สถาบันพัฒนาวิชาชีพ ในสังกัด สวทช. ขอเชิญชวนผู้สนใจร่วมส่งผลงานประกวด สิ่งประดิษฐ์คิดค้นด้านความปลอดภัยในการทำงานซึ่งเป็นตัวอย่างได้ (Best Practice) ประจำปี 2548

ศุกร์ ๑๓ พฤษภาคม ๒๐๐๕ ๑๕:๕๕
กรุงเทพฯ--13 พ.ค.--สวทช.
ในการพัฒนาประเทศไทยทางอุตสาหกรรมและเกษตรต้องพึ่งวัตถุดิบทางเคมีภัณฑ์และผลิตภัณฑ์ทางเคมีในจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ วัตถุดิบ อุปกรณ์ สารเคมี จำนวนมากที่ใช้ในครัวเรือน และในอุตสาหกรรม เกษตร และการแพทย์ เช่น เชื้อเพลิง สารเริ่มต้นที่ใช้ทำพลาสติก ใยสังเคราะห์ แบตเตอรี่ โลหะชุบ ปุ๋ยแอมโมเนียไนเตรต โปแตสเซียมคลอเรต ฯลฯ เป็นวัตถุอันตราย และกระบวนการทำวัตถุหรือสิ่งของบางอย่างอาจทำให้เกิดวัตถุอันตรายได้ ผลิตภัณฑ์ทางเคมีที่มีความเป็นอันตรายเหล่านี้ ไม่ว่าที่ผลิตในประเทศ นำเข้าหรือส่งออกย่อมต้องมีการเก็บ การขนส่ง การบรรจุหีบห่อ การแบกหาม การกำจัด การทำลาย ซึ่งในกิจกรรมเหล่านี้ ต้องมีคนที่เข้ามาสัมผัสด้วย คือ กรรมกร คนขับรถ นักเคมี พนักงานบริษัท และประชาชนทั่วไป การรั่วไหล การแพร่กระจาย การเกิดอุบัติภัย และอัคคีภัยหรือการเจือปนของสารเคมีอันตรายในอากาศ ดินและน้ำ จะมีผลเสียหายต่อคน สัตว์ พืช และสิ่งแวดล้อมทั่วไป
เพื่อให้คนไทยในทศวรรษใหม่นี้มีความเป็นอยู่ที่ดี โดยมีความปลอดภัยจากสารอันตรายและอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดี คนไทยจึงควรมีความรู้เกี่ยวกับอันตรายของวัตถุเคมีอันตรายให้ดีขึ้น ประชาชนทั่วไปควรมีความตื่นตัวและมีความรู้เกี่ยวกับวัตถุอันตรายที่อยู่รอบๆ ตัว ฝ่ายบริหารของโรงงานควรจะเข้าใจในแง่มุมต่างๆ ของวัตถุอันตรายรวมทั้งกฎหมายวัตถุอันตราย พนักงานและคนงานของโรงงานผลิตสินค้าเคมีและวัตถุอันตราย รวมทั้งผู้ที่ดูแลคลังสินค้าต่างๆ ผู้ขับรถขนส่งสินค้าเคมีอันตราย ผู้ที่ทำหน้าที่บรรจุสินค้าเคมี ควรได้รับการอบรม หรือคำแนะนำเกี่ยวกับการจัดการสินค้าเคมีอย่างเคร่งครัดตามใบแนะนำที่ติดมากับสินค้าเคมีนั้นๆ นักเคมีที่มีหน้าที่ดูแลสารเคมีอันตรายควรจะเข้าถึงข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับสารเคมีเหล่านั้นอย่างทันสมัยและทันเหตุการณ์ รู้ถึงการสุ่มตัวอย่างสารเคมีตลอดจนถึงวิธีการวิเคราะห์ที่ถูกต้อง รวมทั้งสร้างมาตรการป้องกัน และสามารถแก้ไขอุบัติภัยที่เกิดจากสารเคมีปริมาณมากๆ และผู้ที่มีประสบการณ์ทางวัตถุอันตรายควรจะทำหน้าที่เป็นผู้ถ่ายทอดความรู้และฝึกฝนให้ผู้อื่น
วิชา “ความเสี่ยงและอันตรายจากวัตถุเคมี” ครอบคลุมความรู้ ด้านคุณสมบัตร วิธีแก้ปัญหาเกี่ยวกับสารเคมีอันตราย โดยใช้เนื้อหาสากล ประกอบกับปัญหาจริงที่เกิดขึ้นในประเทศไทย เช่น ไฟไหม้ แก๊สระเบิด สารเร่งดอกลำไยระเบิด การระเบิดของสารเคมีในชุมชน การสัมผัสกับสารกัมมันตรังสีโคบอลต์ 60 สิ่งที่รั่วไหลจากโรงงานอุตสาหกรรม ฯลณ เป็นตัวอย่างของมหันตภัยซึ่งจะเกิดได้อีก ในเมื่อประเทศไทยยังต้องใช้สารเคมีในการพัฒนาประเทศในจำนวนมาก ดังนั้นจึงต้องให้ความรู้ในการจัดการและป้องกันอันตรายจากของเหล่านี้อย่างถูกต้อง ผู้เรียนวิชานี้ จะได้รับประโยชน์จากวิทยากร ผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์จริงในวงการมานาน เพื่อการศึกษาต่อเนื่อง สำหรับนักวิชาชีพ บุคลากรตามสายอาชีพ และบุคลากรทั่วไปที่ปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับสารเคมีและวัตถุอันตรายทั้งทางตรงและทางอ้อมจากภาครัฐและเอกชน และสำหรับอาจารย์และนักศึกษาในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง และสำหรับบุคคลทั่วไปที่สนใจเกี่ยวกับเคมีในชีวิตประจำวัน
ก่อให้เกิดประโยชน์มากมายหลายทาง อาทิ เป็นการจัดการศึกษาต่อเนื่องในรูปแบบใหม่ สำหรับนักวิชาชีพ บุคลากรตามสายอาชีพ ผู้ปฏิบัติการในโรงงานและผู้บริหารโรงงานระดับต่างๆ และผู้สนใจทั่วไป ,สามารถนำข้อมูลที่ได้จากโครงการนี้ไปใช้เป็นประโยชน์ ในการพัฒนาหลักสูตร และวิธีการสอนสำหรับวิชาอื่นๆ ในระบบผ่านเครือข่าย Internet ได้เป็นอย่างดี , ผู้เรียนจะได้รับความรู้ในแนวกว้าง ในเรื่องที่เกี่ยวกับการจัดการและป้องกันอันตรายจากสารเคมีและวัตถุเคมี และจะได้แหล่งข้อมูลที่สามารถไปค้นคว้าเพิ่มเติมได้อีกมาก จนสามารถได้รับประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานในสายอาชีพ ,ผู้บริหาร ผู้ปฏิบัติการและบุคลากรสายอาชีพ สามารถได้รับการพัฒนาตนเอง โดยการได้รับการอบรมเพิ่มเติมในวิทยาการใหม่ๆ ในสาขาที่ตนปฏิบัติงานอยู่
อีกทั้ง ยังเป็นการเผยแพร่ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ที่สำคัญให้แก่บุคลากรทั่วไป ซึ่งสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ให้เกิดประโยชน์ทั้งในอาชีพการงานและในชีวิตประจำวัน
นอกจากนี้ สถาบันพัฒนาวิชาชีพ ในสังกัด สวทช. ได้จัดให้มีการส่งผลงานสิ่งประดิษฐ์คิดค้นด้านความปลอดภัยในการทำงานซึ่งเป็นตัวอย่างได้ (Best Practice) ประจำปี 2548 ซึ่งจัดโดย สถาบันพัฒนาวิชาชีพ และฝ่ายพัฒนาความปลอดภัย สถาบันความปลอดภัยในการทำงาน กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน การประกวดสิ่งประดิษฐ์คิดค้นด้านความปลอดภัยในการทำงานซึ่งเป็นตัวอย่างได้ (Best Practice) ประจำปี 2548 ที่จะจัดขึ้นแบ่งประเภทผลงานเป็น 3 ประเภท ได้แก่
ประเภทที่1 การออกแบบหรือปรับปรุงเครื่องมือ เครื่องจักร อุปกรณ์ หรือสภาพแวดล้อมในการทำงาน
ประเภทที่2 โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ด้านการบริหารจัดการความปลอดภัย อาชีวอนามัย หรือสภาพแวดล้อมในการทำงาน
ประเภทที่3การเรียนรู้ด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (E-learning) ซึ่งใช้ชื่อผลงานว่า ความเสี่ยงและอันตรายจากวัตถุเคมี (Risk and Danger of Chemical Products) โดยมี สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ เป็นเจ้าของผลงาน คณะผู้จัดทำ ได้แก่ ดร.ภิญโญ พานิชพันธ์ , อ.เอื้อนพร ภู่เพ็ชร์, คุณธีรศักดิ์ พงศ์พนาไกร, ดร.พิณทิพ รื่นวงษา ผลงานที่ได้รับการคัดเลือกจะได้รับรางวัล ผลงานดีเด่น (Best Practice) รับโล่รางวัลไปเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2548
ณ ห้องแกรนด์ไดมอนด์บอลรูม ฮอลล์ 9 ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้าอิมแพค ในงานสัปดาห์ความปลอดภัยในการทำงานแห่งชาติ ครั้งที่ 19 โดยมี นายสรอรรถ กลิ่นประทุม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เป็นผู้มอบรางวัลให้แก่ รศ. ดร.สมชาย ฉัตรรัตนา ผู้ช่วยผู้อำนวยการ สวทช. ซึ่งได้รับใบประกาศเกียรติคุณ ณ ห้องแกรนด์ไดมอนด์บอลรูม ฮอลล์ 9 ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้าอิมแพค ในงานสัปดาห์ความปลอดภัยในการทำงานแห่งชาติ ครั้งที่ 19 ที่ผ่านมา พร้อมทั้งรับมอบใบประกาศเกียรติคุณ จากนายสุรินทร์ จิรวิศิษฏ์ อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
สถาบันพัฒนาวิชาชีพ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ได้เริ่มเปิดให้ผู้สนใจลงทะเบียนเรียน วิชา ความเสี่ยงและอันตรายจากวัตถุเคมี ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (E-learning) มาตั้งแต่ปี 2544 และในปี 2548 หลักสูตรนี้ได้รับรางวัลผลงานดีเด่น (Best Practice) ด้านการเรียนรู้ด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (E-learning) และจะเปิดรับลงทะเบียนอีกครั้งประมาณเดือนกันยายน 2548 ผู้สนใจสามารถติดตามรายละเอียดได้ที่ www.learn.in.th หรือสอบถามเพิ่มเติมโทร 02-564-7000 ต่อ 1422-1426--จบ--

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๐ ธ.ค. ASMT ผนึก TFT ร่วมลงนามด้านวิชาการด้านอุตสาหกรรมการบิน
๒๐ ธ.ค. กรมวิชาการเกษตร เดินหน้า ถ่ายทอดองค์ความรู้การผลิตอะโวคาโดคุณภาพ สร้างรายได้เพิ่มให้เกษตรกรกว่า 2 แสนบาท/ไร่
๒๐ ธ.ค. Dow มุ่งพัฒนาประสิทธิภาพผลิตภัณฑ์ Personal Care ควบคู่ความยั่งยืน ตอบโจทย์ผู้บริโภคตลาดเครื่องสำอางในภูมิภาคเอเชีย
๒๐ ธ.ค. โอซีซี มอบความรู้ พัฒนาอาชีพให้ผู้ต้องขังหญิง
๒๐ ธ.ค. ดร.นุชนารถ ชลคงคา นำทีมสถาบัน ESTC จัดอบรมให้ Karmakamet
๒๐ ธ.ค. กนภ. เห็นชอบร่าง พรบ. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กลไกสำคัญสู่เส้นทางเศรษกิจคาร์บอนต่ำ และมีภูมิคุ้มกันฯ
๒๐ ธ.ค. WePlay x คอลแลบตัวละครสุดปัง! พบกับมินิเกมใหม่ และการ์ตูนสุดน่ารักที่คุณจะต้องหลงรัก
๒๐ ธ.ค. เดลต้า ประเทศไทย และ WEnergy Global ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงเพื่อขับเคลื่อนอนาคตพลังงานสีเขียว
๒๐ ธ.ค. ความภาคภูมิใจของ ไลอ้อน กับ 3 รางวัลแห่งเกียรติยศ เผยผลงานโดดเด่นกับหลายรางวัลที่ได้รับในปี 2567
๒๐ ธ.ค. NOBLE คว้าเรทติ้งสูงสุด ระดับ AAA SET ESG Ratings ประจำปี 2567 ยกระดับองค์กรสู่ความยั่งยืนภายในแนวคิด Live Different ตามกรอบ