ภาพข่าว: เปิดตัว “โอเมก้า-3 อะคาเดมี” แห่งแรกในเอเชีย

พฤหัส ๒๕ สิงหาคม ๒๐๑๑ ๑๖:๒๖
(ภาพจากซ้าย) อาจารย์ศัลยา คงสมบูรณ์เวช นักกำหนดอาหารขึ้นทะเบียนวิชาชีพ (อเมริกา) และที่ปรึกษาโภชนบำบัดโรงพยาบาลเทพธารินทร์, ศ.นพ.นิธิ มหานนท์ อายุรแพทย์โรคหัวใจ และเลขาธิการมูลนิธิโรงพยาบาลปิยะเวท, มิสเตอร์เบอร์นาร์ด ดราก้อน กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซาโนฟี่-อเวนตีส (ประเทศไทย) จำกัด และคุณพัชรศรี เบญจมาศ ในการเปิดตัว โอเมก้า-3 อะคาเดมี เอเชีย ศูนย์ความรู้ออนไลน์ด้านโอเมก้า-3 แห่งแรก

เปิดตัว “โอเมก้า-3 อะคาเดมี” แห่งแรกในเอเชีย ส่งเสริมการบริโภคน้ำมันปลาซึ่งเป็นอาหารเพื่อสุขภาพ พร้อมลดความเสี่ยงด้านสุขภาพของคนไทยและคนเอเชีย จากการขาดโอเมก้า-3

ความนิยมบริโภคอาหารฟาสต์ฟู้ดแบบตะวันตก และการเพิ่มขึ้นของปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคที่เกี่ยวกับระบบเผาผลาญอาหารผิดปกติ เช่น โรคเบาหวาน และคอเลสเตอรอลสูง นำไปสู่การเปิดตัวโอเมก้า-3 อะคาเดมี เอเชีย ศูนย์ความรู้ออนไลน์ด้านโอเมก้า-3 แห่งแรกที่เกิดจากการรวมตัวของผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง เพื่อเผยแพร่ประโยชน์ของโอเมก้า-3 ในอาหารสู่ผู้บริโภค

โอเมก้า-3 อะคาเดมี เอเชีย เกิดจากการรวมตัวของผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ในหลากหลายสาขา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการรับรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับโอเมก้า-3 และได้ริเริ่มกิจกรรมต่างๆ เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนได้ตระหนักถึงผลกระทบของการบริโภคโอเมก้า-3 ที่ลดลงในกลุ่มชาวเอเชีย และเผยแพร่ประโยชน์ของการรับประทานโอเมก้า-3 เพิ่มขึ้นเพื่อสุขภาพที่ดี

สมาชิกของโอเมก้า-3 อะคาเดมี เอเชีย ประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญในหลากหลายสาขาจากประเทศไทย เกาหลี และ ฟิลิปปินส์ ทั้งในสาขาโภชนศาสตร์คลินิก หทัยวิทยา สุขภาพครอบครัว และโรคเบาหวาน ซึ่งรวมถึงผู้เชี่ยวชาญที่มีชื่อเสียงจากประเทศไทย โดยได้รับการสนับสนุนการดำเนินงานจากบริษัท ซาโนฟี่-อเวนตีส

ศาสตราจารย์ แอนดรูว์ ซินแคลร์ ประธานของโอเมก้า-3 อะคาเดมี เอเชีย และผู้อำนวยการหน่วย โภชนศาสตร์ ประจำคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยดีคิน ประเทศออสเตรเลีย กล่าวว่า “การบริโภคอาหารของชาวเอเชียยุคใหม่มีแนวโน้มต้องการ “ความสะดวก” มากขึ้น อาหารส่วนใหญ่จึงมีไขมันอิ่มตัวสูงและมีเนื้อปลาอยู่น้อย ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้ชาวเอเชียได้รับโอเมก้า-3 ลดลง แนวโน้มดังกล่าวยังสอดคล้องกับอัตราการเพิ่มขึ้นของโรคหลอดเลือดหัวใจและปัญหาด้านสุขภาพอื่นๆ ของประชากรในแถบเอเชียอีกด้วย”

อัตราการบริโภคโอเมก้า-3 ทั่วทั้งภูมิภาคเอเชียยังมีปริมาณต่ำกว่าเกณฑ์ที่แนะนำ และยังขาดข้อมูลทางคลินิกที่ถูกต้อง โดยเฉลี่ย ประชากรไทยบริโภคปลาปีละ 30 กิโลกรัมต่อคน แต่ก็ยังไม่มีข้อแนะนำในเรื่องการบริโภคโอเมก้า-3 ให้ประชาชนไทย

ศจ. นพ. นิธิ มหานนท์ อายุรแพทย์โรคหัวใจ และเลขาธิการมูลนิธิโรงพยาบาลปิยะเวท กล่าวว่า “การเร่งเผยแพร่ความรู้เรื่องโอเมก้า-3 แก่ประชาชนเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่ง เพื่อแก้ไขความเข้าใจเกี่ยวกับโอเมก้า-3 ให้ถูกต้อง ซึ่งหลายคนอาจยังไม่ทราบ เช่น มีปลาน้ำจืดและน้ำเค็มบางชนิดเท่านั้นที่มีโอเมก้า-3 อยู่สูง และการใช้ความร้อนสูงมากๆ ในการประกอบอาหารจะทำให้กรดไขมันโอเมก้า-3 ถูกทำลาย และลดปริมาณ โอเมก้า-3 ที่ร่างกายจะได้รับ นอกจากนี้ หลายคนยังไม่ทราบว่าควรได้รับโอเมก้า-3 ปริมาณเท่าใดใน แต่ละวันที่จะก่อให้เกิดผลดีต่อสุขภาพ จึงเป็นเหตุผลในการจัดตั้ง โอเมก้า-3 อะคาเดมี เอเชีย ขึ้น”

จากปัญหาที่เกิดขึ้น โอเมก้า-3 อะคาเดมี เอเชีย จึงได้จัดโครงการให้ความรู้แก่ผู้บริโภคและผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพในประเทศไทย เกาหลี และฟิลิปปินส์ เพื่อสร้างความรับรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับประโยชน์ของน้ำมันปลาและโอเมก้า-3 กิจกรรมแรกคือการเปิดตัวศูนย์ความรู้ออนไลน์โอเมก้า-3 ที่เว็บไซต์ www.omega3academy.com/th ซึ่งพัฒนาขึ้นเพื่อให้ข้อมูลเกี่ยวกับโอเมก้า-3 และประโยชน์ต่อสุขภาพ รวมทั้งแนวทางการคำนวณปริมาณโอเมก้า-3 ที่แต่ละคนควรได้รับ

โอเมก้า-3 อะคาเดมี เอเชีย ยังศึกษาพฤติกรรมการบริโภคโอเมก้า-3 ของกลุ่มตัวอย่างในประเทศไทยและฟิลิปปินส์ เพื่อประเมินและเปรียบเทียบกับข้อมูลของประเทศเกาหลี โดยจะเผยแพร่ผลการศึกษาดังกล่าวประมาณกลางปี พ.ศ. 2555

อาจารย์ศัลยา คงสมบูรณ์เวช นักกำหนดอาหารขึ้นทะเบียนวิชาชีพ (อเมริกา) และที่ปรึกษาโภชนบำบัดโรงพยาบาลเทพธารินทร์ กล่าวว่า “ปัจจุบันยังไม่มีข้อมูลที่แน่นอนเกี่ยวกับปริมาณโอเมก้า-3 ที่คนไทยควรได้รับ การบริโภคปลาและน้ำมันปลาของแต่ละคน จึงขึ้นอยู่กับพื้นที่ที่อยู่อาศัยและนิสัยการบริโภคเป็นหลัก ซึ่งในอนาคต โอเมก้า-3 อะคาเดมี เอเชียจะทำการวิจัยเชิงลึกเพื่อเพิ่มเติมองค์ความรู้เชิงประจักษ์ในเรื่องนี้ให้มากขึ้น”

“โอเมก้า-3 มีความจำเป็นต่อสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดี โดยผู้บริโภคสามารถค้นคว้าข้อมูลเพิ่มเติมได้จากศูนย์ความรู้ออนไลน์ที่เว็บไซต์ www.omega3academy.com/th” อาจารย์ศัลยา กล่าวเพิ่มเติม

“กรดไขมันโอเมก้า-3 มีประโยชน์ต่อสุขภาพในหลายๆ ด้าน และเป็นสารอาหารที่ควรได้รับเป็นประจำทุกวัน ปัจจุบันมีหลักฐานเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของโอเมก้า-3 ต่อการส่งเสริมสุขภาพหัวใจ โรคข้อ รวมทั้งพัฒนาการของสมอง ดังนั้น เราจึงควรรับประทานโอเมก้า-3 ให้ได้ตามปริมาณที่แนะนำ ในแต่ละวันเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี” ศาสตราจารย์ซินแคลร์ กล่าวสรุป

ภายในงานโอเมก้า-3 อะคาเดมี เอเชีย คุณกาละแมร์ พัชรศรี เบญจมาศ ยังได้ร่วมพูดคุยและแบ่งปัน เคล็ดลับการดูแลรักษาสุขภาพ “สำหรับคนที่เริ่มหันมาดูแลสุขภาพ ในช่วงแรกขอแนะนำให้ใส่ใจเรื่องนิสัย ในการรับประทานอาหาร เพราะสุขภาพที่ดีต้องเริ่มต้นจากภายใน ควรเลือกทานอาหารที่มีประโยชน์ เช่น ปลา ผัก ผลไม้เพื่อให้ร่างกายเผาผลาญได้ดีขึ้น แต่ด้วยไลฟ์สไตล์ของคนรุ่นใหม่ที่เร่งรีบ บางครั้งการทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารบางชนิด ก็ช่วยให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่ครบถ้วนและยังมีประโยชน์ต่อสุขภาพหลายๆ ด้าน เช่น โอเมก้า-3 ซึ่งดีต่อสมอง หัวใจ สายตา ลดระดับคอเลสเตอรอลในร่างกาย และยังช่วยให้ผิวพรรณสดใสอีกด้วย”

สำหรับสื่อมวลชน ติดต่อได้ที่ฮิลล์ แอนด์ นอลตัน (ประเทศไทย)

สุธาทิพย์ บุญแสง

วชิราภรณ์ พรพิทยาเลิศ

ณภัทร กัลยากฤต

โทร: 0-2627-3501 ต่อ 102, 116, 112

อีเมล์: [email protected]

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๘:๐๑ วช. ขับเคลื่อนงานวิจัยเชิงพื้นที่ 'ประเทศไทยปลอดภัยจาก PM2.5' มุ่งลดฝุ่นพิษภาคเหนืออย่างยั่งยืน
๑๘:๐๘ TKS จัดประชุมผู้ถือหุ้นปี 2568 ไฟเขียวจ่ายปันผลอีก 0.33 บ./หุ้น
๑๘:๔๙ STECH จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2568 แจกปันผลเป็นเงินสดหุ้นละ 0.034 บาท
๑๘:๒๒ SGP จัดประชุมผู้ถือหุ้น ประจำปี 2568 ผถห.อนุมัติเคาะปันผลครึ่งปีหลัง 0.20 บาท/หุ้น
๑๘:๐๖ ผู้ถือหุ้น FLOYD พร้อมใจเห็นชอบ ไฟเขียวทุกวาระ อนุมัติจ่ายปันผล 0.08 บาท/หุ้น
๑๘:๑๑ TEKA จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2568 พร้อมไฟเขียวจ่ายปันผล 0.155 บาท
๑๘:๒๓ BRR จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2568 ผู้ถือหุ้นเคาะจ่ายปันผล 0.50 บาท/หุ้น
๑๘:๓๘ กลุ่มเหล็กรุ่นใหม่ เข้าพบ 'เอกนัฏ' ประสานเสียงให้กำลังใจ ดันยกเลิกเหล็ก IF กันเหล็กนำเข้าไร้มาตรฐาน
๑๘:๑๘ ดั๊บเบิ้ล เอ จับมือ เอเชีย เอรา วัน และกรมป่าไม้ จัดกิจกรรมรักษ์โลก สร้างสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน
๑๗:๒๘ LPH ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2568 ผถห. ไฟเขียวจ่ายปันผลอีก 0.10 บ./หุ้น