โดยมีข้อเสนอดังนี้
คณะทำงานประชาคมงดเหล้า : กำหนดวันที่ 12 มีการรณรงค์งดเหล้าเข้าพรรษาร่วมแบบเชิงบูรณาการ ร่วมกับ องค์การบริหารส่วนจังหวัด โดยช่วงเช้ามีขบวนรณรงค์จักรยานยนต์ 500 คันช่วงเช่า จนถึงกลางวันเริ่มออกตัวที่ อบจ. มีเวทีเสวนาบุคลต้นแบบงดเหล้า 100 % ในการพูดคุย โดยท่านผู้ว่าราชการจังหวัดกล่าวเปิดงานเรื่องยาเสพติดและกิจกรรม งดเหล้า ช่วงเข้าพรรษา โดยมีวิทยุถ่ายทอดคลื่น 90.25 mhz
เครือข่ายพระสงฆ์ : ให้โรงเรียนขยายโอกาส ทุกโรงทุกแห่ง ผ่านการประสานงานกลไกคณะสงฆ์จังหวัด และกลไกสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา โดยให้ทุกโรงที่แห่เทียนจากโรงเรียนเข้าวัดแล้ว ปฏิญาณตนงดเหล้าเข้าพรรษาที่ วัด การแสดงตนเป็นพุทธมามกะ และบอกกล่าวให้พ่อแม่ช่วย ลดละ เลิกเหล้า ช่วงเข้าพรรษา
สาธารณสุขจังหวัด : ให้เน้นย้ำเรื่องการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ใน วันอาสาฬหบูชา วันเข้าพรรษาห้ามดื่ม
ส่วนมาก ร้านค้าสถานประกอบการจะปิดไม่จำหน่ายเนื่องในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา แต่สิ่งที่น่าเป็นห่วงคือการไม่รู้เท่าถึงการของธุรกิจ ที่ไปจัดงานในสถานที่ราชการ วัด และโรงเรียนดังที่เคยมีมา เช่น “งานลำไย” จนมีการจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ แต่ปีนี้ ทางธุรกิจ ได้สนับสนุน การจัดงานลำไยในสถานที่เอกชน ที่ “ตลาดจตุจักร” จึงขอความร่วมมือให้ภาคประชาชนร่วมมือกับภาครัฐในการเฝ้าระวังการกระทำความผิด พระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 2551 และวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา : มีการประสานความร่วมมือกับโรงเรียน ทุกโรงเรียน ที่มีสหกรณ์ในโรงเรียน 150 โรงเรียนทั้ง รัฐ เอกชน ขยายโอกาส ไม่อนุญาตให้จำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยสำนักงานเขต มีคณะกรรมการโรงเรียนร่วมกับ สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ในการออกตรวจ สถานบันเทิง ร้านเกมส์ การดื่มสุราในโรงเรียน อย่างเคร่งครัด ยังมีการทำข้อตกลงกับผู้มาใช้สถานที่ในโรงเรียนในการจัดงานโดยห้ามไม้ให้มีจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ในสถานศึกษา
สำนักงานวัฒนธรรม สนับสนุนให้จัด สัปดาห์งานงดเหล้าเข้าพรรษา โดยมีการรณรงค์ประชาสัมพันธ์แบบเคลื่อนที่ เช่น การสวมเสื้อ สุขเลิกเหล้า ตั้งแต่เข้าพรรษานี้ โดยใช้ลักษณะการจัดทำกิจกรรมปฏิญาณตนงดเหล้าเข้าพรรษาเฉลิมพระเกียรติ 84 พรรษา สร้างกระแสอำเภอปฏิญาณตนงดเหล้าเข้าพรรษา 100 % พร้อมยกย่องคนต้นแบบดี สร้างจุดขายเข้าพรรษาเป็นเมืองปลอดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยใช้การนำร่องที่ 100 หมู่บ้านที่บ้านนาเมือง ในวันที่ 8 กรกฎาคม 2554
กรณีศึกษา
ตำบลศรีเตี้ย มีคนร้องเรียนผ่านกระทรวงสาธารณสุข วัดศรีเตี้ย มีการจัดงานเทศกาลที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ท้องถิ่นมีการรับงบของธุรกิจ จึงมีการแจ้งมายังสำนักงานสาธารณะสุขจังหวัด จนมีการดำเนินคดี
งานสรงน้ำพระธาตุ วัดศรีดอนชัย อำเภอบ้านธิ ไม่สนับสนุนการจัดงานเทศกาลดื่มกิน โดยเจ้าอาวาสและชาวบ้านมีความร่วมมือทำให้การจัดงานไม่มีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์