ภาระต้นทุนที่เพิ่มสูงขึ้นหากเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2553 เพิ่มขึ้น 22-25% เนื่องด้วยผลผลิตสุกรที่ลดลงจากภาวะโรคระบาดและอากาศที่แปรปรวนอย่างที่ทราบ เป็นจำนวนมากถึง 22% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่ภาครัฐกลับกดราคาให้เกษตรกรต้องขายสุกรในราคาต่ำกว่าทุนมาก โดยไม่คำนึงถึงความอยู่รอดของเกษตรกร ขณะที่เกษตรกรผู้เลี้ยงทำได้เพียงอดทนอดกลั้นแบกรับภาระขาดทุน โดยต้องสูญเสียส่วนต่างจากราคาสุกรที่ถูกคุมทั้งที่ควรจะได้รับไปจำนวนไม่น้อย
เกษตรกรจึงขอวอนให้รัฐบาลและผู้บริโภคเห็นใจผู้เลี้ยงด้วย ก่อนที่ผู้เลี้ยงจะทนแบกรับภาวะขาดทุนไม่ไหวต้องเลิกเลี้ยงสุกรไปในที่สุด ซึ่งหากเป็นเช่นนั้น ยิ่งจะทำให้ปริมาณสุกรในตลาดลดลง ซึ่งจะกระทบต่อผู้บริโภคโดยตรง เนื่องจากจำเป็นต้องบริโภคเนื้อสุกรในราคาสูงขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่หากรัฐบาลมีความเข้าใจและสามารถแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นนี้ได้อย่างตรงจุด อย่างที่ท่านรองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์มีความเข้าใจ โดยเห็นว่าไม่ควรใช้มาตรการคุมราคาสินค้าเกษตร เพราะเป็นการบิดเบือนกลไกตลาด ไม่เป็นผลดีต่อการแข่งขันทางการค้า ทั้งยังเป็นการปิดโอกาสเกษตรกรที่จะได้ขายสินค้าเกษตรในราคาที่เหมาะสม
ทั้งนี้ ปัจจุบันราคาสุกรหน้าฟาร์มของประเทศเพื่อนบ้าน เช่น ไต้หวัน มีราคากิโลกรัมละ 118 บาท จีนมีราคากิโลกรัมละ 100-102 บาท กัมพูชากิโลกรัมละ 92-94 บาท และลาวกิโลกรัมละ 88-92 บาท เป็นต้น