‘มูลนิธิศูนย์นมแม่ฯ’ จับมือ ‘เอไอที’ สานสายใยรักครอบครัว จัดทำ “คลังข้อมูลนมแม่ดิจิทัล” สื่อสารไร้พรหมแดน

จันทร์ ๐๘ สิงหาคม ๒๐๑๑ ๑๖:๓๐
ในโอกาส สัปดาห์นมแม่โลก ( 1-7 สค) มูลนิธิศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย ร่วมสนับสนุน “โครงการสายใยรักแห่งครอบครัว” จับมือ สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย และภาคีเครือข่าย ร่วมกันพัฒนา “คลังข้อมูลนมแม่ดิจิทัล ” รวบรวมข้อมูล ความรู้ ชุดสื่อ นมแม่ ในรูปแบบดิจิทัล เพื่อให้พร้อมใช้และสะดวก ในการสื่อสาร ได้ทุกที่ทุกเวลาผ่านระบบอินเทอร์เน็ต หวังกระตุ้นให้สังคมไทยเห็นความสำคัญและประโยชน์ของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

มูลนิธิศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย ร่วมกับ คณะอนุกรรมการโครงการสายใยรักแห่งครอบครัว, โครงการแบ่งกันรู้ ร่วมกันคิด สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย และ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดทำ “คลังข้อมูลดิจิทัล ศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย” ผ่านเว็บไซต์ http://breastfeedinglib.saiyairak.com โดยได้รับพระกรุณาธิคุณจากสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ให้ผนวกเวบไซต์ เชื่อมโยง (ลิงค์) ไว้บนหน้าเว็บสายใยรักแห่งครอบครัว

“คลังข้อมูลดิจิทัล ศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย” เป็นเครื่องมือสำคัญในการสนับสนุนแนวคิด “Talk to me: บอกต่อรอบทิศด้วยจิตอาสา” ซึ่งเป็นคำขวัญในงานรณรงค์สัปดาห์นมแม่โลก ในปีนี้ ในมิติเรื่องการสื่อสาร อย่างไร้พรมแดน

แพทย์หญิงศิริพร กัญชนะ ประธานมูลนิธิศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า คลังข้อมูลดิจิทัล เป็นแหล่งรวบรวมและเผยแพร่ข้อมูลความรู้ในเรื่องของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ผ่านช่องทางการสื่อสารด้วยระบบอินเตอร์เน็ตที่สามารถเข้ามาศึกษาหาข้อมูลต่างๆ ได้ทุกที่ ทุกเวลา

“การบรรจุ ข้อมูล ความรู้ ชุดสื่อต่างๆ ไว้ในคลังข้อมูลดิจิทัล ช่วยอำนวยความสะดวก ให้กับ แม่ และทุกๆคน สามารถเข้าถึงข้อมูล ได้ทุกที่ทุกเวลาผ่านทางระบบอินเตอร์เน็ต นับเป็นเครื่องมือสำคัญในการถ่ายทอดและส่งต่อองค์ความรู้ ซึ่งได้มีการจัดทำไว้อย่างมากมาย ทุกข้อมูลผ่านการคัดกรองความถูกต้อง เพื่อให้เกิดความมั่นใจ ในการนำไปใช้ ไม่ว่า สำหรับ แม่ ครอบครัว นักเรียน นักศึกษา ประชาชนทั่วไป และนักวิชาการ และจะมีการ นำเข้าข้อมูลใหม่ ทันสมัย อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้การสื่อสาร เรื่องนมแม่ กว้างไกล ไร้ขอบเขตของทั้งเวลาและสถานที่” แพทย์หญิงศิริพร กล่าว

ศ.ดร.วิลาศ วูวงศ์ อดีต รองอธิการสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย( AIT) ปัจจุบันอาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์และการจัดการสารสนเทศ AIT ในฐานะหัวหน้าคณะผู้พัฒนาระบบคลังข้อมูลดิจิทัล กล่าวว่า มนุษย์เป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าที่สุดของประเทศ ต้นทุนการพัฒนา ต้องเริ่มตั้งแต่วัยเด็ก การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เป็นต้นทุนการให้อาหารและการเลี้ยงดู ที่จะส่งผลให้เด็กได้เติบโตเต็มศักยภาพ ไม่เจ็บป่วยบ่อย มีสุขภาพแข็งแรง ทั้งกายและใจ สถาบันเอไอทีจึงพร้อมให้ความสนับสนุน การจัดทำคลังข้อมูล เพื่อให้ความรู้เรื่องนมแม่ ได้รับการเผยแพร่ ให้กว้างขวางมากยิ่งขึ้น

“จุดเด่นของระบบคลังข้อมูลดิจิทัล คือ มีการจัดเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบโดยใช้หลักทางบรรณารักษศาสตร์เข้ามาช่วยในส่วนของการจัดข้อมูลต่างๆ ทำให้สามารถค้นหาข้อมูลได้ง่าย ภายใน คลังข้อมูล จะมีข้อมูลความรู้เกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ไว้ทุกประเภทไม่ว่าจะเป็น บทความ เพลง วีดิทัศน์ เอกสาร แผ่นพับ สปอทวิทยุ สปอทโทรทัศน์ ฯลฯ ผู้ใช้สามารถเชื่อมโยงความรู้ต่างๆ ในคลังข้อมูลดิจิทัล ส่งผ่านไปสู่โซเชียลเน็ตเวิร์คต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเฟซบุ๊ค ทวิตเตอร์ หรือทางอีเมลให้กับกลุ่มเพื่อนหรือญาติพี่น้องได้ ซึ่งถือได้ว่าเป็นครั้งแรกในประเทศไทยที่ได้มีการจัดทำคลังข้อมูลดิจิทัลด้านการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ทำให้ทุกคนสามารถเข้าถึงข้อมูลความรู้เรื่องนมแม่ได้ทันทีทุกที่ทุกเวลาทั่วโลก” ศ.ดร.วิลาศ ระบุ

แพทย์หญิงศิราภรณ์ สวัสดิวร รองประธานมูลนิธิศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย และผู้อำนวยการสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี กล่าวถึงคลังข้อมูลดิจิทัลว่า

“คลังข้อมูลนมแม่ดิจิทัลสนับสนุนแนวคิดคำขวัญสัปดาห์นมแม่โลก ‘Talk to me! Breastfeeding-A 3 D Experience บอกต่อรอบทิศด้วยจิตอาสา’ ขององค์กรพันธมิตรโลกเพื่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ซึ่งต้องการสื่อ ว่าปกติในการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เรามักมีกรอบมิติการดำเนินการผ่าน 2 มิติ คือมิติของเวลา นับแต่ตั้งแต่ก่อนการตั้งครรภ์จนถึงการหย่านม และมิติด้านสถานที่ คือจากบ้าน ชุมชน โรงพยาบาล ที่ทำงาน สถานที่สาธารณะต่างๆ ในปีนี้ สัปดาห์นมแม่โลกต้องการเน้น มิติที่ 3 คือมิติการสื่อสาร ซึ่งในยุคนี้ การสื่อสาร เกิดขึ้นอย่างไร้พรมแดน กว้างขวางทั้งในระดับชุมชน ระดับประเทศะทั่วโลก และรวดเร็วแค่ปลายคลิ๊ก ด้วยเทคโนโลยี ที่ทันสมัยและเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ทำให้เรื่องที่ต้องการสื่อสาร เช่น เรื่องนมแม่ สามารถถูกสื่อสาร สู่กลุ่มคน ในทุกมิติ เช่น ระหว่างแม่กับแม่ ระหว่างครอบครัวกับครอบครัว ระหว่างเด็กกับผู้ใหญ่ ระหว่างสถานประกอบการด้วยกันเองทั้งภาค รัฐและเอกชน ระหว่างวัฒนธรรมหนึ่งสู่อีกวัฒนธรรมหนึ่ง ดังนั้นแค่ปลายคลิ๊ก จะเกิดการสื่อสารขึ้นทันที เกิดการเรียนรู้ มีการแลกเปลี่ยน เมื่อทุกภาคส่วน รู้และเข้าใจซึ่งกันและกัน ก็ย่อมส่งผลให้ การส่งเสริม สนับสนุนและ ปกป้องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ จะเป็นเรื่องที่มีการรับรู้อย่างกว้างขวาง นำสู่การทำให้แม่ สามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้จริง ” แพทย์หญิงศิราภรณ์ระบุ

ปัจจุบัน คลังข้อมูลดิจิทัล ศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย มีข้อมูลที่จัดเก็บรวมทั้งสิ้น 102 รายการ แบ่งออกเป็นข้อมูลในรูปแบบวีดิทัศน์และแฟ้มเสียง 56 รายการ และข้อมูลในรูปแบบเอกสาร อาทิ หนังสือ บทความ จดหมายข่าว แผ่นพับ และภาพจากบอร์ดนิทรรศการ 46 รายการ

“ข้อมูลความรู้ในรูปแบบต่างๆ ที่ถูกบรรจุไว้ในคลังของมูลดิจิทัล จะช่วยให้คุณแม่สมัยใหม่ในโลกยุคดิจิทัลออนไลน์ ได้เข้าถึงความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ อันจะนำไปสู่การสร้างวัฒนธรรมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพียงอย่างเดียวอย่างน้อย 6 เดือนให้เกิดขึ้นในสังคมไทยได้ เพื่อสร้างเด็กไทยยุคใหม่ ให้เติบโตขึ้นไปอย่างมีคุณภาพและศักยภาพในทุกๆ ด้าน โดยมีจุดเริ่มต้นที่นมแม่” ประธานศูนย์นมแม่กล่าวสรุป.

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร. 0805533283 บริษัท ไอ แอม พีอาร์ จำกัด

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ