สาระสำคัญ สรุปได้ดังนี้
1. กำหนดให้เมล็ดมัสตาร์ดเป็นสารก่อภูมิแพ้
2. ให้ระบุชื่อสามัญที่เป็นแหล่งที่มาของโปรตีนที่สกัดจากพืช
3. ให้ใช้คำว่า “Wheat” ซึ่งเป็นสารก่อภูมิแพ้ที่ควบคุมอยู่แล้วแทนสารก่อภูมิแพ้ เช่น Spelt, Kamut หรือธัญพืชสายพันธุ์ Triticum หากมีสารก่อภูมิแพ้เหล่านั้นเจือปนในผลิตภัณฑ์
4. ให้ระบุส่วนประกอบของสารก่อภูมิแพ้ในอาหารบนฉลากด้วยคำว่า “Contains” แทนคำว่า“Allergy and Intolerance Information - Contains”
5. ยกเลิกการบังคับให้ระบุข้อความเป็นการเฉพาะในกรณีที่ผลิตภัณฑ์มีปริมาณสารซัลไฟต์เป็น ส่วนประกอบในปริมาณ 10 มล./กก หรือมากกว่า
6. ให้ระบุส่วนประกอบของสารช่วยตกตะกอน (Fining agents) ที่ได้จากไข่ ปลา หรือ นม ที่ใช้ใน การผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ในกรณีที่ส่วนประกอบนั้นยังคงมีอยู่ในผลิตภัณฑ์
7. ให้ระบุสารก่อภูมิแพ้ที่ใช้ในสารเคลือบเงาหรือส่วนประกอบของสารดังกล่าวสำหรับผักผลไม้บรรจุเสร็จ (Prepackaged fruits and vegetables)
8. กำหนดระยะเวลาปรับตัวสำหรับผู้ประกอบการเป็นเวลา 18 เดือน นับจากวันที่ระเบียบมีผลบังคับใช้
9. ปรับปรุงระเบียบว่าด้วยเรื่องอาหารและยา (Food and Drug Regulation: FDR) มาตราที่ B.24.018 เกี่ยวกับคำนิยามของกลูเต็น โดยให้หมายถึงกลูเต็นโปรตีนทุกชนิด รวมถึงเศษย่อยของกลูเต็นโปรตีนตามมาตราย่อยที่ B.01.010.1 (0) เพื่อให้สอดคล้องกับคำจำกัดความทาวิทยาศาสตร์ที่เป็นที่ยอมรับในระดับสากล
นายสุรศักดิ์ฯ กล่าวเพิ่มเติมว่า โดยทั่วไปสินค้าอาหารต้องมีการติดฉลากระบุสารก่อภูมิแพ้ ซึ่งประเทศพัฒนาแล้วจะมีความเข้มงวดมากเป็นพิเศษ ผู้ประกอบการไทยจึงควรติดฉลากระบุสารก่อภูมิแพ้ที่ใช้ในอาหารอย่างชัดเจน เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นกับผู้บริโภคและอาจทำให้สินค้าไทยเสียความน่าเชื่อถือได้
ในปี 2553 ไทยส่งออกสินค้าอาหารแปรรูปไปแคนาดา มูลค่า 9,400 ล้านบาท ลดลงจากปี 2552 ร้อยละ 2 คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 21 ของการส่งออกสินค้าทั้งหมดไปแคนาดา และในปี 2554 (ม.ค.-ก.ค.) ไทยส่งออกสินค้าอาหารแปรรูปไปแคนาดา มูลค่าประมาณ 6,200 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 21 จากช่วงเดือนเดียวกันของปี 2553 ซึ่งส่งออกมูลค่าประมาณ 5,200 ล้านบาท