โดยจังหวัดน่านติดหนึ่งใน 10 จังหวัดที่ส่งผลงานเข้าประกวด ภายใต้ "น่านเมืองเก่า ที่มีชีวิต" ซึ่งจ.น่านมีเอกลักษณ์สำคัญ คือมีต้นทุนทางสังคม ประเพณี และภูมิปัญญาที่เป็นเอก ลักษณ์ไม่เหมือนใคร คณะรัฐมนตรี ได้ประกาศเขตพื้นที่เมืองเก่าของน่านเชื่อมโยงสู่พระธาตุแช่แห้งปูชนียสถานสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่สำคัญ เป็นพื้นที่อนุรักษ์และพัฒนาเมืองเก่า และสิ่งที่สร้างความภาค ภูมิใจแก่ชาวน่านอย่างยิ่ง ก็คือประกาศให้จ.น่าน "น่านเมืองเก่าที่มีชีวิต" เป็นจังหวัดลำดับที่2ของประเทศ ต่อจากเกาะรัตนโกสินทร์ กรุงเทพมหานคร โดยน่านมีเอกลักษณ์ของการเคลื่อนไหวทางสังคมที่สำคัญที่สุดคือ สัญลักษณ์ภาพเขียนจิตรกรรมฝาผนังภายในโบสถ์วัดภูมินทร์ แสดงให้เห็นถึงวัฒนธรรมของคนเมืองน่าน ได้ชัดเจนยิ่งขึ้น
จากการที่จังหวัดน่าน เป็นหนึ่งในเมืองต้นแบบเศรษฐกิจสร้างสรรค์ กลุ่มภาคเหนือตอนบนกลุ่ม2 ส่งผลให้กระตุ้นและส่งเสริมการท่องเที่ยวมากเพิ่มขึ้น พ่อค้า ประชาชนต่างนำนวัตกรรมใหม่ๆจากภูมิปัญญาท้องถิ่นไทย มาใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ จึงกระตุ้นให้เกิดการสร้างงาน สร้างรายได้แก่ภาคประ ชาชน สอดคล้องกับแผนพัฒนาจ.น่าน โดยเฉพาะด้านการท่องเที่ยว ถึงแม้ว่าจะยังอยู่ในช่วงฤดูฝน นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ที่เป็นชาวยุโรปก็ยังคงหลั่งไหลมาเที่ยวจังหวัดน่าน จนทำให้ต้องมีการเพิ่มเที่ยวบิน เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวและนักธุรกิจ