ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ ร่วมเตรียมความพร้อมป้องกันและรับมือการเกิดแผ่นดินไหวในกรุงเทพฯ

จันทร์ ๒๕ กรกฎาคม ๒๐๑๑ ๑๓:๐๘
นายธานีรัตน์ ศิริปะชะนะ รองปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เปิดเผยภายหลังร่วมเป็นประธานการสัมมนา เชิงปฏิบัติการผลกระทบจากแผ่นดินไหวระยะไกล ที่อาจจะมีต่อสาธารณูปโภคพื้นฐานและอาคารบ้านเรือนในกรุงเทพมหานคร ด้านกฎหมาย วิศวกรรม และการบริหารความเสี่ยง ว่า จากเหตุการณ์แผ่นดินไหวขนาดรุนแรงที่เกิดขึ้นในประเทศพม่าเมื่อเดือนมีนาคม 2554 ซึ่งห่างจากกรุงเทพมหานคร 770 กิโลเมตรแต่ทำให้เกิดการสั่นไหวของอาคารสูงในเขตกรุงเทพมหานคร เนื่องจากชั้นดินของกรุงเทพฯ เป็นดินอ่อนทำให้ความรุนแรงขยายตัวได้ 3 - 5 เท่าตัว และหากเกิดแผ่นดินไหวที่มีขนาดรุนแรง หรือใกล้กับกรุงเทพมหานครมากกว่าครั้งที่ผ่านมา ก็อาจส่งผลกระทบที่ก่อให้เกิดอันตรายแก่ชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนได้เป็นวงกว้างเช่นเดียวกับที่เคยเกิดขึ้นที่กรุงเม็กซิโกซิตี้ ประเทศเม็กซิโก เมื่อปี พ.ศ. 2528 เพราะมีสภาพของชั้นดินเป็นดินอ่อนลักษณะเดียวกัน

ดังนั้น เพื่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล กรุงเทพมหานคร จึงร่วมมือกับศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ สำนักงานปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มูลนิธิสภาเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ สถาบันการศึกษา และภาคเอกชน จัดการสัมมนาระดมสมองจากผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อเตรียมความพร้อมในการป้องกันและรับมือการเกิดแผ่นดินไหวที่อาจส่งผลกระทบต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนในกรุงเทพฯ และปริมณฑล

“การสัมมนาฯ ครั้งนี้จัดขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ได้แนวทางยุทธศาสตร์สำหรับการรับมือกับผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นกับกรุงเทพมหานคร จากแผ่นดินไหวระยะไกล ทั้งด้านกฎหมาย วิศวกรรม และการบริหารความเสี่ยง ซึ่งประกอบด้วย การบรรยายภาพรวมของแผ่นดินไหวที่อาจจะมีผลกระทบต่อกรุงเทพมหานคร ความเสี่ยงจากผลกระทบจากแผ่นดินไหวระยะไกลที่อาจจะเกิดขึ้นกับกรุงเทพมหานคร แนวทางในการลดความเสี่ยงจากผลกระทบจากแผ่นดินไหวแก่ภาคเอกชนและภาคประชาชน การสร้างการรับรู้และการเตรียมตัวเพื่อบรรเทาภัยจากความรุนแรง เป็นต้น โดยมีวิทยากรและผู้เชี่ยวชาญที่มีชื่อเสียงจากทั้งในประเทศและต่างประเทศ จำนวน 24 คน มาให้ความรู้ รวมทั้งมีการระดมสมองจากผู้เข้าร่วมสัมมนาเพื่อวางแนวทางยุทธศาสตร์สำหรับการรับมือด้วย ซึ่งศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ ได้ร่วมกับหน่วยงานต่างๆ ระดมสมองเพื่อกำหนดแผนที่ยุทธศาสตร์หลัก และแนวทางแผนปฏิบัติการ (Roadmap and Strategic Action Plans) สำหรับการรับมือกับแผ่นดินไหว ที่อาจส่งผลกระทบต่อพื้นที่กรุงเทพมหานคร และแนวทางยุทธศาสตร์เกี่ยวกับเรื่องข้อกำหนดทางอาคารของกรุงเทพมหานคร ที่จะสามารถรองรับแผ่นดินไหวได้ โดยแนวทางยุทธศาสตร์ฯ ที่ได้นี้ จะนำไปใช้เพื่อเตรียมความพร้อมในการป้องกันและรับมือการเกิดแผ่นดินไหวต่อไป” นายธานีรัตน์ กล่าว

?

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร. 021416747 MICT

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ