แพทย์ชี้ผลกระทบจากโรคตับอักเสบในเอเชียแปซิฟิกจะสูงขึ้น หากไม่ร่วมกันแก้ปัญหา องค์การอนามัยโลกรณรงค์ “วันตับอักเสบโลก”

พฤหัส ๒๘ กรกฎาคม ๒๐๑๑ ๐๘:๔๗
แพทย์ชี้ผลกระทบจากโรคตับอักเสบในเอเชียแปซิฟิกจะสูงขึ้น หากไม่ร่วมกันแก้ปัญหาองค์การอนามัยโลกรณรงค์ “วันตับอักเสบโลก”เน้นให้เห็นว่าไวรัสตับอักเสบเป็นปัญหาสุขภาพทั่วโลกสมาคมโรคตับแห่งประเทศไทยร่วมรณรงค์ ให้คนไทยเห็นภัยร้ายผู้ป่วยไทยมากกว่าร้อยละ 80 ยังละเลยไม่เข้ารับการรักษาที่ถูกต้อง

องค์การอนามัยโลกเริ่มกำหนดให้ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 เป็น “วันตับอักเสบโลก” กลุ่มแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคไวรัสตับอักเสบจึงได้เริ่มกระตุ้นให้รัฐบาลและประชาชนตลอดภาคพื้นเอเชียแปซิฟิกให้ตระหนักมากขึ้นถึงภัยร้ายของภาวะตับอักเสบต่อทุกๆคน ต่อครอบครัวและชุมชน โดยได้ร่วมก่อตั้งกลุ่มเฉพาะขึ้นมาเรียกว่า “พันธมิตรเพื่อกำจัดโรคไวรัสตับอักเสบในภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก” หรือ CEVHAP (Coalition to Eradicate Viral Hepatitis in Asia Pacific) เพื่อนำเสนอปัญหาที่องค์กรต่างๆขาดการรับรู้และความตั้งใจด้านนโยบายที่จะจัดการแก้ปัญหาโรคไวรัสตับอักเสบ

ปีนี้เป็นปีแรกที่วันที่ 28 กรกฎาคม จะได้รับการรับรู้กันทั่วโลกว่าเป็น “วันตับอักเสบโลก” อันเป็นผลมาจากมติขององค์การอนามัยโลกต่อโรคไวรัสตับอักเสบ (WHA63.R18) ณ วันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 มตินี้ยังแสดงความกังวลถึงการขาดความก้าวหน้าในเรื่องของการป้องกัน ควบคุม และรักษาโรคไวรัสตับอักเสบทั่วโลก

ไวรัสตับอักเสบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งไวรัสตับอักเสบ B และ C มีผลกระทบต่อประชากรโลก 1 ใน 12 คน และคร่าชีวิตคนเหล่านี้ไปราว 1 ล้านคนทุกปี 1 เอเชียแปซิฟิกเป็นแหล่งที่มีการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบส่วนใหญ่ของโลก

ศาตราจารย์เกียรติยศ ดิง ชิน เชน แห่งคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแห่งชาติไต้หวัน และผู้ร่วมก่อตั้ง CEVHAP กล่าวว่า “ขณะที่ตับอักเสบเรื้อรังเป็นภัยเงียบโดยไม่มีอาการหรือมีน้อยมากเป็นเวลาหลายปี ยังเป็นโรคเงียบที่ขาดการรับรู้จากภาครัฐและประชาชน สิ่งเหล่านี้นำไปสู่สถานการณ์ที่แพทย์เราต้องเผชิญในปัจจุบัน คือสถานการณ์ที่ประชากรจำนวนมากซึ่งเป็นโรคไวรัสตับอักเสบไม่ไปปรึกษาแพทย์หรือรับการรักษา และสถานการณ์นี้ก็ยังเกิดขึ้นจริงในหลายประเทศซึ่งแม้ว่ารัฐยังให้เบิกค่ารักษาพยาบาลได้”

จำนวนประชากรที่ติดเชื้อแบบเรื้อรังและเสียชีวิตต่อปีจากผลของไวรัสตับอักเสบอยู่ในอัตราเดียวกันกับผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ วัณโรค และมาลาเรีย แม้จะมีผลกระทบทางสังคมที่คล้ายคลึงกัน แต่ความตระหนักรับรู้สถานการณ์ และกำลังการเคลื่อนไหวในทางการเมืองเกี่ยวกับไวรัสตับอักเสบกลับไม่ได้อยู่ในระดับเดียวกันกับโรคอื่นๆ ดังกล่าว

CEVHAP มีเป้าหมายที่จะมีบทบาทเป็นตัวเชื่อมโยงระหว่างมติใหม่ขององค์การอนามัยโลกกับภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก โดยตอนต้นจะให้ความสนใจกับตับอักเสบ B และ C ซึ่งเป็นไวรัสตับอักเสบ 2 ชนิดที่มีผลกระทบมากที่สุดในภูมิภาคนี้ก่อน

“องค์การอนามัยโลกกำลังเรียกร้องให้มีแนวทางดำเนินการระดับโลกที่จะจัดการแก้ปัญหาโรคไวรัสตับอักเสบ และเราตระหนักดีว่าเป็นหน้าที่ของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในสาขานี้ที่จะทำให้มั่นใจว่า ภาคพื้นเอเชียแปซิฟิกจะเป็นส่วนหนึ่ง ของแนวทางดำเนินการระดับโลก” ศาตราจารย์สตีเฟน โลคาร์นีนี หัวหน้าภาคห้องปฏิบัติการอ้างอิงของโรคติดเชื้อ รัฐวิคตอเรีย (Victorian Infectious Diseases Reference Laboratory) ในกรุงเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลียและผู้ร่วมก่อตั้ง CEVHAP กล่าว

ประมาณการว่าประเทศจีนและประเทศอินเดียรวมกันมีประชากร 123 ล้านคนที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ B เรื้อรัง และมีประชากร 59 ล้านคนที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ C เรื้อรัง นับเป็นเกือบ 50% ของการติดเชื้อทั้งหมดทั่วโลก 2,3

รศ.นพ.ธีระ พิรัชวิสุทธิ์ นายกสมาคมโรคตับแห่งประเทศไทย และผู้อำนวยการสถาบันโรคทางเดินอาหารและตับ และแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคตับ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ซึ่งอยู่ในคณะกรรมการ CEVHAP กล่าวว่า “โรคไวรัสตับอักเสบยังคุกคามคนไทยอย่างต่อเนื่อง ทั้งไวรัส B และไวรัส C ในเมืองไทยยังมีความชุกในการติดเชื้อไวรัสทั้งสองชนิดนี้สูง และยังเป็นสาเหตุการเสียชีวิตของคนไทยติดอันดับ 1 ใน 9 เป็นภัยเงียบเพราะไม่แสดงอาการ กว่าผู้ป่วยส่วนใหญ่จะไปพบแพทย์เมื่อมีระยะโรครุนแรง”

ในประเทศไทยมีผู้ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ B ประมาณ 3 - 5 คนต่อประชากร 100 คน หรือประมาณ 3.5 ล้านคนทั่วประเทศไทย และมีผู้ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ C ประมาณ 1 - 3 คนต่อประชากร 100 คน โดยพบผู้ป่วยไวรัส C มากถึงร้อยละ 4-6 ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือ หรือ 1ล้านคนทั่วประเทศ วงการแพทย์พบว่ามีผู้ป่วยไทยเพียงร้อยละ 15 ที่เข้ารับการรักษาอย่างถูกต้อง อีกร้อยละ 85 ยังไม่รับการรักษาที่หมาะสม หากสามารถลดการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบในประชาชนได้ ก็จะสามารถลดการเป็นโรคมะเร็งตับ และตับแข็ง

จึงนับเป็นความเร่งด่วนภายในภาคพื้นเอเชียแปซิฟิกที่จะต้องดำเนินการให้มีนโยบายซึ่งจัดให้ผู้ป่วยได้เข้าถึงการตรวจคัดกรองและการรักษาให้เป็นไปตามแผน เพราะว่าขณะนี้มากกว่าครึ่งหนึ่งของผู้ป่วยโรคตับอักเสบเรื้อรังอาศัยในประเทศต่างๆ ซึ่งผู้ป่วยไม่มีสวัสดิการรับการตรวจเลือด และร้อยละ 41 ของผู้ป่วยอาศัยในประเทศต่างๆ ซึ่งไม่มีกองทุนรัฐสำหรับการรักษาโรคตับอักเสบ B หรือ C 4

“ภาระของตับอักเสบ B ต่อระบบสาธารณสุขยังจะเพิ่มขึ้นไปอย่างต่อเนื่อง ยกเว้นรัฐบาลทั่วทั้งภูมิภาคจะนำนโยบายรัฐอย่างมีประสิทธิภาพไปปฏิบัติให้เป็นไปตามแผน เพื่อดูแลรักษาและป้องกันการติดเชื้อ” ศาตราจารย์ สตีเฟน โลคาร์นีนี กล่าว “เราไม่ได้พูดว่าไม่ได้มีการทำอะไรเลย มีความก้าวหน้าในประเทศต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนที่มีการฉีดวัคซีนอย่างแพร่หลาย เพียงแต่ว่ายังมีอะไรอีกมากมายที่สามารถและจำเป็นต้องกระทำเพื่อที่จะจัดการแก้ปัญหานี้อย่างมีประสิทธิภาพ”

ข้อมูลเพิ่มเติมกรุณาติดต่อ

บริษัท พีอาร์ แอนด์ แอสโซซิเอส จำกัด

คุณรัชนีย์ อุ่นจิตต์

โทร. (66) 2 651-8989 ต่อ 335

E-mail: [email protected]

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ