รมช.สธ.มอบกรมวิทย์ฯ พัฒนาห้องแล็ปด้านการแพทย์และสาธารณสุข เพื่อหลักประกันสุขภาพที่ดีของประชาชน

จันทร์ ๑๙ กันยายน ๒๐๑๑ ๑๔:๔๕
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ตรวจเยี่ยมกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้มอบนโยบายมุ่งเน้นการพัฒนาห้องปฏิบัติการด้านการแพทย์และสาธารณสุข ในการเฝ้าระวังและป้องกันในเรื่องของโรคระบาด อาหารปนเปื้อน รวมทั้งการแพร่ระบาดของสารเสพติดชนิดใหม่ เพื่อเป็นหลักประกันสุขภาพที่ดีของประชาชน

นายต่อพงษ์ ไชยสาส์น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวภายหลังการตรวจเยี่ยมและฟังสรุปผลการดำเนินงานของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ว่า กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข เป็นหน่วยงานที่ดูแลในเรื่องของการวิจัย และพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ การตรวจวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์สุขภาพ เพื่อคุ้มครองผู้บริโภคและประเมินความเสี่ยง พัฒนาและรับรองคุณภาพมาตรฐานห้องปฏิบัติการของภาครัฐและเอกชนด้านการแพทย์และสาธารณสุข โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีศักยภาพในการพัฒนานวัตกรรมด้านการแพทย์และสาธารณสุขอย่างต่อเนื่อง แต่ปัจจุบันปัญหาด้านสาธารณสุขยังคงมีการเปลี่ยนแปลงและทวีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะการเกิดโรคอุบัติใหม่ และโรคอุบัติซ้ำ เช่น โรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ โรคไข้หวัดนก ฯลฯ การแพร่ระบาดของสารเสพติดชนิดใหม่ ๆ ดังนั้นเพื่อให้การแก้ไขปัญหาด้านสาธารณสุขก้าวทันต่อสถานการณ์ จึงได้ให้แนวทางกับกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ในการเร่งพัฒนาห้องปฏิบัติการด้านการแพทย์และสาธารณสุข ได้แก่ ห้องปฏิบัติการด้านการตรวจชันสูตรโรค ห้องปฏิบัติการด้านอาหาร และห้องปฏิบัติการด้านการตรวจพิสูจน์สารเสพติด เพื่อสามารถแก้ไขปัญหาสาธารณสุขของประเทศและเป็นหลักประกันสุขภาพที่ดีของประชาชน

รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวเพิ่มเติมว่า ที่ผ่านมากรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้ดูแลห้องปฏิบัติการด้านชันสูตรโรคของโรงพยาบาลต่าง ๆ ให้มีการดำเนินการเป็นไปตามมาตรฐานสากล รวมทั้งส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพห้องปฏิบัติการโรงพยาบาล เป็นการประกันคุณภาพห้องปฏิบัติการด้านการแพทย์และชันสูตรโรค เป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชนในการให้บริการทางการแพทย์อย่างเท่าเทียม ไม่ว่าจะเป็นระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า หรือระบบประกันสังคม รวมทั้งการส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยการเฝ้าระวังและตรวจวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์สุขภาพในแหล่งท่องเที่ยว เพื่อเป็นการคุ้มครองนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างประเทศให้เกิดความมั่นใจในการบริโภค

นอกจากนี้ห้องปฏิบัติการด้านอาหารยังได้รับการยอมรับจากต่างประเทศ เช่น ห้องปฏิบัติการอ้างอิงด้านโลหะหนักระดับอาเซียน ได้รับการคัดเลือกจากสมาชิกในกลุ่มประเทศอาเซียนให้เป็น ASEAN Reference Laboratory (ARL) ในด้าน Heavy Metal and Trace Elements เพื่อให้เป็นศูนย์ประสานงานด้านวิชาการทั้งในระดับประเทศ ภูมิภาคและสหภาพยุโรป และห้องปฏิบัติการตรวจวิเคราะห์อาหารตัดแต่งพันธุกรรม ได้รับการมอบหมายให้เป็นตัวแทนประเทศไทยในการตรวจวัดปริมาณดีเอ็นเอในอาหาร จากสถาบันมาตรวิทยา เป็นต้น สำหรับห้องปฏิบัติการด้านยา เพื่อเป็นการประกันคุณภาพและมาตรฐานบริการด้านยา โดยการคัดเลือกและเฝ้าระวังคุณภาพผลิตภัณฑ์ยาแผนปัจจุบันและยาสมุนไพร ซึ่งส่งผลให้โรงพยาบาล สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการพิจารณาจัดซื้อยา และประชาชนได้ใช้ยาที่มีคุณภาพและปลอดภัยต่อสุขภาพ นอกจากนั้นกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ยังเป็นห้องปฏิบัติการอ้างอิงในการตรวจพิสูจน์สารเสพติด ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการควบคุมการระบาดของสารเสพติด

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ