โครงการ “เติมพลังสวย รวมพลังใจ ใส่ขาเทียมให้น้อง”

จันทร์ ๑๓ มิถุนายน ๒๐๑๑ ๐๘:๔๙
ยังคงเปิดรับบริจาคอย่างต่อเนื่อง สำหรับโครงการ “เติมพลังสวย รวมพลังใจ ใส่ขาเทียมให้น้อง” โครงการดีๆ เพื่อสังคมจาก Goldberry Japan ที่เปิดรับบริจาคถาดอลูมิเนียมเครื่องสำอางทุกยี่ห้อ เพื่อนำไปเป็นวัสดุในการผลิตขาเทียมให้แก่เด็กและเยาวชน ในมูลนิธิขาเทียม ในสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี

ณัฐพัชร์ อัจฉริยะฉาย ผู้จัดการฝ่ายสื่อสารองค์กร ผลิตภัณฑ์ Goldberry Japan เปิดเผยว่า “นับตั้งเเต่วันที่ 20 เมษายน ที่ผ่านมา จนกระทั่งถึงวันนี้มีผู้ใจบุญร่วมบริจาคถาด อลูมิเนียมจากตลับเครื่องสำอางที่ใช้แล้วอย่างต่อเนื่อง แต่ยังคงระดมการบริจาคต่อไปเพื่อให้ได้ตามเป้าหมาย 100,000 ถาด จึงขอเชิญชวนผู้ที่สนใจร่วมบริจาคถาดอลูมิเนียมเพื่อเด็กเเละคนพิการ พร้อมถวายเป็น พระราชกุศลให้ในหลวงของเราด้วย โดยสามารถบริจาคได้ตั้งเเต่วันนี้ จนถึงวันที่ 5 ธันวาคม 2554 ณ กล่องรับบริจาคที่มีรูปมาโกโตะ โคชินากร ที่ร้านวัตสันสาขาที่ร่วมรายการ, ยูสตาร์ Shop ตึก GMM Grammy และร้านค้าเครื่องสำอางที่ร่วมรายการทั่วประเทศ “

ติดตามกิจกรรมและรายละเอียดเพิ่มเติมของมูลนิธิฯ ได้ที่ www.prosthesesfoundation.or.th และ www.goldberryjapan.com หรือ http://www.facebook.com/GoldberryJapan หรือ โทร.02-686-0000

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ