กรุงเทพฯ--25 ก.ค.--สกว.
สืบเนื่องจากนโยบายการต่อสู้เพื่อเอาชนะความยากจนของรัฐบาล ได้จัดตั้ง “ศูนย์อำนวยการต่อสู้เพื่อเอาชนะความยากจนแห่งชาติ (ศตจ.)” ซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรี พลตำรวจเอก ชิดชัย วรรณสถิตย์ เป็นผู้อำนวยการศูนย์ฯ และให้มีการจัดตั้ง “ศูนย์ประสานสนับสนุนการต่อสู้เพื่อเอาชนะความยากจนภาคประชาชน (ศตจ.ปชช.)” ขึ้นทำหน้าที่เชื่อมโยงการผนึกพลังเครือข่ายภาคประชาชนเพื่อร่วมมือกับ ศตจ.จังหวัด และภาครัฐ ภาควิชาการ ในการแก้ปัญหาความยากจน
ศตจ.ได้จัดทำ “โครงการนำร่องการบูรณาการการบริหารจัดการเชิงพื้นที่” โดยความร่วมมือระหว่าง กระทรวงมหาดไทย (มท.)สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) และสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.) เพื่อพัฒนาให้เกิดกลไกและระบบ ที่เอื้อให้พื้นที่ (ทั้งระดับจังหวัดและระดับชุมชน) สามารถแก้ไขปัญหาความยากจนได้อย่างบูรณาการ มุ่งเน้นการบริหารจัดการเชิงพื้นที่ ตลอดจนการเสริมพลังและศักยภาพเครือข่ายชุมชน/ภาคประชาชน ให้มีการผนึกกำลัง เป้าหมาย แผนปฎิบัติการของภาคประชาชนกับภาคีท้องถิ่น เชื่อมโยงสู่ยุทธศาสตร์จังหวัด เพื่อให้เกิดแผนแก้ไขความยากจนจังหวัด ที่พัฒนาจากความร่วมมือของเจ้าของปัญหา (ภาคประชาชน-Demand side) ร่วมกับภาครัฐ (Supply side)
โครงการดังกล่าวเริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2548 โดยมีพื้นที่นำร่อง 12 จังหวัด มีความก้าวหน้าในการดำเนินงาน ทั้งในด้านการพัฒนาแผนแก้จนจังหวัด การผนึกกำลังความร่วมมือภาครัฐ ภาควิชาการ ภาคประชาชน และการพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่าง ศตจ.จังหวัด และ ศตจ.ปชช. ทั้งนี้โครงการฯ ยังต้องดำเนินการต่อไปอย่างต่อเนื่อง ภายใต้ความร่วมมือของภาคีทั้งภาคราชการ ภาควิชาการและภาคประชาชน จึงจำเป็นที่จะต้องสรุปบทเรียนและกำหนดจังหวะก้าวต่อไป รวมทั้งกำหนดทิศทางในการขยายผลพื้นที่นำร่อง เพื่อนำประสบการณ์ความสำเร็จไปใช้ในพื้นที่ยากจนอื่น ๆ จึงได้จัดให้มีการสัมมนาเรื่อง “การผนึกพลังภาครัฐ ภาควิชาการ ภาคประชาชน ในการแก้ไขปัญหาความยากจน” กรณีตัวอย่างโครงการนำร่องการบูรณาการการบริหารจัดการเชิงพื้นที่ 12 จังหวัด ขึ้นระหว่างวันที่ 25-26 กรกฎาคม 2548 เวลา 8.30-16.30 น. ณ ห้องแกรนด์ฮอลล์ 1 โรงแรมรามาการ์เด้นท์ ถ.วิภาวดีรังสิต กรุงเทพฯ เพื่อนำไปสู่การบรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าว และการนำไปสู่การขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาความยากจนอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งทั้ง 3 หน่วยงานจะได้ลงนามในบันทึกความร่วมมือโครงการนำร่องการบูรณาการ การบริหารจัดการเชิงพื้นที่ภายในงานด้วย
การผนึกพลังภาครัฐ ภาควิชาการ ภาคประชาชน
ในการแก้ไขปัญหาความยากจน
กรณีตัวอย่างโครงการนำร่องการบูรณาการบริหารจัดการเชิงพื้นที่ 12 จังหวัด
ระหว่างวันที่ 25-26 กรกฎาคม 2548
ณ ห้องแกรนด์ฮอลล์ 1 โรงแรมรามาการ์เด้นท์ ถ.วิภาวดีรังสิต กรุงเทพฯ
25 กรกฎาคม 2548
08.30-09.00 น. ลงทะเบียน
09.00-09.10 น. ชมวีดีทัศน์ “ประสบการณ์การดำเนินงานโครงการนำร่องฯ 12 จังหวัด”
09.10-09.20 น. กล่าวนำวัตถุประสงค์การจัดการสัมมนา
โดย ศ.ดร.ปิยะวัติ บุญ-หลง
ผู้อำนวยการ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)
09.20-09.30 น. พิธีลงนามในบันทึกความร่วมมือโครงการนำร่องการบูรณาการ
การบริหารจัดการเชิงพื้นที่
- กระทรวงมหาดไทย
- สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย
- สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน
09.30-10.30 น. ปาฐกถาพิเศษเรื่อง “การผนึกพลังภาครัฐ ภาควิชาการ ภาคประชาชน ใน
การแก้ไขปัญหาความยากจน”
โดย พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ
ประธานที่ปรึกษา ศตจ.
10.30-12.30 น. เสวนา “ประสบการณ์และผลการดำเนินงานโครงการนำร่องการบูรณา
การการบริหารจัดการเชิงพื้นที่” โดย
- นายสุธี มากบุญ
ผู้ว่าราชการจังหวัดยโสธร ผู้แทน ศตจ.จังหวัด
- นายไมตรี อินทุสุต
รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช ผู้แทน ศตจ.มท.
- ดร.สีลาภรณ์ บัวสาย
ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย
- รศ.ดร.เผดิมศักดิ์ จารยะพันธุ์
ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยทรัพยากรทางน้ำ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- นางสาวสมสุข บุญญะบัญชา
ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน
- นายสุจิตร์ สว่างอารมณ์
ผู้แทน ศตจ.ปชช. จังหวัดอุตรดิตถ์
12.30-13.30 น. รับประทานอาหารกลางวัน
13.30-16.30 น. แบ่งกลุ่มย่อยระดมความคิดเห็นในประเด็น
- การเชื่อมโยงกลไกภาคประชาชนในจังหวัด
- การเชื่อมโยงงาน ศตจ.จังหวัด - ศตจ.อำเภอ
- การพัฒนาแผนแก้จนจังหวัด
- แนวทางขยายผลจังหวัดนำร่อง
16.30-17.30 น. ประมวล/สรุปผลกลุ่มย่อย
วันที่ 26 กรกฎาคม 2548
09.00-09.30 น. ทบทวนสาระการประชุมของวันที่ 25 กรกฎาคม 2548
09.30-11.00 น. นำเสนอผลการประชุมกลุ่มย่อย
11.00-11.30 น. สรุปภาพรวมและสังเคราะห์
โดย นางสาวสมสุข บุญญะบัญชา
รักษาการผู้อำนวยการ ศตจ.ปชช.
11.30-12.30 น. ให้ข้อคิดเห็น/ข้อเสนอแนะ และปิดการสัมมนา
โดย นายประชา มาลีนนท์
รมว. กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์--จบ--