สมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล ฯ จัดประชุมวิชาการ แนะ! เภสัชกรโรงพยาบาลทั่วประเทศเตรียมรับมือทุกสถานการณ์ในยุควิกฤติ

พุธ ๑๓ กรกฎาคม ๒๐๑๑ ๑๐:๑๑
สมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย) แนะ!!! เภสัชกรโรงพยาบาลทั่วประเทศให้ตระหนักถึงบทบาทสำคัญ พร้อมรับมือกับสถานการณ์ในยุควิกฤติทางเศรษฐกิจ และภัยธรรมชาติ โดยจัดประชุมวิชาการประจำปีของสมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย) เรื่อง “เภสัชกรโรงพยาบาล ในยุควิกฤติ” มุ่งส่งเสริมกระบวนการดูแลผู้ป่วย และการจัดการระบบยาให้มีคุณภาพ พร้อมเตรียมหาแนวทางการรับมือและส่งมอบยาอย่างมีคุณภาพให้แก่ผู้ป่วย โดยมีผู้เภสัชกรเข้าร่วมกว่า600 คน ณ อาคารเฉลิมพระเกียรติ 50 ปี เมื่อเร็วๆ นี้

ภก.วิพิน กาญจนการุณ นายกสมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย) เปิดเผยว่า สมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย) ต้องการสร้างความตระหนักรู้ให้เภสัชกรโรงพยาบาลทั่วประเทศถึงบทบาทสำคัญในการเตรียมความพร้อมรับมือกับสถานการณ์ในยุควิกฤติทางเศรษฐกิจและภัยธรรมชาติ จึงได้จัดประชุมวิชาการประจำปีของสมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย) เรื่อง “เภสัชกรโรงพยาบาลในยุควิกฤติ” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อมุ่งส่งเสริมกระบวนการดูแลผู้ป่วย และการจัดการระบบยาให้มีคุณภาพ พร้อมเตรียมหาแนวทางการรับมือและส่งมอบยาอย่างมีคุณภาพให้แก่ผู้ป่วยในยุควิกฤติทางเศรษฐกิจและภัยธรรมชาติ

ภญ.วรรณี มานะกิจศิริสุทธิ กลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลบ้านหมี่ จ.ลพบุรี เผยว่า เมื่อเกิดภาวะวิกฤติทางเศรษฐกิจในประเทศขึ้น โรงพยาบาลขนาดเล็กมักประสบปัญหาการขาดทุน ไม่มีเงินซื้อยา ส่งผลให้เกิดการขาดแคลนยาจำนวนมาก ประชาชนมักเปลี่ยนไปใช้บริการโรงพยาบาลอื่นที่มีความพร้อมกว่า ทำให้โรงพยาบาลขาดทุนหนักขึ้นไปอีก ส่งผลให้บุคลากรขาดขวัญและกำลังใจจนต้องขอโยกย้ายไปที่อื่น หากปล่อยไปเรื่อยๆ ก็อาจต้องปิดโรงพยาบาลในที่สุด

ในภาวะวิกฤติดังกล่าว เภสัชกรจะต้องจัดการในการหาแนวทางให้ผู้ป่วยได้รับยาที่ดีที่สุด ซึ่งต้องเริ่มตั้งแต่นโยบายของโรงพยาบาลผ่านคณะกรรมการเภสัชกรรมแกรบำบัด จึงจะสามารถช่วยแก้ปัญหาได้ เพราะสามารถลดมูลค่ายาที่ใช้ในการจัดซื้อได้จริง โดยคณะกรรมการฯ จะพิจารณาการจัดซื้อยาและแยกบัญชียา เป็นบัญชียาที่จำเป็นต้องซื้อก่อนเพราะขาดไม่ได้ และบัญชียาที่สามารถใช้ยาอื่นแทนได้ การใช้ยาก็จะต้องมีความสมเหตุสมผลและใช้ตามแนวเวชปฏิบัติ มิฉะนั้นก็จะไม่จ่ายยา มีการปรับยาบางตัวมาใช้ยาที่ใช้แทนกันได้และเป็นยาสามัญ โดยเฉพาะยาต้านจุลชีพ แต่จะต้องดูปัญหาของคนไข้ด้วย หากรุนแรงก็จะไม่มีการแทนยา นอกจากนี้ก็มีการพิจารณาเป็นแผนกเพื่อตรวจสอบว่าสามารถตัดทอนยาหรือเหลือยาที่จำเป็นตัวใดบ้าง และทำบัญชียาที่ค้างชำระ เพื่อหาวิธีในการลดหย่อนและนำยาที่มีอยู่มาใช้ มีการเข้าร่วมโครงการลดยาเหลือใช้ปลอดภัยปลอดโรค และมีการเย็บถุงผ้าขึ้นเองในโรงพยาบาลไว้เป็นถุงใส่ยา

และให้คนไข้นำถุงยานี้มาทุกครั้ง ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายทำถุงยา ในเรื่องการอบรมเพื่อพัฒนา เพิ่มความรู้ก็เปลี่ยนมาเป็นการเรียนรู้ด้วยตัวเอง เช่น อินเตอร์เน็ต หนังสือ เป็นต้น

ในวิกฤติเศรษฐกิจยังมีโอกาสดีๆ ที่ค้นพบ คือ...

1. ค้นพบว่าสามารถอบรมหรือสอนกันเองได้ เป็นการประหยัดเงินไปอบรมและเงินค่าตอบแทน

2. ค้นพบพรสวรรค์ของตัวเอง หลายคนหันไปทำอาชีพเสริมและมีรายได้เพิ่ม แม้จะไม่ได้รับการขึ้นเงินเดือนตามปกติ

3. เกิดสังคมของโรงพยาบาลถังแตกมีการรวมกลุ่มของโรงพยาบาลที่ขาดทุน เพื่อปรึกษาปัญหาและหาทางแก้

4. ค้นพบน้ำใจจากพี่น้องเภสัชกร มีการหยิบยืมยาจากโรงพยาบาลข้างเคียง จนกลายเป็นการสร้างมิตรภาพขึ้น

ส่วนทางด้าน ภญ.สุรีรัตน์ ตั้งสง่าศักดิ์ศรี หัวหน้ากลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาล หาดใหญ่ เผยถึงวิกฤตการณ์น้ำท่วมว่า สำหรับในประเทศไทยแล้วมีหลายโรงพยาบาลที่มีคลังเวชภัณฑ์อยู่ใต้ดิน เมื่อประสบปัญหาน้ำท่วมจึงเกิดความสูญเสียของเวชภัณฑ์ไม่น้อย โดยเฉพาะเหตุการณ์น้ำท่วมเมื่อปลายปี 2553 ที่ผ่านมา นับเป็นเครื่องเตือนใจให้ทุกคนต้องมีการตื่นตัว และพร้อมรับมือได้อย่างทันท่วงที

พร้อมกันนี้ สิ่งสำคัญที่เภสัชกรโรงพยาบาลต้องเตรียมรับสถานการณ์ก่อนน้ำท่วม คือ

1. สถานที่รองรับยาและเวชภัณฑ์ ต้องเตรียมไว้ล่วงหน้า และคำนึงถึงประเภท ชนิดของยาที่จะเก็บด้วย เพราะยาบางตัวต้องเก็บไว้ในตู้เย็นหรือห้องเย็น รวมทั้งจำนวนยาที่มีจำนวนมากและหลากหลายจำเป็นต้องหาห้องที่มีพื้นที่พอสมควร

2. การขนย้ายจำเป็นต้องเตรียมหาอุปกรณ์เพื่อใช้ในการขนย้าย เพื่อเพิ่มความสะดวกและรวดเร็ว

3. คาดการณ์กับสถานการณ์น้ำท่วม โดยจัดทีมคาดการณ์พร้อมประสานงานกับเทศบาลและวิทยุชุมชนเพื่อติดตามระดับน้ำท่วมว่าอยู่ในขั้น วิกฤติหรือไม่

4. เตรียมรายการยาที่จำเป็น โดยแยกเป็น ยาที่ใช้ในโรงพยาบาล ยาที่ใช้ออกหน่วย หรือยาสนับสนุนโรงพยาบาลอื่นๆ รวมถึงต้องมียาที่จำเป็นในกรณีน้ำท่วม อาทิ ยาแก้ท้องเสีย ย าลดไข้ ยาแก้เชื้อรา ยาแก้แพ้ น้ำเกลือ ยาฆ่าเชื้อ เป็นต้น รวมถึงอุปกรณ์ขนย้ายต่างๆ ก็เป็นสิ่งสำคัญ

อย่างไรก็ตาม... ไม่ว่าจะต้องประสบภาวะวิกฤติทางเศรษฐกิจหรือภัยธรรมชาติ เภสัชกรโรงพยาบาลต้องเตรียมรับมืออย่างรอบคอบซึ่งจะเป็นแนวทางป้องกันและลดความสุญเสียได้เป็นอย่างดี ดังนั้นทางสมาคมฯ จึงต้องการส่งเสริมให้เภสัชกรมองวิกฤติและจัดการวิกฤติด้วยสติ และความรู้ อีกทั้งต้องการสนับสนุนให้เภสัชกรสร้างคุณค่าให้กับตนเองและหน่วยงานต่อไป...

สอบถามรายละเอียดประชาสัมพันธ์ได้ที่ฝ่ายประชาสัมพันธ์

นิรมล และ พีรนุช โทร. 0-2718-3800 ต่อ 132, 136

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ