ภาพข่าว: ไทยจับมือกับสมาคมเครื่องสำอางแห่งญี่ปุ่น โหมประชาสัมพันธ์งานประชุมเครื่องสำอางโลก IFSCC 2011 CONFERENCE

พุธ ๒๒ มิถุนายน ๒๐๑๑ ๐๙:๕๐
รองศาสตราจารย์ ดร.พรรณวิภา กฤษฎาพงษ์ ประธานคณะกรรมการจัดงานประชุมเครื่องสำอางโลก IFSCC 2011 Conference และนายกสมาคมนักเคมีเครื่องสำอางแห่งประเทศไทย เจรจาความร่วมมือกับ มร.โชจิ นิชิยามา ประธานสมาคมเครื่องสำอางแห่งประเทศญี่ปุ่น ในเมืองโยโกฮามา โตเกียว ประเทศญี่ปุ่นเกี่ยวกับความร่วมมือสนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรมเครื่องสำอางและนำผลงานวิจัยเครื่องสำอางญี่ปุ่น ซึ่งเป็นผู้นำตลาดโลกมาแสดงในงานประชุมเครื่องสำอางโลก IFSCC 2011 Conference ที่ประเทศไทยจะเป็นเจ้าภาพจัดเป็นครั้งแรก ในวันที่ 31 ตุลาคม — 2 พฤศจิกายน 2554 ณ.โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ แอท เซ็นทรัลเวิลด์ ในกรุงเทพฯ ซึ่งจะมีผู้นำในอุตสาหกรรม นักวิจัย นักวิทยาศาสตร์ การตลาดและผู้เชี่ยวชาญวิทยาการเครื่องสำอางจาก 58 ประเทศทั่วโลกเข้าประชุม

ในภาพจากซ้าย — ขวา ดังนี้

1. ดร.จุนอิชิ โคยามา เลขาธิการ สมาคมเครื่องสำอางแห่งประเทศญี่ปุ่น

2. นางสาวธีรญา กฤษฎาพงศ์ ผู้ประสานงานฝ่ายต่างประเทศ คณะกรรมการจัดงานประชุมเครื่องสำอางโลก IFSCC 2011 Conference

3. มร.โชจิ นิชิยามา ประธานสมาคมเครื่องสำอางแห่งประเทศญี่ปุ่น

4. รศ. ดร. พรรณวิภา กฤษฎาพงษ์ ประธานการจัดงานประชุมเครื่องสำอางโลก IFSCC 2011 Conference

5. ดร.ฟูจิฮิโร กานดะ ประธานคณะกรรมการฝ่ายวิทยาศาสตร์ IFSCC 2011 Conference

ในการเดินทางโรดโชว์ไปยังเมืองโยโกฮามา โตเกียว ในประเทศญี่ปุ่นครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์เชิญชวนผู้ผลิตและประกอบการเครื่องสำอางในญี่ปุ่นเข้าร่วมงานประชุมเครื่องสำอางโลก IFSCC 2011 Conferenceในกรุงเทพฯและประชุมแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นกับสมาคมเครื่องสำอางแห่งประเทศญี่ปุ่นในการพัฒนาความก้าวหน้าของนวัตกรรมเครื่องสำอาง ตลอดจนความร่วมมือระหว่างประเทศทั้งนี้โดยได้รับความสนใจจากอุตสาหกรรมเครื่องสำอางญี่ปุ่นเป็นอย่างมาก ญี่ปุ่นจัดได้ว่าเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายเครื่องสำอางรายใหญ่ที่สุดในเอเชียและเป็นหนึ่งในผู้นำตลาดโลกด้วยความก้าวหน้าด้านวิจัยพัฒนาผลิตภัณฑ์ การสร้างแบรนด์ระดับโลกและการตลาดที่มีประสิทธิภาพ เป็นหนึ่งในประเทศเอเชียอันดับต้นๆ ที่ประเทศไทยมีโอกาสส่งออกวัตถุดิบสารสกัดจากธรรมชาติและพืชผักสมุนไพร ตลาดสารสกัดจากธรรมชาติและพืชผักสมุนไพรในญี่ปุ่นมีมูลค่ารวมทั้งประเทศกว่า 1 แสนล้านบาทหรือ 3.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เป็นหนึ่งในประเทศที่พึ่งพาการนำเข้าจากต่างประเทศเกือบทั้งหมด ในขณะที่ชาวญี่ปุ่นให้ความสนใจด้านสุขภาพมากขึ้นเห็นได้จากแนวโน้มการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพ ตลอดจนผลิตภัณฑ์เพื่อการดูแลผิวและเครื่องสำอางต่างๆ หันมามีส่วนประกอบของสมุนไพรมากขึ้นและมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ความต้องการสินค้าที่มีสารสกัดจากธรรมชาติและพืชผักสมุนไพรในญี่ปุ่นออกเป็น 4 ประเภทคือ 1.เครื่องดื่มและอาหารประมาณ 1.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณ 50,000 ล้านบาท 2.เครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์เพื่อการอาบน้ำประมาณ 0.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือ 35,000 ล้านบาท 3.เครื่องหอมและสีเมคอัพ ประมาณ 0.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือ 31,000 ล้านบาท 4.สินค้าสำหรับใช้ในครัวเรือนประมาณ 0.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือ 3,000 ล้านบาท โดยโอกาสของตลาดเครื่องดื่มและอาหาร ตลอดจนเครื่องสำอาง มีแนวโน้มการเจริญเติบโตที่สูงขึ้นในอนาคต

PR AGENCY : บ.เบรนเอเชีย คอมมิวนิเคชั่น จำกัด

Tel. 02-911-3282 (5 Auto Lines) Fax 02-911-3208

Email: [email protected]

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๕:๑๔ กรมทรัพย์สินทางปัญญาลงพื้นที่แหล่งผลิต ลิ้นจี่นครพนม ผลไม้ GI สินค้าดีเมืองพระธาตุพนม จับมือกลุ่มพันธมิตร Tops Market
๑๕:๕๓ โรงพยาบาลพญาไท 3 ปรับโฉมใหม่ ศูนย์กล้ามเนื้อกระดูกและข้อ ยกระดับการรักษาผู้ป่วยอย่างครบวงจร ภายใต้แนวคิด UNLEASH YOUR BEST
๑๕:๔๒ FWD ประกันชีวิต ครองใจคนรุ่นใหม่ คว้าสองรางวัลองค์กรน่าทำงาน พร้อมเปิดพื้นที่ให้เติบโตในแบบที่เป็นตัวเอง
๑๕:๕๔ ยันม่าร์ฯ คืนกำไรให้กับเกษตรไทย แจกส่วนลดซื้อผลิตภัณฑ์ มูลค่ารวมกว่า 117 ล้านบาท
๑๕:๐๐ กทม. รุกเข้มมาตรการเฝ้าระวังป้องกันควบคุมการระบาดโรคลิชมาเนียในกรุงเทพฯ
๑๕:๕๒ กทม. ขานรับนโยบาย ศธ. ยกเว้นแต่งชุดลูกเสือ-เนตรนารี-ยุวกาชาดโรงเรียนในสังกัด พร้อมจัดสวัสดิการ 20 รายการ
๑๔:๔๓ อิเดมิตสึ ร่วมเปิดฉาก ARRC 2025 ผลักดันนักบิดเอเชียสู่ระดับโลก
๑๔:๐๔ หาดทิพย์ (HTC) จัดประชุมผู้ถือหุ้นประจำปี 2568 อนุมัติจ่ายเงินปันผลงวดสุดท้ายของปี 2567 ในอัตรา 0.57 บาทต่อหุ้น
๑๔:๒๖ Jeff Satur ชวนทุกคนให้ค้นพบตัวเองในเวอร์ชั่นที่สวยงาม ในซิงเกิลใหม่ ฉันก่อนเจอเธอ (Lost and Found)
๑๔:๐๒ คูลชาแนล ช่องภาพยนตร์ไทยคลาสสิค เปิดภาพยนตร์เก่าครบรส 25 วัน 25 เรื่องตลอดเดือนนี้