ภาพข่าว: สถาบันรหัสสากล จัดงานประชุมการสอบย้อนกลับตามมาตรฐาน GS1 ภาคพื้นเอเชีย 7 ประเทศ

จันทร์ ๐๑ สิงหาคม ๒๐๑๑ ๑๔:๕๒
สถาบันรหัสสากล (GS1 Thailand) สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย โดยคุณพิชญา วัชโรทัย (Ms.Pitchya Vajarodaya ) ผู้อำนวยการ ซึ่งเป็นองค์กรส่งเสริมมาตรฐานGS1ภายใต้เครือข่าย GS1 (จีเอส-วัน)ที่มีใน 108 ประเทศทั่วโลก และให้คำปรึกษาการประยุกต์ใช้บาร์โค้ดเพื่อพัฒนาธุรกิจและอุตสาหกรรม เป็นเจ้าภาพจัดงานประชุมสัมมนาเชิงปฎิบัติการภาคพื้นเอเซีย-การสอบย้อนกลับตามมาตรฐาน GS1 (GS1 Global Traceability Standards) ซึ่งมีผู้เข้าร่วมประชุมสัมมนาจาก 7 ประเทศ ได้แก่ ประเทศไทย มาเลเซีย สิงคโปร์ ฮ่องกง เวียดนาม ฟิลิปปินส์ และออสเตรเลีย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีระบบสอบย้อนกลับแก่ผู้ต้องการเป็นผู้ตรวจสอบตามโปรแกรม Global Traceability Conformance (GTC) การพัฒนาระบบตรวจสอบย้อนกลับตามมาตรฐานสากล GS1 และวางแผนในการดำเนินการอย่างเป็นมืออาชีพและเกิดประสิทธิภาพสูงสุด โดยมีนายสโลโบดาน โรมัค (Mr.Slobodan Romac) ผู้จัดการโครงการ จาก GS1 โครเอเชีย และนายฮวน พาโบล ไวอัล (Mr.Juan Pablo Vial) ผู้จัดการ GTC โปรแกรม จาก GS1 Global ประเทศเบลเยี่ยมมาเป็นวิทยากรพิเศษ ณ ห้องประชุมสถาบันรหัสสากล

คุณพิชญา วัชโรทัย ผู้อำนวยการ สถาบันรหัสสากล (GS1 Thailand) กล่าวถึงการได้เป็นเจ้าภาพประชุมเชิงปฎิบัติการภาคพื้นเอเชีย เรื่องเทคโนโลยีการตรวจสอบย้อนกลับ เมื่อเร็วๆนี้ ว่า “ ผู้เข้าประชุมเชิงปฎิบัติการภาคพื้นเอเชีย เรื่องเทคโนโลยีการตรวจสอบย้อนกลับ (GS1 Global TraceabilityStandards and Conformance Programme) จาก 7 ประเทศ ได้ให้ความสำคัญกับการตรวจสอบย้อนกลับ ที่กำลังได้รับความนิยมแพร่หลาย เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชนผู้บริโภค ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดที่สุด ได้แก่ กรณีการแพร่เชื้ออีโคไลในอาหารระบาดในยุโรป สร้างความเสียหายกับการค้าอาหารและเกษตรกว่า 10,000 ล้านบาท ส่งผลกระทบต่อซัพพลายเชนในอุตสาหกรรมอาหารและเกษตร หากได้รับการพัฒนาด้วยระบบมาตรฐาน GS1 Traceability Standards โดยกำหนดหมายเลขประจำตัวสินค้าและรายละเอียดไว้ภายใต้รหัสที่ใช้เป็นภาษาเดียวกันตลอดกระบวนการจากฟาร์มเกษตรจนถึงโต๊ะอาหาร ตั้งแต่เกษตรกรผู้ปลูก ผู้ค้าส่ง ผู้นำเข้า ผู้ค้าปลีก ร้านอาหาร แล้ว ก็จะทำให้สามารถตรวจสอบย้อนกลับแหล่งที่มาสินค้าที่เป็นปัญหาได้ว่ามาจากจุดใด และยังสามารถเรียกสินค้าคืนได้อย่างรวดเร็ว ช่วยยับยั้งการแพร่ระบาดไม่ให้ขยายวงกว้างออกไปได้อีกทางหนึ่งด้วย

ในประเทศไทย ทางสถาบันรหัสสากล (GS1 Thailand) ได้ส่งเสริมการนำระบบการตรวจสอบย้อนกลับ (Traceability) มาสร้างความมั่นใจให้สินค้าของภาคเอกชน เช่น บริษัท กรุงเทพโปรดิ๊วส จำกัด (มหาชน) ในเครือกลุ่มซีพีเอฟ (CPF) โดยสถาบันฯได้ให้คำปรึกษาในการประยุกต์ใช้ระบบตรวจสอบในกระบวนการแปรรูปสินค้าไก่ปรุงสุกแช่แข็ง 2 รายการ ได้แก่ นักเก็ตไก่ตราซีพี 300 g และ Breaded Chicken Gouions 185g เริ่มตั้งแต่รับวัตถุดิบ ได้แก่ ไก่มีชีวิต ส่วนผสมอาหารบรรจุภัณฑ์มาทำการแปรรูปและปรุงสุกแช่แข็งออกมาเป็นผลิตภัณฑ์ไก่ปรุงสุกแช่แข็ง จากการประยุกต์ใช้ระบบดังกล่าวทำให้บริษัทกรุงเทพโปรดิ๊วส จำกัด (มหาชน) สามารถจัดการระบบตรวจสอบย้อนกลับได้อย่างสมบูรณ์ ส่งผลให้คู่ค้าและผู้บริโภคเชื่อมั่นในตัวสินค้าของบริษัทฯ

นอกจากนี้ยังมีสหกรณ์การเลี้ยงปศุสัตว์ กรป.กลาง โพนยางคำ จำกัด เจ้าของแบรนด์โพนยางคำที่ได้พัฒนาต้นแบบประยุกต์ใช้มาตรฐานสากล GS1 ช่วยยกระดับขีดความสามารถด้านการแข่งขันของอุตสาหกรรมอาหาร และอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องภายในประเทศ เพิ่มศักยภาพในการส่งออก โดยพัฒนาระบบการตรวจสอบย้อนกลับเนื้อโค เพื่อเชื่อมโยงการบ่งชี้ของซากสัตว์, เนื้อโคที่แบ่งเป็นหลายๆ ชิ้น และในอีกทำนองหนึ่ง จะเป็นการบ่งชี้แหล่งที่มาของสัตว์แต่ละตัวหรือเป็นฝูง ข้อมูลสำคัญในการตรวจสอบย้อนกลับ เช่น เลขหมายอ้างอิง (reference number) หรือ รหัสอ้างอิง (reference code) ในที่นี้หมายถึงรหัสที่ใช้ในกระบวนการตรวจสอบย้อนกลับ เพื่อใช้ในการเชื่อมโยงระหว่างชิ้นเนื้อโคกับโคแต่ละตัว ,แหล่งที่สัตว์กำเนิด , แหล่งที่เลี้ยงสัตว์ , โรงฆ่าสัตว์ ,สถานที่ตัดแต่ง หรือแปรรูป ,เลขที่ใบอนุญาตของโรงฆ่าสัตว์หรือ สถานที่ตัดแต่งเนื้อสัตว์ โดยการนำเลขหมายบ่งชี้ GS1 System มาแปลงเป็น 1D หรือ 2D Barcode และใช้ร่วมกับ EPCIS นี้จะสามารถช่วยให้สหกรณ์การเลี้ยงปศุสัตว์ กรป.กลาง โพนยางคำ จำกัด สามารถบ่งชี้ข้อมูลการตรวจสอบย้อนกลับเนื้อโค ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เชื่อมโยงข้อมูลสำคัญในการตรวจสอบย้อนกลับเนื้อโคได้ทั่วโลก โดยใช้การสแกนบาร์โค้ด ร่วมกันได้กับทุกบริษัท และสามารถพัฒนาต่อยอดร่วมกับเทคโนโลยีอื่นๆ ได้ในอนาคต ไม่ว่าจะเป็น เทคโนโลยี EPC/RFID GDSN และเทคโนโลยีการสแกนบาร์โค้ดด้วยโทรศัพท์มือถือ(GS1 MobileCom) เป็นต้น รวมทั้งได้รับการรับรองระบบการตรวจสอบย้อนกลับตามมาตรฐานสากล GS1 และ GS1 Traceability Seal ซึ่งจะทำให้ผู้บริโภคทั้งภายในและต่างประเทศมีความเชื่อมั่นต่อสินค้าเนื้อโคของสหกรณ์การเลี้ยงปศุสัตว์ กรป.กลาง โพนยางคำ จำกัด มากยิ่งขึ้น

นอกจากนี้ นับตั้งแต่วันที่1 ก.ค.2554 ญี่ปุ่นเป็นประเทศแรกที่ยกระดับความปลอดภัยในสินค้าอาหารเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชนผู้บริโภค ได้ออกกฎหมายบังคับใช้ Traceability โดยเริ่มในสินค้าข้าวและผลิตภัณฑ์ที่ทำจากข้าว ผู้ประกอบการไทยจึงต้องเตรียมปรับตัวให้ก้าวทันการเปลี่ยนแปลงของตลาดและโลกปัจจุบัน

บ.เบรนเอเซีย คอมมิวนิเคชั่น จำกัด ( BrainAsia Communication)

Tel. : 02-911-3282 (5 Auto Lines) Fax 02-911-3208

Email : [email protected]

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ