ก.ไอซีที ระดมความคิดเห็นภาคเอกชนพัฒนาระบบข้อมูลกลางด้านอุตสาหกรรมและตลาด ICT ไทย

พุธ ๐๓ สิงหาคม ๒๐๑๑ ๐๙:๐๑
นายวรพัฒน์ ทิวถนอม รองปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เปิดเผยภายหลังเป็นประธานในพิธีเปิดงานสัมมนาเพื่อประชาสัมพันธ์โครงการพัฒนาระบบข้อมูลกลางด้านอุตสาหกรรมและตลาด ICT ของประเทศไทย (National ICT Industry Intelligence : NI3) ว่า ในปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ได้เข้ามามีบทบาทที่สำคัญต่อทุกระบบและภาคส่วนของประเทศ ทั้งระบบการเงิน การศึกษา การค้า และการติดต่อสื่อสาร ทั้งนี้ เพราะการพัฒนาและการเสริมสร้างศักยภาพของทุกภาคส่วนจำเป็นต้องอาศัยเทคโนโลยีสารสนเทศแทบทั้งสิ้น ซึ่งในการพัฒนานั้นจำเป็นต้องมีการศึกษา รวบรวม วิเคราะห์ข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่ถูกต้อง เชื่อถือได้ เพื่อสะท้อนให้เห็นถึงทุกๆ ด้านของโครงสร้างของอุตสาหกรรมนั้นๆ

สำหรับการพัฒนาอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของประเทศไทยก็เช่นกัน จำเป็นจะต้องมีการจัดทำโครงสร้างอุตสาหกรรมฯ ทั้งระบบ ดังนั้น กระทรวงฯ จึงได้ริเริ่มโครงการพัฒนาระบบข้อมูลกลางด้านอุตสาหกรรมและตลาด ICT ของประเทศไทย (National ICT Industry Intelligent : NI3) อันประกอบด้วยการจัดทำนโยบายที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร การรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่ถูกต้องและเชื่อถือได้ และการจัดทำศูนย์กลางการแลกเปลี่ยนเชื่อมโยงข้อมูลด้านอุตสาหกรรมและการตลาดเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร โดยได้ประสานและจัดทำกรอบความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของประเทศไทย

“กระทรวงฯ ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการจัดทำโครงสร้างอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของประเทศไทย จึงได้ดำเนินโครงการฯ นี้ขึ้น เพื่อเป็นแหล่งข้อมูลที่ถูกต้องและเชื่อถือได้ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการพัฒนาอุตสาหกรรม ICT ของไทยให้สามารถก้าวหน้าพัฒนาเข้าสู่ระดับสากล แต่ในการดำเนินการพัฒนาระบบจำเป็นต้องได้รับแนวคิด ข้อคิดเห็นจากผู้ประกอบการ เพื่อที่จะนำมาพัฒนาระบบให้ตรงกับความต้องการที่แท้จริงของผู้ใช้งานข้อมูล รวมทั้งเพื่อจัดทำเป็นนโยบายและมาตรการเพื่อส่งเสริมและพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่จะช่วยสนับสนุนระบบเศรษฐกิจของประเทศอย่างแท้จริง” นายวรพัฒน์ กล่าว

ปัจจุบันโครงการฯ นี้ อยู่ระหว่างดำเนินการออกแบบระบบต้นแบบ ดังนั้น สำนักส่งเสริมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ในฐานะผู้รับผิดชอบโครงการฯ ได้เห็นควรที่จะต้องดำเนินการจัดการสัมมนาเพื่อเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับนโยบายการส่งเสริมและศูนย์กลางการแลกเปลี่ยนเชื่อมโยงข้อมูลด้านอุตสาหกรรมและการตลาดเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร รวมถึงระดมข้อคิดเห็นต่างๆ จากผู้ประกอบการภาคเอกชน เพื่อนำความต้องการจากภาคเอกชน มาวิเคราะห์และใช้ในการพัฒนาระบบข้อมูลกลางด้านอุตสาหกรรมและการตลาด ICT ของประเทศไทย

“งานสัมมนาเพื่อประชาสัมพันธ์โครงการฯ ครั้งนี้ จัดขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์และเป้าหมายเพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจแก่ภาคเอกชนในภารกิจและนโยบายการส่งเสริมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของภาครัฐ รวมทั้งเพื่อให้หน่วยงานต่างๆ สามารถนำข้อมูลมาใช้ในการวิเคราะห์เพื่อวางแผนและนโยบายที่สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน ตลอดจนเพื่อประชาสัมพันธ์ศูนย์กลางแลกเปลี่ยนเชื่อมโยงข้อมูลอุตสาหกรรมและตลาดเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร นอกจากนี้ยังเป็นการระดมข้อคิดเห็นจากภาคเอกชน เพื่อจะนำมาเป็นแนวทางในการปรับปรุง พัฒนาระบบข้อมูลกลางด้านอุตสาหกรรมและการตลาด ICT ของประเทศไทย อีกด้วย” นายวรพัฒน์

?

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร. 021416747 MICT

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ