อาเซียนตั้งไทยเป็นประธานการตลาดและสื่อสารด้านการท่องเที่ยวอาเซียน

อังคาร ๐๕ กรกฎาคม ๒๐๑๑ ๑๖:๕๓
นางธนิฏฐา เศวตศิลา มณีโชติ รองปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา (รป.กก.) เข้าร่วมการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านการท่องเที่ยวอาเซียน ครั้งที่ ๓๔ (The 34th ASEAN NTOs Meetings) ณ เมืองหลวงพระบาง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เมื่อปลายเดือนมิถุนายน ๒๕๕๔

นางธนิฏฐา เปิดเผยว่า การประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านการท่องเที่ยวอาเซียน ครั้งที่ ๓๔ ประกอบด้วยเจ้าหน้าที่อาวุโสในระดับปลัดกระทรวงหรือเทียบเท่าจากประเทศสมาชิกอาเซียนทั้ง ๑๐ ประเทศ โดยมีแนวทางที่จะส่งเสริมการตลาดร่วมกัน ซึ่งที่ประชุมได้รับรองแม่แบบ (Template) ของแผนยุทธศาสตร์ด้านการท่องเที่ยวอาเซียน เพื่อติดตามการดำเนินการของแผนยุทธศาสตร์ฯ ซึ่งแบ่งกลุ่มคณะทำงานเป็น ๓ คณะ คือ ๑.คณะทำงานด้านการตลาดและการสื่อสาร โดยมีประเทศไทยเป็นคณะทำงาน ๒.คณะทำงานด้านการท่องเที่ยวเชิงคุณภาพ และ ๓.คณะทำงานด้านการพัฒนาสินค้า และให้มีการระบุผู้ประสานงานหลักของคณะทำงานย่อยสาขาที่เหลือ ทั้งนี้ ไทย เป็นผู้ประสานงานหลักในด้านแผนยุทธศาสตร์การตลาดท่องเที่ยวอาเซียน การพัฒนาบุคลากรของอาเซียนด้านการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ มาตรฐานโรงแรมสีเขียว และมาตรฐานสปาเพื่อสุขภาพโดยไทยได้รายงานที่ประชุมให้ทราบถึงการแต่งตั้งมูลนิธิใบไม้เขียวเป็นที่ปรึกษาในการจัดทำมาตรฐานโรงแรมสีเขียวของอาเซียน (ASEAN Green Hotel Standard) และจะเป็นเจ้าภาพจัดฝึกอบรมมาตรฐานโรงแรมสีเขียว ครั้งที่ ๑ ระหว่างวันที่ ๒๘ —๒๙ กรกฎาคม ณ เมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี รวมถึงจัดจ้างสมาคมสปาไทยเป็นที่ปรึกษา เพื่อพัฒนาการจัดทำมาตรฐานสปาเพื่อสุขภาพของอาเซียน และขอให้ประเทศสมาชิกให้ความเห็นต่อร่างมาตรฐานสปาเพื่อสุขภาพของอาเซียน จะเสนอต่อที่ประชุมคณะทำงานด้านการท่องเที่ยวเชิงคุณภาพครั้งต่อไปในเดือนตุลาคม ๒๕๕๔ ณ ประเทศบรูไน เพื่อให้ที่ประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านการท่องเที่ยวอาเซียนพิจารณาต่อไปในเดือนมกราคม ๒๕๕๕ ณ เมืองมานาโด ประเทศอินโดนิเซีย นอกจากนี้ยังเสนอแนวทางที่จะเพิ่มวงเงินอุดหนุนของสมาชิก โดยที่ประชุมเห็นชอบให้ใช้สโลแกน “Visit South East Asia: Feel the Warmth” และโลโก้เพื่อโฆษณาอาเซียนในภาพรวมในโครงการต่างๆ อย่างเป็นทางการ และจัดสรรงบประมาณกองทุนอาเซียน (ASEAN NTOs Fund) สำหรับโครงการศึกษาด้านยุทธศาสตร์ด้านการท่องเที่ยวตลาดอาเซียน (Study on ASEAN Tourism Marketing Strategy) ซึ่งเสนอโดยไทยในฐานะประธานคณะทำงานด้านการตลาดและการสื่อสาร จำนวน ๒๓,๐๐๐ เหรียญสหรัฐ และโครงการจัดทำซีดี ASEAN: A World of Wonders and Diversity เสนอโดยประเทศกัมพูชา จำนวน ๕,๐๐๐ เหรียญสหรัฐ และให้ประเทศสมาชิกอาเซียนชำระเงินอุดหนุนประจำปีสำหรับกองทุนอาเซียน ปี พ.ศ. ๒๕๕๕- ๒๕๕๘ จำนวน ๒๐,๐๐๐ เหรียญสหรัฐต่อปี (เพิ่มจากเดิมที่ชำระประเทศละ ๑๐,๐๐๐ เหรียญสหรัฐ) เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมด้านการท่องเที่ยว โดยจะจัดประชุมพิเศษคณะทำงานด้านการตลาดและการสื่อสาร (Special Meeting of Marketing and Communication Working Group) ในเดือนตุลาคม ๒๕๕๔

ในส่วนของการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านการท่องเที่ยวอาเซียน +๓ ครั้งที่ ๑๙ นั้น รป.กก. กล่าวว่า ที่ประชุมได้มีบันทึกความร่วมมือ (Memorandum of Cooperation — MOC) ของ ASEAN +๓ เป็นครั้งแรก โดยมีการรายงานความคืบหน้าในการดำเนินโครงการความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวระหว่างอาเซียนกับประเทศจีน ญี่ปุ่น เกาหลี ผ่านศูนย์อาเซียน — จีน อาเซียน — เกาหลี และอาเซียน — ญี่ปุ่น ซึ่งได้มีการพิจารณาร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวระหว่างอาเซียนและจีน ญี่ปุ่น และเกาหลี(อาเซียน +๓) และเห็นชอบให้เปลี่ยนแปลงชื่อบันทึกความเข้าใจ(MOU) เป็นบันทึกความร่วมมือ(MOC) ระหว่างหน่วยงานด้านการท่องเที่ยวของประเทศสมาชิก +๓ และลงนามโดยรัฐมนตรีท่องเที่ยวของแต่ละประเทศสมาชิก โดยขอให้แจ้งผลการพิจารณาให้สำนักเลขาธิการอาเซียนทราบภายในวันที่ ๓๑ กรกฎาคม ๒๕๕๔ ทั้งนี้ สำนักเลขาธิการอาเซียนจะเวียนร่างสุดท้ายของบันทึกความร่วมมือฯ ให้ประเทศสมาชิกดำเนินการกระบวนการภายในประเทศเพื่อลงนามในการประชุมรัฐมนรีท่องเที่ยวอาเซียน+๓ ครั้งที่ ๑๑ ในเดือนมกราคม ๒๕๕๕ และมีการประชุมต่อเนื่องของเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียนกับประเทศคู่เจรจา คือ การประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านการท่องเที่ยวอาเซียน — อินเดีย ครั้งที่ ๗ โดยที่ประชุมได้พิจารณาร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวระหว่างอาเซียนและอินเดียโดยกำหนดข้อคิดเห็น/ข้อเสนอแนะ รวมถึงการแก้ไขข้อความ ต่อร่างบันทึกความเข้าใจฯ ภายในวันที่ ๓๑ กรกฎาคม ๒๕๕๔ และจัดทำบันทึกความเข้าใจฯ ฉบับสุดท้าย สำหรับการดำเนินการกระบวนการภายในประเทศ ภายในวันที่ ๓๑ ตุลาคม ๒๕๕๔ ทั้งนี้ คาดว่าจะมีการลงนามในบันทึกความเข้าใจฯ ระหว่างการประชุม ASEAN Tourism Forum 2012(ATF 2012) ณ เมืองมานาโด ประเทศอินโดนีเซีย

นางธนิฏฐา กล่าวทิ้งท้ายว่า ประเทศกลุ่มความร่วมมือรัฐอ่าวอาหรับ ๖ ประเทศ ได้ให้ความสนใจด้านการท่องเที่ยว โดยเฉพาะเกี่ยวกับโรงแรม การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ และการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ซึ่งที่ประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านการท่องเที่ยวอาเซียน ได้เห็นชอบให้เชิญผู้แทนจากประเทศสมาชิกกลุ่มความร่วมมือรัฐอ่าวอาหรับเข้าร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการ/ฝึกอบรมด้านการท่องเที่ยวในอนาคต โดยเฉพาะการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ซึ่งไทยเป็นผู้ประสานงานหลัก คาดว่าจะสร้างความเจริญเติบโต และความมั่นคงในด้านของความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวภายในกลุ่มประเทศอาเซียนให้มากขึ้นอีกด้วย

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ