นายพิสิฐ กล่าวด้วยว่า ที่ผ่านมาตลาดสหรัฐฯยอมรับในคุณภาพและมาตรฐานการผลิตกุ้งของไทย และจากผลการทบทวนอัตราภาษีเอดีที่ลดลง ก็นับเป็นข้อพิสูจน์ให้เห็นแล้วว่าสินค้าส่งออกกุ้งไทยไม่ได้มีการทุ่มตลาดในสหรัฐฯแต่อย่างใด โดยในปี 2553 ที่ผ่านมา ไทยส่งออกกุ้งโดยรวมทั้งอุตสาหกรรมที่ปริมาณ 407,000 ตัน คิดเป็นมูลค่า 100,400 ล้านบาท ในส่วนของซีพีเอฟมีสัดส่วนส่งออกกุ้งในปีดังกล่าวอยู่ที่ 50,000 ตัน และคาดว่าจะสามารถส่งออกได้เพิ่มขึ้นเป็น 60,000 ตัน หรือคิดเป็นสัดส่วนเพิ่มขึ้นเฉลี่ยที่ร้อยละ 20 ในปีนี้ (2554) โดยคาดการจะมีสัดส่วนส่งออกที่เพิ่มขึ้นโดดเด่นในตลาดหลักคือ สหรัฐฯ ที่ 35% ส่วนยุโรป ญี่ปุ่น และออสเตรเลียที่ 15-25%
ทั้งนี้ จากปริมาณการส่งออกของประเทศไทยข้างต้นส่งออกไปยังตลาดสหรัฐฯที่ 45% และในช่วง 6 เดือนแรกที่ผ่านมาของปีนี้ (ม.ค.-มิ.ย. 2554) ส่งออกที่ 58,970 ตัน คิดเป็นมูลค่าการส่งออกที่เพิ่มสูงขึ้น คือจาก 14,224 ล้านบาท เป็น 16,123 ล้านบาทจากช่วงเดียวกันของปีก่อน สามารถสร้างมูลค่าราคาที่สูงขึ้นได้ในตลาด ส่งผลให้ยอดส่งออกกุ้งไปยังสหรัฐฯ สามารถขยายตัวเพิ่มขึ้นได้อย่างแน่นอน ซึ่งในส่วนของซีพีเอฟได้ดำเนินกลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจ โดยยึดหลักของอาหารปลอดภัย (Food safety) และการตรวจสอบย้อนกลับ (Traceability) ในทุกขั้นตอนตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทางที่ดำเนินธุรกิจกุ้งครบวงจร จึงนับเป็นผลดีต่อการเติบโตของยอดขายอาหารกุ้ง และการผลิตลูกกุ้งตามไปด้วย
สำหรับ อัตราภาษีเอดีที่ไทยได้รับปัจจุบันเฉลี่ยที่ 0.73% เป็นอัตราที่ต่ำกว่าคู่แข่งสำคัญ อย่างประเทศจีน ที่ถูกเรียกเก็บอัตราร้อยละ 112.8 อินเดีย ที่อัตราร้อยละ 1.69 และเวียดนาม ซึ่งถูกเรียกเก็บที่ 1.52%./
ด้านสื่อสารองค์กรและประชาสัมพันธ์ CPF
โทร. 02-625-7343-5, 02-631-0641, 02-638-2713
E-mail : [email protected]