ภาพข่าว: สมาคมการค้าเมล็ดพันธุ์ไทย ร่วมเสวนา...ทำไมต้องใช้พันธุ์พืชดีมีคุณภาพ

พฤหัส ๑๖ มิถุนายน ๒๐๑๑ ๑๗:๔๘
สมาคมการค้าเมล็ดพันธุ์ไทย (THASTA) โดย ดร.ประเสริฐ ก้องเกียรติงาม (ที่1จากซ้าย) ประธานคณะอนุกรรมการด้านการคุ้มครองพันธุ์พืช ร่วมงานเสวนาจัดโดยกรมวิชาการเกษตร ในเรื่อง “ทำไมต้องใช้พันธุ์พืชดีมีคุณภาพ” และให้ข้อมูลการใช้เมล็ดพันธุ์ดีเพื่อคุณภาพและประสิทธิภาพของผลิตผลการเกษตร ตลอดจนปัญหาจากพระราชบัญญัติคุ้มครองพันธุ์พืช 2542 ในคำจำกัดความของพันธุ์พืชพื้นเมืองทั่วไป และกฎระเบียบที่ไม่เป็นสากล ซึ่งนับเป็นอุปสรรคต่องานวิจัยพัฒนาการเกษตรของประเทศทั้งในระยะสั้นและระยะยาว เกษตรกรจะไม่มีพืชพันธุ์ดีใช้ สร้างผลกระทบต่อทุกส่วนในห่วงโซ่อุปทานการเกษตร นับตั้งแต่เกษตรกร ประชาชน นักวิชาการ นักวิจัยปรับปรุงพันธุ์ การค้าและการลงทุน

ประเทศไทยเป็นแหล่งผลิตเมล็ดพันธุ์ (Seeds)ที่สำคัญแห่งหนึ่งของโลก ในขณะที่ประเทศต่างๆรัฐบาลจะรวมพลังกับภาคเอกชนและสนับสนุนส่งเสริมพัฒนานวัตกรรมความก้าวหน้าทางการเกษตรอย่างเต็มที่ แต่สำหรับประเทศไทยเรามีอุปสรรคความล้าหลังจากกฏหมายและระเบียบขั้นตอน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คำจำกัดความ “พันธ์พืชพื้นเมืองทั่วไป” ในพระราชบัญญัติคุ้มครองพันธุ์พืช 2542 กำหนดขอบเขต กินความหมายที่เหมารวมพันธุ์พืช 3 กลุ่ม คือ 1.พันธุ์พืชที่กำเนิดภายในประเทศ 2.พันธุ์พืชที่มีอยู่ในประเทศไทยที่มีการใช้ประโยชน์อย่างแพร่หลาย 3.ให้หมายความรวมถึงพันธุ์พืชอะไรก็ตามที่ไม่ใช่พันธุ์พืชใหม่ พันธุ์พืชพื้นเมืองเฉพาะถิ่น หรือพันธุ์พืชป่า หมายถึงว่า เหมารวมพืชพันธุ์อะไรก็ตามที่มาเจอหรือมาโผล่อยู่ในประเทศไทยนั่นเอง ซึ่งในหลักสากลไม่มีการปฏิบัติเช่นนี้ งานทั้ง 3 ส่วน คือ งานอนุรักษ์พันธุ์พืช การแบ่งปันผลประโยชน์ และการคุ้มครองพันธุ์พืช ต่างมีเป้าหมายและวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกัน จึงควรให้แยกกฎหมายออกจากกัน

ในการวิจัยและอุตสาหกรรมเมล็ดพันธุ์นั้น เรามีการรับเมล็ดพันธุ์พืชจากต่างประเทศเข้ามาปลูกและปรับปรุงในประเทศไทย เพื่อใช้หรือเพื่อส่งออก ก็เท่ากับว่าเมล็ดพันธุ์เหล่านั้นจะกลายเป็นพันธุ์พื้นเมืองของไทยทันที ซึ่งไม่เป็นไปตามหลักสากล ประเทศไทยเป็นประเทศเดียวในโลกที่มีบทบัญญัติที่ก่อให้เกิดปัญหาในทางปฏิบัติ และไม่เหมาะกับยุคเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy) สร้างผลกระทบต่อประเทศไทย และทุกฝ่ายตั้งแต่ เกษตรกร นักปรับปรุงพันธุ์ นักวิจัย นักวิทยาศาสตร์ การค้าการลงทุน รวมไปถึงผลเสียหายที่จะมีต่อความก้าวหน้าทางนวัตกรรมด้านการเกษตรของประเทศไทย

คำจำกัดความของพันธุ์พืชพื้นเมืองทั่วไป ครอบคลุมไปถึงพันธุ์พืชที่อยู่ในครอบครองของบุคคลทั่วไป ซึ่งหมายถึงพันธุ์พืชทุกชนิดที่ปลูกได้ในประเทศไทย นับว่าไม่ถูกต้อง ซึ่งจะเป็นผลเสียแก่วงการปรับปรุงพันธุ์พืช ที่ไม่กระตุ้นหรือส่งเสริมให้ประชาชน หรือผู้ที่อยากเป็นนักปรับปรุงพันธุ์พืชได้มีโอกาสทำงานพัฒนาค้นหาพันธุ์พืชใหม่

การวิจัยต่าง ๆ ไม่สามารถทำการวิจัยได้อย่างเสรี ไม่สามารถต่อยอดการพัฒนาเมล็ดสายพันธุ์พืชได้ ทำให้การศึกษาทดลองลดน้อยและตกต่ำลงไป เพียงแค่ไม่กี่สายพันธุ์ ก่อให้เกิดผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจการเกษตรของประเทศไทยอย่างมหาศาลทั้งปัจจุบันและอนาคต เราจะสูญเสียโอกาสและศักยภาพของการพัฒนาการเกษตร และต้องจ่ายแพงในการซื้อพืชผล และเทคโนโลยีการเกษตรจากประเทศอื่น ดังที่เคยเกิดขึ้น เช่น ฝ้าย ถั่วเหลือง เป็นต้น

www.thasta.com

PR AGENCY: บ.เบรนเอเซีย คอมมิวนิเคชั่น จำกัด

Tel. 02-911-3282 (5 Auto Lines) Fax 02-911-3208

Email: [email protected]

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ