งาน Thailand Festival of the Mind & Thailand Open Memory Championship 2011

พฤหัส ๐๗ กรกฎาคม ๒๐๑๑ ๑๗:๐๑
สมาคมความคิดสร้างสรรค์ ความจำและการเล่น เป็นหน่วยงานที่ทำกิจกรรมเพื่อสังคม เล็งเห็นความสำคัญและมุ่งเน้นส่งเสริมความรู้ความสามารถของคนไทย ในเรื่องความจำและการพัฒนาศักยภาพของสมองทั้งสองซีก โดยสมาคมฯ มีการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมวัตถุประสงค์ดังกล่าว คือ การจัดแข่งขันความจำชิงแชมป์ประเทศไทย ตั้งแต่ปี 2551 ถึงปัจจุบันรวม 3 ครั้ง โดยเฟ้นหาสุดยอดอัจฉริยะนักจำแห่งประเทศไทย เพื่อก้าวสู่การแข่งขันระดับโลก และในปีนี้ มีการจัดกิจกรรมดังกล่าวขึ้นเป็นครั้งที่ 4 ในวันเสาร์ที่ 2 กรกฎาคม 2554 ที่ผ่านมา ณ อาคารวิทยบริการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน

เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ข่าวการจัดงานครั้งนี้ให้บุคคลทั่วไปโดยเฉพาะอย่างยิ่งชาวไทยได้ทราบ เพื่อให้เห็นความสำคัญของการพัฒนาความจำและเข้าร่วมการแข่งขันในปีต่อๆ ไป ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อตัวบุคคลและประเทศชาติ ทางสมาคมฯ จึงใคร่ขอความอนุเคราะห์ประชาสัมพันธ์งานดังกล่าวซึ่งจัดผ่านไปแล้วนั้นในสื่อของท่าน โดยได้แนบเนื้อข่าวและภาพข่าวมาพร้อมกันนี้ หากท่านต้องการข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อได้ที่ คุณพุทธชาติ สุริยวงษ์ โทรศัพท์ 02-981-0247, 02-981-1242 หรือ e-mail : [email protected]

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ