พีเอ็มที เดอะ อาวร์ กลาส เปิดปรากฏการณ์ใหม่สู่วงการนาฬิกา ในงาน เท็มปัส ออน ทัวร์ เอ็กซอติค ครั้งแรกของเมืองไทย

จันทร์ ๒๐ มิถุนายน ๒๐๑๑ ๑๕:๓๐
พีเอ็มที เดอะ อาวร์ กลาส เปิดปรากฏการณ์ใหม่สู่วงการนาฬิกา ในงาน เท็มปัส ออน ทัวร์ เอ็กซอติค ครั้งแรกของเมืองไทย ยกทัพ แก็ดเจ็ท กลไก และดีไซน์แห่งอนาคต มาให้ชม 6-12 ก.ค.นี้

พีเอ็มที เดอะ อาวร์ กลาส (PMT THE HOUR GLASS) เตรียมสร้างปรากฏการณ์ใหม่ให้วงการนาฬิกาหรูอีกครั้ง ด้วยการจัดงาน เท็มปัส ออน ทัวร์ เอ็กซอติค (Tempus on Tour Exotique) ยกทัพเครื่องบอกเวลาหรูจากแบรนด์นาฬิกาชั้นนำมาอวดแฟนนาฬิกาชาวไทยรวมมูลค่ากว่าหนึ่งพันล้านบาท โดยไฮไลต์ส่วนหนึ่งของผลงานที่เรานำมาเสนอให้ชมกันก่อนใครนี้ เป็นผลงานที่เกิดจากจินตนาการอันไร้ขีดจำกัด ผสานด้วยเทคนิคความรู้ทางวิศวกรรมศาสตร์และภายใต้ดีไซน์แห่งอนาคต ผ่านเวทีนิทรรศการแห่งการเรียนรู้ เทมปัส ออน ทัวร์ โดยมีความโดดเด่นและเอกลักษณ์ของการจัดงานที่ไม่เคยมีมาก่อนในประเทศไทย ระหว่างวันที่ 6-12 กรกฎาคมนี้ ณ ฮอลล์ ออฟ มิเรอร์ส สยามพารากอน ชั้น M

ณรัณ ธรรมาวรานุคุปต์ กรรมการผู้จัดการ พีเอ็มที เดอะ อาวร์ กลาส ผู้ดำเนินธุรกิจนำเข้าและจำหน่ายนาฬิกาแบรนด์เนมชั้นนำของไทย กล่าวถึงงาน เท็มปัส ออน ทัวร์ เอ็กซอติค ว่าเกิดจากความสำเร็จของงานเท็มปัส (TEMPUS) ซึ่งทาง เดอะ อาวร์ กลาส ได้เคยจัดขึ้นมาแล้ว 2 ครั้งที่ประเทศสิงคโปร์ คือ ในปี 2004 และปี 2007 ความแตกต่างของงานนี้เมื่อเทียบกับ Exhibition นาฬิกาอื่นๆ คือ เราได้เรียนเชิญช่างนาฬิกา เจ้าของแบรนด์ รวมทั้งผู้บริหารระดับสูงมาร่วมงานเพื่อพบปะกับผู้บริโภคโดยตรง นอกจากนี้เรายังนำเสนอในเรื่องกิจกรรมการให้ความรู้ของการประดิษฐ์นาฬิกา ซึ่งแนวคิดของงานในเชิงถ่ายทอดความรู้เช่นนี้ จะทำได้ต่อเมื่อตลาดนาฬิกาในประเทศนั้นๆ มีความพร้อมและกลุ่มลูกค้ามีความสนใจในการหาข้อมูลก่อนจะตัดสินใจซื้อนาฬิกาแต่ละเรือน

“สำหรับผมเอง มองว่าคอลเล็กเตอร์หรือนักสะสมชาวไทย และลูกค้าที่ซื้อนาฬิกากับเราในปัจจุบันให้ความสนใจในรายละเอียดเชิงลึกของการประดิษฐ์นาฬิกามากพอสมควร จึงคิดว่าเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมกับการนำคอนเซ็ปต์นี้เข้ามาจัดงานในเมืองไทย โดยใช้ชื่อว่า เท็มปัส ออน ทัวร์ เอ็กซอติค ซึ่งคำว่า “Exotique” ในที่นี้ เราต้องการสื่อถึงความพิเศษ ความแปลกใหม่ ซึ่งถือเป็นปรากฏการณ์ใหม่ในบ้านเรา และผมมั่นใจว่างานนาฬิกาในรูปแบบของการให้ความรู้เช่นนี้นอกจากจะทำให้ลูกค้าได้ซาบซึ้งถึงคุณค่างานศิลป์แล้วยังเป็นการเพิ่มอำนาจให้ผู้บริโภคสามารถเลือกในสิ่งที่คุ้มค่ากับเงินที่จ่ายไป และยังเป็นส่วนหนึ่งในการผลักดันตลาดนาฬิกาบ้านเราให้เติบโตได้อย่างรวดเร็วโดยเราทำหน้าที่เสมือนสื่อกลางรวบรวมกิจกรรมที่เป็นองค์ความรู้ของศิลปะการทำนาฬิกาแบบดั้งเดิม อาทิ การทำหน้าปัดนาฬิกา การประกอบชิ้นส่วนกลไกนาฬิกาชั้นสูง และการประดับอัญมณีหรือเพชรลงบนตัวเรือนมาร่วมสาธิตและเปิดโอกาสให้ผู้ที่มาร่วมงานได้สัมผัสประสบการณ์พิเศษ นอกจากนั้นยังมีไฮไลต์ที่เป็นชิ้นมาสเตอร์พีซจากแบรนด์ต่างๆ นำมาจัดแสดง ร่วมกับเรือนเวลาที่หาชมได้ยากจากคอลเล็กชั่นส่

วนตัวของนักสะสมชาวไทย พร้อมด้วยเครื่องบอกเวลาแนวร่วมสมัย แอ็คเซสซอรี่ และแก็ดเจ็ทต่างๆ ที่โดดเด่นทั้งด้านเทคโนโลยี กลไก ไปจนถึงดีไซน์ที่เหนือกาลเวลามารวมกันอยู่ในงานเดียว” ณรัณ กล่าว

เท็มปัส ออน ทัวร์ เอ็กซอติค จะทำให้นักสะสมนาฬิกาและประชาชนทั่วไปตื่นตาตื่นกับมาสเตอร์ พีซจากแบรนด์ชั้นนำและแบรนด์อิสระที่นักสะสมชื่นชอบได้แก่ อูโบลท์ (Hublot), โชพาร์ด (Chopard), ยูลิส นาร์แดง (Ulysse Nardin), แฮร์รี่ วินสตัน (Harry Winston),ริชาร์ด มิลล์ (Richard Mille), เอช โม เซอร์ แอนด์ ซี (H.Moser&Cie.) เอ็มบี แอนด์ เอฟ (MB&F), อูร์เวิร์ค (Urwerk), เอ็มซีที (MCT), คาริ วูทิไลเนน (Kari Voutilainen), ลุดเดอวิค บัลลูอาร์ด (Ludovic Ballouard), โรเม็ง โกติเยร์ (Romain Gauthier) และ โลรองท์ เฟอร์ริเยร์ (Laurent Ferrier) นอกจากนี้ยังมีแก็ดเจ็ทสุดหรู อย่างโทรศัพท์มือถือที่แพงที่สุดในโลกจากเซลเซียส (Celsius) เข็มขัดจักรกล และกล่องใส่นามบัตรจากโรแลนด์ อิเทน (Roland Iten) มาร่วมสร้างสีสันภายในงานนิทรรศการบนเนื้อที่กว่า 600 ตารางเมตร

พรีวิวไฮไลต์เด็ดๆเพื่อเป็นการเรียกน้ำย่อยกันก่อนที่จะพบกับความอลังการของงานวันที่ 6-12 กรกฎาคมนี้

- โทรศัพท์ระบบจักรกลจาก เซลเซียส (Celsius) แก็ดเจ็ทที่ขึ้นชื่อว่าแพงที่สุดในโลก และยังเป็นนาฬิกาในตัวด้วย มีการนำกลไกไขลานระบบทูร์บิญองมาพัฒนาใช้กับโทรศัพท์มือถือที่มีดีไซน์ทันสมัยและได้รับการขัดแต่งด้วยความประณีตเช่นเดียวกับการทำฟินิชชิ่งของนาฬิกาชั้นสูง และยังเป็นโทรศัพท์ระบบกลไกเครื่องแรกที่สามารถสร้างพลังงานสำรองได้เองจากการเปิด-ปิดฝาโทรศัพท์ พร้อมด้วยเทคโนโลยีล้ำสมัยที่พัฒนามาเพื่อโทรศัพท์รุ่นนี้โดยเฉพาะ มูลค่าประมาณ 12 ล้านบาท

- อูโบลท์ เอ็มพี-03 (Hublot MP-03) ผลงานจากแรงบันดาลใจของอิสระและเสรีภาพ มาพร้อมรูปร่างหน้าตาเหมือนกระสุนปืนฝังด้วยเพชรมูลค่าประมาณ 8.7 ล้านบาท ภายในมาพร้อมกลไกไขลานระบบทูร์บิญอง สามารถสวมใส่คู่กับสายรัดข้อมือ หรือใช้สวมบนสายสร้อยเป็นจี้เพชรบอกเวลาสุดหรูก็ได้เช่นกัน

- ริชาร์ดมิลล์ อาร์เอ็ม 20 (Richard Mille RM 20) มูลค่า 15 ล้านบาท นาฬิกาพกในตัวเรือนไทเทเนียม มาพร้อมกลไกไขลานระบบทูร์บิญอง สามารถเป็นได้ทั้งนาฬิกาพกและนาฬิกาตั้งโต๊ะ

- นาฬิการุ่นเอชเอ็ม 3 รีเบล (HM3 Rebel) จากเอ็มบี แอนด์ เอฟ (MB&F) เครื่องบอกเวลาที่มีแนวคิดนอกกรอบ และมีวิธีแสดงเวลาแบบเฉพาะตัวที่แตกต่างจากนาฬิกาทั่วไป เช่น การแสดงชั่วโมง นาทีผ่านกระจกแซพไฟร์รูปทรงกรวย

- นาฬิการุ่นยู อาร์ 110 ทอร์พิโด (UR-110 Torpedo) จากอูร์เวิร์ค (Urwerk) ซึ่งทำให้การเคลื่อนที่ของแต่ละนาทีเป็นเรื่องที่น่าพิศวงของคนทั่วไปด้วยการบอกเวลาเลียนแบบวงโคจรของดาวเทียม

- แอ็คเซสซอรี่หรูเปี่ยมสไตล์จาก โรแลนด์ อิเทน (Roland Iten) ซึ่งเป็นแบรนด์ที่ผลิตแอ็คเซสเซอรี่จักรกลทั้งหมด อาทิ เข็มขัดปรับความกระชับที่แพงที่สุดในโลก ราคากว่า 2 ล้านบาท ซองใส่บัตรเครดิต และเชือกผูกรองเท้า

ทั้งหมดนี้ถูกสร้างสรรค์ขึ้นจากการนำความรู้เรื่องระบบกลไกมาผสานกับการออกแบบ การเลือกใช้วัสดุ ตลอดจนการตกแต่งที่ทำให้บรรดานาฬิกาและแอ็คเซสซอรี่เหล่านี้นอกจากจะใช้งานได้จริงแล้วยังเป็นเสมือนงานศิลปะ (Art Objects) ที่นำความตื่นตาตื่นใจมาสู่ผู้พบเห็น และทำให้ผู้ที่เป็นเจ้าของรู้สึกภูมิใจที่ได้ครอบครอง

แก็ดเจ็ท กลไก และดีไซน์แห่งอนาคตเหล่านี้ล้วนเป็นประดิษฐกรรมอันทรงคุณค่าแปลกตา ที่หาชมได้ยากยิ่ง ทั้งหมดนี่เป็นเพียงไฮไลต์ส่วนหนึ่งที่ พีเอ็มที เดอะ อาวร์ กลาส ยกทัพมาจัดแสดงในงานเท็มปัส ออน ทัวร์ เอ็กซอติก”สามารถเข้าชมได้ ระหว่างวันที่ 6-12 กรกฎาคมนี้ ที่ ฮอลล์ ออฟ มิเรอร์ส สยามพารากอน ชั้นเอ็ม

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร. 02 2525699 Public Hit

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ