบการค้ายุติธรรมหรือแฟร์เทรด” คืออะไร

5. พิธีกรรายการโทรทัศน์ประเภทรายการข่าวและสถานการณ์ปัจจุบันที่ได้รับความเชื่อถือสูงสุด ได้แก่ สรยุทธ สุทัศนะจินดา ส่วนพิธีกรรายการโทรทัศน์ประเภทรายการบันเทิง ได้แก่ ปัญญา นิรันดร์กุล

เกี่ยวกับรีดเดอร์ส ไดเจสท์

บริษัท รีดเดอร์ส ไดเจสท์ แอสโซซิเอชั่น จำกัด เป็นบริษัทผลิตสื่อและการตลาดระดับโลก ซึ่งมุ่งเน้นการดำเนินธุรกิจเพื่อให้ความรู้ ความบันเทิง และเชื่อมโยงผู้อ่านทั่วโลก โดยบริษัทฯ ได้ใช้ทักษะทั้งในด้านการตลาด บรรณาธิการและการสรรค์สร้างเนื้อหาสาระ ผ่านสำนักงานในกว่า 44 ประเทศ ซึ่งมีการผลิตทั้งหนังสือ นิตยสาร ดนตรี วีดิทัศน์ และอุปกรณ์การศึกษา เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้ากลุ่มต่างๆ กว่า 130 ล้านคนใน 78 ประเทศทั่วโลก บริษัทฯได้จัดพิมพ์นิตยสารจำนวน 90 ชื่อซึ่งรวมถึงนิตยสาร รีดเดอร์ส ไดเจสท์ จำนวน 50 ฉบับที่มียอดตีพิมพ์มากที่สุดในโลก นอกจากนั้น ยังดำเนินงานเว็บไซต์อีก 83 เว็บไซต์ด้วยกัน และจำหน่ายหนังสือ ผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับดนตรีและวีดิทัศน์อีกถึง 40 ล้านชิ้นต่อปี บริษัท รีดเดอร์ส ไดเจสท์ มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่กรุงนิวยอร์ค ประเทศสหรัฐอเมริกา

หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมของรีดเดอร์ส ไดเจสท์ เอเชีย กรุณาเยี่ยมชมที่เว็บไซต์ www.rdasia.com

สำหรับสื่อมวลชน หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ

คุณภัทรนิตย์ อิ่มอำไพ (ปุ้ม)

Client Service Director

Vivaldi Public Relations

โทรศัพท์: 02 612 2253 ext 107

แฟกซ์: 02 612 2254

อีเมล์: [email protected]

เว็บไซต์ www.vivaldipr.com

คุณพิไลวรรณ ซิบยก (อุ๊)

Public Relations Consultant

Vivaldi Public Relations

โทรศัพท์ 02 612 2253 ต่อ 105

แฟกซ์ 02-612-2254

อีเมล์ [email protected]

เว็บไซต์ www.vivaldipr.com

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๖:๕๐ รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๑๖:๑๔ ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๑๖:๑๓ Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๑๖:๑๐ ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๑๖:๕๒ โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๑๕:๒๖ กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๑๕:๐๑ สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๑๕:๒๙ 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๑๕:๐๘ โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๑๕:๕๒ electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version