แนะ ม.ยุคใหม่หนุน นศ.เรียนรู้ผ่านโจทย์ปัญหา -รับใช้สังคม

อังคาร ๑๒ กรกฎาคม ๒๐๑๑ ๑๓:๔๐
ศ.นพ.วิจารณ์แนะมหาวิทยาลัยในศตวรรษที่ 21 ต้องปรับการเรียนการสอนใหม่ ให้นักศึกษาเรียนรู้ผ่านโจทย์ปัญหาและความต้องการของชุมชน พร้อมพัฒนาระบบรองรับ “วิชาการสายรับใช้สังคม” อาจารย์สอนน้อยลง แต่นักศึกษาได้เรียนรู้มากขึ้น

ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช ประธานคณะกรรมการการอุดมศึกษา และรองประธานมูลนิธิสยามกัมมาจล กล่าวปาฐกถาพิเศษในงานสัมมนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ "การพัฒนาวิชาการสายรับใช้สังคม" เมื่อเร็วๆ นี้ว่า ทิศทางการพัฒนาการอุดมศึกษาไทยเพื่อปฏิรูปการศึกษาครั้งใหม่ได้ให้น้ำหนักไปยัง 2 เรื่องสำคัญ คือ การพัฒนาวิชาการสายรับใช้สังคม และ การจัดการเรียนรู้เพื่อผลิตบัณฑิตในศตวรรษที่ 21 (The 21 st Century Learning) ซึ่งการเรียนรู้จะเปลี่ยนจากปัจจุบันอย่างมากมาย มหาวิทยาลัยจำเป็นต้องเปลี่ยนวิธีคิดใหม่เพื่อรับกับความเปลี่ยนแปลงของโลก โดยทั้ง 2 ข้างต้นต่างเป็นเรื่องหนุนเสริมกัน และหลายครั้งเชื่อมโยงเป็นเรื่องเดียวกันได้

ทั้งนี้ จากเหตุการณ์ความไม่สงบของบ้านเมืองในช่วงที่ผ่านมา สังคมได้เรียกร้องให้มหาวิทยาลัยมีบทบาทแก้ไขความขัดแย้งที่เกิดขึ้น เพราะมองว่ามหาวิทยาลัยมีศักยภาพดังกล่าว ทว่าที่ผ่านมามหาวิทยาลัยกลับมีส่วนในการสร้างปัญหาเสียเอง เนื่องจากการเรียนการสอนมีส่วนทำให้เกิดบัณฑิตที่มีนิสัยยอมรับผู้อื่นได้ยาก นอกจากนั้น นิสิตนักศึกษาปัจจุบันยังไม่มีความหิวกระหายความรู้เหมือนในอดีต เพราะความรู้มีมาก สามารถเข้าถึงได้ง่าย ขณะที่การเรียนการสอนน่าเบื่อ ไม่ดึงดูดให้นิสิตนักศึกษาอยากเรียนรู้

จากปัญหาดังกล่าว ศ.นพ.วิจารณ์ เสนอว่า มหาวิทยาลัยจำเป็นต้องเปลี่ยนการเรียนการสอนใหม่ โดยการจัดการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21 มหาวิทยาลัยควรอำนวยให้เกิด การเรียนรู้แบบโครงงาน (Project Based Learning: PBL) หรือการนำโจทย์ปัญหาจริงในชุมชนสังคมมาเป็นโจทย์ในการเรียนรู้ ทำให้นิสิตนักศึกษาเกิดทักษะ ได้เรียนรู้ร่วมกันกับชุมชน ซึ่งจะเป็นการใช้ความรู้ออกไปรับใช้สังคมได้ในเวลาเดียวกัน

ที่สำคัญ มหาวิทยาลัยยังต้องเปิดโอกาสให้นักวิชาการสายรับใช้สังคมมีเส้นทางความก้าวหน้าในอาชีพเหมือนนักวิชาการสายอื่นๆ สามารถนำผลงานด้านสังคมไปขอตำแหน่ง หรือตีพิมพ์เป็นผลงานวิชาการได้ดังที่มีตัวอย่างเกิดขึ้นมาแล้วมากมาย เหตุผลเพราะวิชาการทุกสายต่างมีจุดหมายเพื่อทำประโยชน์แก่สังคมเช่นเดียวกัน อีกทั้งยังสามารถทำงานเกื้อหนุนกันได้ และไม่อาจแยกกันได้อย่างเด็ดขาด ทว่าที่ผ่านมายังเป็นไปแบบกระจัดกระจาย ขาดระบบของมหาวิทยาลัยที่ชัดเจนมารองรับ จึงเป็นเรื่องจำเป็นอย่างมากสำหรับการอุดมศึกษาไทยที่จะต้องปรับเปลี่ยนวิธีคิดใหม่ โดยสร้างระบบที่ชัดเจนให้แก่วิชาการสายรับใช้สังคม ทำให้ผลงานได้รับการประเมินคุณค่า และเป็นที่ยอมรับทัดเทียมกับวิชาการสายอื่นๆ

“การผลิตบัณฑิตในศตวรรษที่ 21 จะเป็นการศึกษาที่อาจารย์มุ่งสอนน้อยลงแล้วเปิดโอกาสให้เกิดการเรียนรู้มากขึ้น ไม่เพียงสอนในด้านเนื้อหา หากแต่มุ่งให้เกิดทักษะและทัศนคติที่ดี ก้าวข้ามการเรียนรู้แบบรายบุคคลเป็นการเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม เปลี่ยนจากการปูพื้นฐานทฤษฎีเป็นการลงมือปฏิบัติจริงควบคู่กันไป ซึ่งจุดนี้จะทำให้นักศึกษาเห็นคุณค่าของสิ่งที่ตัวเองเรียน ไม่ใช่การเรียนรู้อย่างไม่มีเป้าหมาย ทำให้ได้รับแรงบันดาลใจ กระตุ้นให้อยากเรียนรู้ เป็นการเปลี่ยนห้องเรียนจาก lecture base เป็น project base ซึ่งสุดท้ายแล้วยังจะทำให้เกิดการผลิตบัณฑิตที่มีทักษะเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงในสังคม และมีความเป็นพลเมืองที่ดีของประเทศ” ศ.นพ.วิจารณ์ปิดท้าย.

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๖:๕๐ รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๑๖:๑๔ ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๑๖:๑๓ Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๑๖:๑๐ ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๑๖:๕๒ โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๑๕:๒๖ กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๒๒ พ.ย. สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๒๒ พ.ย. 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๑๕:๐๘ โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๒๒ พ.ย. electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version