นางนภา กล่าวต่อว่า ในส่วนของกระทรวงการพัฒนาสังคมฯ ได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาระบบสวัสดิการสังคม โดยกำหนดนโยบายให้สังคมไทยเป็นสังคมสวัสดิการและให้มีการจัดสวัสดิการถ้วนหน้า ภายในปี ๒๕๕๙ รวมทั้งการจัดกองทุนส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคม ซึ่งสนับสนุนให้บุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และองค์กรอื่นๆ ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดสวัสดิการสังคม และเป็นกลไกสำคัญในการดูแลกลุ่มเป้าหมายและผู้ด้อยโอกาสในสังคม แต่อย่างไรก็ตาม ในการดำเนินงานที่ผ่านมา จากสถานการณ์การเงินการคลังของประเทศ ทำให้กองทุนไม่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณที่มากพอพอที่จะสามารถสนับสนุนการจัดสวัสดิการสังคมได้ครบทุกพื้นที่ และในบางจังหวัดยังขาดการใช้กองทุนเป็นเครื่องมือในการระดมความร่วมมือ โดยสถิติกองทุนส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคมจากเดิมที่เคยได้รับจาก ๔๕๐ ล้านบาท ในปี ๒๕๕๑ ลดลงเหลือ ๑๐๐ ล้านบาท ในปี ๒๕๕๒ และปี ๒๕๕๓ ไม่ได้รับงบประมาณ ทำให้วงเงินที่กระจายลงจังหวัดได้รับลดน้อยลงตามไปด้วย ดังนั้น เพื่อให้กองทุนฯ สามารถพึ่งพาตนเองได้ ตามแผนปีงบประมาณ ๒๕๕๔ คณะกรรมการบริหารกองทุนฯ จึงอนุมัติให้ดำเนินโครงการ “ขอรับการบริจาคและสมทบในการดำเนินงานของกองทุน”เพื่อส่งเสริมจังหวัดต้นแบบในการรณรงค์หาทุนมา ใช้จ่ายในการดำเนินงานกองทุน ๕ จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน อุบลราชธานี สุรินทร์และศรีสะเกษ จังหวัดละ ๕๐๐,๐๐๐ บาท รวม ๒,๕๐๐,๐๐๐ บาท เพื่อให้คณะอนุกรรมการบริหารกองทุนฯ จังหวัดดำเนินการระดมทุนและจัดหาทุน ให้กองทุนสามารถพึ่งพิงตนเองได้ ทั้งนี้ เมื่อวันที่ ๑๒ ก.ค.๕๔ ที่ผ่านมา กระทรวงฯ ได้จัดให้มีการอบรมให้ความรู้แก่คณะอนุกรรมการบริหารกองทุนฯ จังหวัด ในเรื่องการระดมทุน การจัดกิจกรรมรณรงค์หาทุน และให้ภาคส่วนต่างๆ ในสังคมเข้ามามีส่วนร่วมในการบริจาคเงินเข้ากองทุนส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคมของจังหวัด ต่อไป.
- พ.ย. ๒๕๖๗ ภาพข่าว: "สวัสดิการสังคม"
- พ.ย. ๒๕๖๗ พม.หนุนบทบาทอาสาสมัคร พัฒนางานสวัสดิการสังคม เล็งมอบรางวัลเชิดชูเกียรติ หวังสังคมยึดแบบอย่างที่ดี
- ๒๔ พ.ย. พม. เปิดกิจกรรมเวทีคนเก่งสู่ตลาดแรงงานสร้างอาชีพ
- ๒๔ พ.ย. การเคหะแห่งชาติ ระดมกูรูด้านภัยพิบัติ " ตั้งรับ ปรับตัวกับภัยพิบัติ "
- ๒๔ พ.ย. พม. จับมือภาคีภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ร่วมขับเคลื่อนอนาคตที่อยู่อาศัย สร้างชุมชนอย่างยั่งยืน