พพ.อัดฉีดเงินเงินทุน 20% ส่งเสริมผู้ประกอบการวัสดุอุปกรณ์ประหยัดพลังงาน

จันทร์ ๑๕ สิงหาคม ๒๐๑๑ ๑๖:๐๗
พพ. ปลื้มโครงการส่งเสริมและวัสดุอุปกรณ์เพื่อการอนุรักษ์พลังงาน จูงใจกลุ่มอุตสาหกรรม อาคารธุรกิจ และภาคเกษตรเข้าร่วมกว่า 269 แห่ง พร้อมอนุมัตโครงการแล้ว 231 แห่ง รวม 315 มาตรการ เกิดผลประหยัดพลังงาน 353 ล้านบาท และลดการนำเข้าน้ำมันดิบ 3.9 ล้านลิตรต่อปี

นายไกรฤทธิ์ นิลคูหา อธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน(พพ.) เปิดเผยว่า ตามที่ พพ. ได้ดำเนินโครงการส่งเสริมและวัสดุอุปกรณ์เพื่อการอนุรักษ์พลังงาน เพื่อเป็นการส่งเสริมสนับสนุนและกระตุ้นให้เกิดการใช้เครื่องจักร วัสดุ และอุปกรณ์ที่มีผลต่อการประหยัดพลังงาน ให้กับกลุ่มโรงงานอุตสาหกรรม อาคารธุรกิจ และภาคเกษตร โดย พพ. จะให้การสนับสนุนเงินทุนร้อยละ 20 สูงสุดไม่เกิน 3 ล้านบาทต่อราย และต่ำสุด 50,000 บาทต่อราย ซึ่งได้เริ่มต้นโครงการนับตั้งแต่วันที่ 20 กรกฎาคม 2553 ที่ผ่านมา

ทั้งนี้ผลการดำเนินการโครงการ ฯ ดังกล่าว จนถึงปัจจุบันนับเป็นที่น่ายินดีว่า การสนับสนุนให้เกิดการใช้เครื่องจักร วัสดุ และอุปกรณ์ที่ก่อให้เกิดผลการประหยัดพลังงานตามโครงการ ได้มีสถานประกอบการต่างๆ ในแต่ละภาคส่วน ได้ขอเข้าร่วมโครงการมากถึง 269 โครงการ และปัจจุบันมีจำนวนสถานประกอบการที่ได้รับการอนุมัติโครงการแล้ว 231 แห่ง และมีมาตรการลดใช้พลังงานแต่ละโครงการสูงถึง 315 มาตรการ โดยพบว่าเกิดผลประหยัดพลังงานรวมทั้งสิ้น 353 ล้านบาทต่อปี แบ่งเป็นผลการประหยัดไฟฟ้า 277 ล้านบาทต่อปี หรือประมาณ 19 เมกะวัตต์ต่อปี และลดการนำเข้าน้ำมันได้ 3.9 ล้านลิตรต่อปี หรือประมาณ 76 ล้านบาทต่อปี

ส่วนทางด้านเงินลงทุนที่เกิดขึ้นในโครงการ ฯ นั้น พบว่า เป็นจำนวนเงินที่สนับสนุนจาก พพ. ทั้งสิ้น 127 ล้านบาท และเป็นของสถานประกอบการแต่ละแห่งที่มีความตั้งใจดีในการลดใช้พลังงาน 879 ล้านบาท ซึ่งหากคำนวนจากผลประหยัดพลังงานที่ได้รับ ก็จะมีระยะเวลาคืนทุนเฉลี่ยเพียง 2.4 ปี และเป็นเงินจาก สัดส่วนที่ พพ. ให้การสนับสนุนโดยเฉลี่ยต่อสถานประกอบการร้อยละ 14.4 โดยสามารถแบ่งสถานประกอบการทั้ง 231 แห่งที่ได้รับการอนุมัติเป็นภาคเกษตรกรรม 68 แห่ง โรงงานอุตสาหกรรม 53 แห่ง และอาคารธุรกิจ 110 แห่ง

ด้านมาตรการลดใช้พลังงานที่มีมาตรการรวม 315 มาตรการดังกล่าวนั้น สามารถแบ่งได้เป็น มาตรการมาตรฐาน (Standard Measures) จำนวน 41 มาตรการ อาทิ การใช้มอเตอร์ประสิทธิภาพสูง การติดตั้งอุปกรณ์นำความร้อนทิ้งมาใช้ใหม่ การติดตั้งอุปกรณ์ปรับความเร็วรอบมอเตอร์ เป็นต้น มาตรการที่ใช้เทคโนโลยีเชิงลึก จำนวน 21 มาตรการ อาทิ การใช้ปั๊มความร้อนสำหรับทำความร้อน การบำบัดและปรับสภาพน้ำด้วยโอโซน และมาตรการอื่นๆที่มีผลพิสูจน์ชัดเจนว่าช่วยก่อให้เกิดการประหยัดพลังงาน จำนวน 253 มาตรการ อาทิ การเปลี่ยนมอเตอร์เก่าของเครื่อง เติมอากาศเป็นมอเตอร์แบบเกียร์มอเตอร์ การเปลี่ยนหลอดฟลูออเรสเซนต์แบบผอม (T8) เป็นแบบผอมมาก (T5) และการติดตั้งระบบผลิตน้ำร้อนจากเครื่องปรับอากาศ เป็นต้น

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ