สช.ชี้ “สมัชชาสุขภาพ” เปิดพื้นที่ให้เสียงประชาชนกำหนดนโยบายชาติ

อังคาร ๑๒ กรกฎาคม ๒๐๑๑ ๑๐:๔๗
เวที ๑๐ ปีสมัชชาสุขภาพระดมเครือข่ายทั่วประเทศย้ำประเด็นเสียงประชาชนกำหนดนโยบายสาธารณะด้านสุขภาพ โชว์ต้นแบบภาครัฐ-ประชาชน อธิบดีกรมคุมประพฤติชี้ความสำเร็จ ๕๐๐ ศูนย์ยุติธรรมชุมชน คนสงขลาเสนอโมเดลขับเคลื่อนจังหวัดพอเพียง-ธรรมนูญสุขภาพตำบลแห่งแรก

วันที่ ๗-๘ ก.ค. ที่โรงแรมเชียงใหม่แกรนด์วิว จ.เชียงใหม่ สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ(สช.) เครือข่ายสมัชชาสุขภาพล้านนา และเครือข่ายสมัชชาสุขภาพทั่วประเทศ ร่วมจัดงาน “๑ ทศวรรษสมัชชาสุขภาพ : ย้อนอดีต ยลอนาคต สานพลังสรรค์สร้างนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ” โดย นพ.อำพล จินดาวัฒนะ เลขาธิการธิการ สช. กล่าวว่าสุขภาพเกี่ยวข้องกับทุกมิติของสังคม แต่ที่ผ่านมาประชาชนมักเป็นผู้รอรับและผิดหวังเสมอ ดังนั้นทุกภาคส่วนในสังคมควรมีส่วนร่วมจึงจะเกิดพลังกำหนดนโยบายสาธารณะเพื่อนำไปสู่ระบบสุขภาพที่ดี ขณะเดียวกันก็ต้องให้ความสำคัญและผลักดันให้เกิดสมัชชาสุขภาพรดับพื้นที่ด้วย

รศ.ดร.วิลาวัณย์ เสนารัตน์ ประธานกรรมการจัดประชุมฯ กล่าวว่าสิบปีแล้วที่สมัชชาสุขภาพเป็นคำตอบของสังคม ด้วยจุดเด่นที่เปิดกว้างให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการพัฒนา บนวิถีประชาธิปไตยที่งดงาม

“เสน่ห์ของสมัชชาสุขภาพคือเป็นเวทีสาธารณะของทุกคนที่เปิดพื้นที่ให้แก่เสียงประชาชนคนเล็กคนน้อยเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการพัฒนานโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพของตน” ดร.วิลาวัณย์ กล่าว

ด้าน ดร.เดชรัต สุขกำเนิด อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวว่าที่ผ่านมารายงานวิเคราะห์ผลกระทบด้านสุขภาพ(เอชไอเอ) เป็นเครื่องมือที่จำกัดอยู่เฉพาะการประเมินผลกระทบทางลบ ทั้งที่ทางบวกก็สามารถใช้สร้างทางเลือกให้ประชาชน นำไปสู่การผลักดันให้เกิดนโยบายรัฐ โดยการนำเสนอข้อมูลที่ถูกต้องครบถ้วนรอบด้านและมากพอที่จะที่จะให้แต่ละฝ่ายรวมทั้งผู้มีอำนาจใช้ประกอบการตัดสินใจในทางเลือกที่ดีที่สุด ทั้งนี้คาดว่าทศวรรษหน้าวิธีการนี้จะเริ่มเข้ามามีบทบาทยิ่งขึ้น

“เวลาทำเอชไอเอเราควรประเมินผลกระทบของทางเลือกต่างๆในการพัฒนา แต่คงไม่มีตัวเลขที่ฟันธงว่าแบบไหนอย่างไร แต่บางครั้งรัฐหรือราชการคงมองต่างจากชาวบ้าน”

เผชิญ พลเทศ จากเครือข่ายแม่น้ำท่าจีน จ.นครปฐม กล่าวว่าเอชไอเอได้จุดพลังให้เกิดการเรียนรู้และตื่นขึ้นของชุมชนและคนตัวเล็กๆและภาคประชาชน เช่น กรณีคลองลัดท่าจีน หากทำคลองนี้ใช้เงินสามแสนกว่าล้าน เมื่อทำเอชไอเอได้เสนอว่าให้ขุดลอกคลองแทน โดยผลลัพธ์ด้อยกว่าแค่ร้อยละ ๒ในขณะที่ใช้งบประมาณเพียงแค่ ๘,000 ล้านบาท ต่างกันมหาศาล

ผศ.ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ ผู้อำนวยการสถาบันการจัดการระบบสุขภาพมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กล่าวว่าการเสนอนโยบายสาธารณะที่ผ่านมาทำได้โดย ๑.เสนอจากหน่วยงานระดับล่างขึ้นบน ๒.เสนอผ่านพรรคการเมือง ๓.รวบรวมรายชื่อตามรัฐธรรมนูญ ช่องทางเหล่านี้เป็นเรื่องยากสำหรับชาวบ้าน จึงต้องใช้วิธีประท้วง จนมี พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ ๒๕๕๐ เกิดกระบวนการสมัชชา โอกาสประชาชนจึงเปิดกว้างยิ่งขึ้น

ด้าน ดร.อุทัย ดุลยเกษม อธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากร กล่าวว่าสิ่งที่สมัชชาต้องทบทวนคือต้องช่วยให้ผู้ข้าร่วมกระบวนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาวะที่ดี มีกระบวนการติดตามผลมากขึ้น และปรับตัวให้สอดคล้องกับการทำงานขององค์กรตระกูล ส. โดยเฉพาะสำนักงานวิจัยระบบสาธารณสุข และสำนักงานกองทุนส่งเสริมสุขภาพ เพื่อผลักดันนโยบายสาธารณะเชิงโครงสร้าง

ส่วนชาญเชาวน์ ไชยานุกิจ อธิบดีกรมคุมประพฤติ กล่าวว่าจากประสบการณ์การนำกระบวนการสมัชชาไปปรับใช้ในกระบวนการยุติธรรม โดยทำให้เกิด “ประชาคมชาวบ้าน”ที่ร่วมกันค้นปัญหา-หาคำตอบ โดยมีหน่วยงานรัฐคอยสนับสนุนจนนำไปสู่การจัดการความขัดแย้งในชุมชนได้

“มีศูนย์ยุติธรรมชุมชน ๕๐๐ กว่าศูนย์ ๘๐,๐๐๐ กว่าคนอยู่ในกระบวนการ จากเรื่องไกล่เกลี่ยข้อพิพาท ค่อยๆแทรกสู่การขับเคลื่อนโดยชุมชนที่ช่วยกันสอดส่องป้องกันการทำผิดกฎหมาย”ชาญเชาวน์ กล่าว

ด้าน ชาคริต โภชะเรือง ผู้ประสานงานเครือข่ายสมัชชาสุขภาพสงขลา กล่าวว่าคนในท้องถิ่นจัดการปัญหาตัวเองได้ดีที่สุด และหากทำให้ชาวบ้านรู้สึกได้ว่าเขากำหนดแนวทางแก้ปัญหาและได้รับประโยชน์เอง ก็จะได้รับการยอมรับ ซึ่งกระบวนการสมัชชาตอบโจทย์นี้ได้ดี เพราะทุกขั้นตอนชาวบ้านมีส่วนร่วม

ชาคริต กล่าวว่าปัญหาในสงขลาจำแนกได้เป็น ๔ มิติ ๑.มิติเชิงระบบ ได้แก่ ระบบหลักประกันสุขภาพ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ๒.มิติสุขภาพเฉพาะกลุ่ม อาทิ เยาวชนและครอบครัว ผู้สูงอายุ วัยแรงงาน คนพิการ ผู้บริโภค ๓.มิติเฉพาะประเด็น เช่น อุบัติเหตุ เกษตร อาหาร สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม ๔.มิติการสนับสนุน ซึ่งเกี่ยวข้องกับการจัดการความรู้และการสื่อสารสาธารณะ

“ที่ผ่านมาแก้ปัญหาแยกส่วน ไม่มีเจ้าภาพ เราเริ่มใช้กระบวนการสมัชชาผนึกแนวร่วมที่เห็นปัญหาเดียวกันช่วยกันแก้ กระทั่งเกิดเป็นเครือข่าย ที่เข้มแข็งในทุกมิติปัญหา” ชาคริต กล่าว

ชาคริต ยังกล่าวว่ารูปธรรมที่เกิดขึ้นจากการแก้ปัญหาตามแนวทางดังกล่าว เช่น “ธรรมนูญสุขภาพตำบลแห่งแรก ต.ชะแล้” ซึ่งเป็นข้อตกลงชุมชนเรื่องสุขภาพ, ธรรมนูญลุ่มน้ำ ธรรมนูญกองทุนกลาง ฯลฯ

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๒ พ.ย. รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๒๒ พ.ย. ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๒๒ พ.ย. Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๒๒ พ.ย. ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๒๒ พ.ย. โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๒๒ พ.ย. กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๒๒ พ.ย. สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๒๒ พ.ย. 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๒๒ พ.ย. โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๒๒ พ.ย. electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version