โครงการดังกล่าวดำเนินการโดย ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านกลยุทธ์ธุรกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัยร่วมด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ภายใต้การสนับสนุนของสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สถาบันอาหาร และองค์การบริหารก๊าซเรือนกระจก(องค์การมหาชน) โดยได้รับทุนสนับสนุนหลักจากสหภาพยุโรป
“CPFดำเนินการเรื่องคาร์บอนฟุตพริ้นท์มาอย่างต่อเนื่อง จึงยินดีให้ความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆในโครงการสาธิตนี้เพื่อเป็นต้นแบบในการดำเนินโครงการ และเพื่อสนับสนุนให้เกิดเครื่องคำนวณที่เหมาะสมสำหรับการพัฒนาและยกระดับอุตสาหกรรมอาหารของประเทศไทย อันจะนำไปสู่การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมอาหารในตลาดโลก โดยการเข้าร่วมโครงการสาธิตนี้ CPF จะดำเนินการสาธิตในผลิตภัณฑ์ 3 ประเภท ได้แก่ กุ้งต้มสุกทั้งตัว เป็ดตัวตัดแต่ง และไข่ไก่เบอร์ 2 แพ็ค 10 ฟอง” นางสาวกุหลาบ กล่าว
สำหรับซีพีเอฟ นับเป็นผู้ผลิตเนื้อไก่รายแรกของโลกที่ได้รับฉลากคาร์บอนฟุตพริ้นท์ โดยได้จัดเริ่มทำฉลากคาร์บอนฟุต พริ้นท์เป็นครั้งแรก ในปี 2551 ด้วยผลิตภัณฑ์อาหารชิกเก้นสแนค (Chicken Snack) ที่ส่งออกไปยังประเทศอังกฤษ ต่อมาในปี 2552 ได้เข้าร่วมโครงการส่งเสริมการใช้ฉลากคาร์บอนฟุตพริ้นท์กับองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (อบก.) และได้รับฉลากคาร์บอนฟุตพริ้นท์จำนวน 3 ผลิตภัณฑ์ คือ ไก่สด ไก่ย่างเทอริยากิ และ ขนมขบเคี้ยวสำหรับสุนัข (Jerhigh Chicken Stick) โดยซีพีเอฟยังคงดำเนินการด้านคาร์บอนฟุตพริ้นท์อย่างต่อเนื่อง จนถึงปัจจุบันซีพีเอฟได้รับฉลากคาร์บอนฟุตพริ้นท์แล้วถึง 40 รายการ