ปตท.— กระทรวงการคลัง ทำบันทึกความเข้าใจร่วมการลงทุนใน TPI

อังคาร ๑๘ มกราคม ๒๐๐๕ ๑๔:๓๐
กรุงเทพฯ--18 ม.ค.--ปตท.
นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (ปตท.) และนายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล ปลัดกระทรวงการคลัง ผู้แทนของกระทรวงการคลัง ในฐานะผู้มีสิทธิในการจัดหาผู้ร่วมทุน และจัดสรรการขายหุ้นของบริษัท อุตสาหกรรมปิโตรเคมีกัลไทย จำกัด (มหาชน) (TPI) ได้ร่วมลงนามในบันทึกความเข้าใจ (MOU) ในการเข้าร่วมลงทุนในบริษัท TPI ซึ่งในเบื้องต้นคาดว่าจะจัดสรรหุ้น TPI ให้ ปตท. ร้อยละ 30 ของหุ้นทั้งหมด
นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ เปิดเผยว่า MOU ฉบับนี้ จัดทำขึ้นเพื่อบันทึกความเข้าใจเบื้องต้นของหลักการและเงื่อนไขในการเข้าร่วมลงทุนใน TPI เพื่อที่จะให้ ปตท. สามารถเข้าตรวจสอบสถานะและประเมินมูลค่าทรัพย์สิน หนี้สินของ TPI และบริษัทย่อยได้อย่างละเอียด ครบถ้วน และโปร่งใสการลงนามครั้งนี้ไม่ใช่การทำสัญญาซื้อขายและยังไม่มีการกำหนดราคาซื้อขายหุ้นแต่อย่างใด เนื่องจาก TPI มีโครงสร้างการดำเนินธุรกิจที่ค่อนข้างซับซ้อน จึงต้องรอผลการทำ Due Diligence ก่อน จึงจะสามารถประเมินราคาหุ้นที่เหมาะสมได้ ทั้งนี้ ปตท. ได้ว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาทางการเงินทั้งในและต่างประเทศ ได้แก่ บริษัทหลักทรัพย์ ภัทร จำกัด และ บริษัท Citigroup Global Markets Limited โดยมีบริษัท ลิ้งค์เลเทอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด เป็นที่ปรึกษากฎหมาย บริษัท KBC Advanced Technology Pte Ltd เป็นที่ปรึกษาด้านเทคนิค และบริษัท PricewaterhouseCoopers FAS Ltd. เป็นที่ปรึกษาด้านบัญชี
นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า ในการพิจารณาเข้าร่วมลงทุนใน TPI ปตท. จะต้องศึกษาทิศทาง กลยุทธ์ แผนงานทางธุรกิจ รวมถึงผลตอบแทนการลงทุนในระยะยาว ซึ่ง ปตท. มีเป้าหมายผลตอบแทนในการลงทุนเช่นเดียวกับการลงทุนในโครงการอื่นๆ นอกจากนี้ ในการเข้าลงทุน ปตท. จะต้องเข้าไปมีบทบาทในการบริหารจัดการธุรกิจของ TPI และบริษัทย่อย เพื่อให้บริษัทมีความแข็งแกร่งมากขึ้น และสามารถแข่งขันได้ภายหลังออกจากแผนฟื้นฟูกิจการ และสิ่งสำคัญสูงสุดที่ ปตท. พิจารณา คือ ปตท. ต้องมีการประเมินและบริหารจัดการความเสี่ยงให้อยู่ในระดับที่สามารถรับได้ เพื่อให้การเข้าซื้อหุ้นดังกล่าวเป็นประโยชน์สูงสุดแก่ผู้ถือหุ้นทั้งของ ปตท. และ TPI ซึ่งหากผลการตรวจสอบเป็นที่ยอมรับ ราคามีความเหมาะสม เงื่อนไขเป็นไปตามที่ ปตท. กำหนด รวมทั้ง ปตท. ได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการปรับโครงสร้างหนี้แล้ว ปตท. จึงจะตัดสินใจเข้าซื้อหุ้นดังกล่าว ซึ่งจะเป็นโอกาสให้ ปตท. ขยายตัวไปสู่ธุรกิจปิโตรเคมีแบบครบวงจร (fully integrated) ได้ทันที บนฐานธุรกิจของ TPI ที่มีอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งสนับสนุนและเกื้อกูลกันได้ (synergy) ในหลายๆ ส่วน เช่น การจัดหาน้ำมันดิบและวัตถุดิบ (feedstock) การทำการตลาดและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ (marketing and trading) น้ำมันและปิโตรเคมี
อนึ่ง หาก ปตท. ตัดสินใจเข้าร่วมลงทุนใน TPI จะมีการชำระเงินค่าหุ้น ต่อเมื่อ TPI และบริษัทย่อย ออกจากแผนฟื้นฟูแล้ว และเงื่อนไขต่างๆ มีผลสมบูรณ์ครบถ้วน ซึ่งตามกำหนดในแผนฟื้นฟูคาดว่าจะเสร็จสิ้นภายในปลายปี 2548--จบ--

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๐๔ เม.ย. OR จับมือภาครัฐและผู้ประกอบการชุมชน เพิ่มประสิทธิภาพการตลาดผลิตภัณฑ์ OTOP ผ่านโครงการ 'ไทยเด็ด' มุ่งเสริมแกร่งเศรษฐกิจชุมชนไทยอย่างยั่งยืน
๐๔ เม.ย. เทลสกอร์ จับมือพันธมิตร ขับเคลื่อนโครงการ 'Help You, Help Me' สู่ปีที่ 6 ผสานพลังคอนเทนต์ครีเอเตอร์ สนับสนุนโครงการเพื่อสังคม
๐๔ เม.ย. เซ็นทารา แกรนด์ ลาดพร้าว สนับสนุนภารกิจกู้ภัย มอบอาหารและเครื่องดื่มให้เจ้าหน้าที่และบุคลากรทางการแพทย์
๐๔ เม.ย. ร้อนๆแบบนี้ มาหมุนให้ฉ่ำ!!สนุกสุดมันส์ไปกับเครื่องเล่น Water Roller ลูกบอลน้ำมหาสนุก
๐๔ เม.ย. ซัมเมอร์นี้ชวนเช็กอินสมุย แลนด์มาร์คแห่งใหม่ของชาวเวลเนส ที่ BDMS Wellness Clinic สาขา Celes Samui
๐๔ เม.ย. โซเชียลจับตา ตึกถล่ม-อาฟเตอร์ช็อก ประเด็นร้อนหลังแผ่นดินไหว
๐๔ เม.ย. กรมทรัพยากรน้ำ ลงพื้นที่ติดตามความคืบหน้าโครงการอ่างเก็บน้ำห้วยแม่เหียะน้อย พร้อมระบบส่งน้ำอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จ.เชียงใหม่
๐๔ เม.ย. GoWabi แพลตฟอร์มจองบริการบิวตี้ครบวงจรอันดับ 1 ในไทยเปิดตัวบริการ GoWabi POS พร้อมประกาศรางวัล GoWabi Top Rated
๐๔ เม.ย. ทีทีบี เชิญชวนเที่ยว พิพิธภัณฑ์ครุฑ สืบสานพลังศรัทธา สรงน้ำ สมเด็จมหาราชทรงครุฑ เสริมพลังบุญรับปีใหม่ไทย
๐๔ เม.ย. บัตรเครดิต ทีทีบี มอบโปรฯ ฟรีอัปเกรด! HUT บุฟเฟต์ อิ่มไม่อั้น จ่ายเพียง 399 บาท