โครงการลด เหลื่อม ล้ำ ลงพื้นที่ชุมชน 96 แห่ง ใน กทม. สำรวจความต้องการ แก้ไขความเหลื่อมล้ำทางสังคม

พุธ ๒๑ กันยายน ๒๐๑๑ ๐๙:๕๓
ตามที่ กรุงเทพมหานคร ร่วมกับ นิด้าได้จัดทำ โครงการวิจัยเพื่อพัฒนาและแก้ไขความเหลื่อมล้ำทางสังคมในเขตกรุงเทพมหานคร หรือ โครงการลด เหลื่อม ล้ำ เพื่อทำให้กรุงเทพเป็นเมืองที่น่าอยู่ โดยได้รับความร่วมมือจากมหาวิทยาลัย 25 แห่ง สมาคมพัฒนาประชากรและชุมชน และสมาคมวิจัยการตลาดแห่งประเทศไทย ร่วมกันศึกษาวิจัย ซึ่งได้มีการแถลงข่าวเปิดตัวโครงการไปเมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมานั้น

ความคืบหน้าล่าสุด ทีมนักวิจัยได้ลงพื้นที่ในชุมชน 96 แห่งทั่วกรุงเทพมหานครแล้ว เพื่อประเมินความคิดเห็นของคนในชุมชนเกี่ยวกับความเหลื่อมล้ำทางสังคม รับทราบความเป็นอยู่ ความพึงพอใจต่อคุณภาพชีวิต รวมทั้งมีการประชุมระดมความคิดเพื่อจัดทำแผนพัฒนาเพื่อการปรองดองในชุมชน ความต้องการของชุมชน การพัฒนาชุมชนในอนาคต และร่วมเสนอกิจกรรมที่ต้องการให้เกิดการพัฒนา ทั้งกิจกรรมที่ชุมชนสามารถทำได้เอง กิจกรรมที่ชุมชนทำร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ หรือหน่วยงานอื่นๆ และกิจกรรมที่ขอรับการสนับสนุนจากภาครัฐ และหน่วยงานอื่นๆ

นางทยา ทีปสุวรรณ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า การสำรวจพื้นที่ทั้ง 96 ชุมชน มีความคืบหน้าเป็นที่น่าพอใจ ซึ่งตามกำหนดการจะแล้วเสร็จภายในเดือนกันยายนนี้ โดยกรุงเทพมหานครจะมีเงินสนับสนุนให้ชุมชนละ 150,000 บาท โดยมอบหมายให้มหาวิทยาลัยในแต่ละเขตเป็นผู้ช่วยดูแลการใช้จ่ายงบประมาณ และ ติดตามผล ทั้งนี้ชุมชนแต่ละแห่งอาจจะทำได้มากกว่า 1 โครงการ โดยเงินจะไปถึงประมาณเดือนตุลาคมนี้ ซึ่งทางกรุงเทพมหานครหวังว่าชุมชนนำร่องเหล่านี้จะเป็นแนวทางให้กับการวางแผนแก้ไขปัญหาความไม่เท่าเทียมกันในชุมชนอื่นๆ ต่อไป เพื่อนำไปสู่ความปรองดองและทำให้กรุงเทพมหานครเป็นเมืองที่น่าอยู่อย่างแท้จริง

ผศ.ดร.ธนวรรธน์ พลวิชัย คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวว่า โครงการนี้นับเป็นอีกบทบาทหนึ่งของมหาวิทยาลัยในการให้บริการชุมชน และการที่โครงการได้เชิญเครือข่ายสถาบันการศึกษาและภาคเอกชน มาร่วมด้วย ก็นับว่าเป็นการบูรณาการร่วมกันของหลายๆ ฝ่าย ทำให้ได้ช่วยกันคิด ช่วยกันทำ เพื่อร่วมกันพัฒนาชุมชนให้น่าอยู่ มีการพัฒนาอย่างยั่งยืน การลงพื้นที่ทำให้เรารับรู้สถานการณ์ของชุมชนในปัจจุบัน และรู้ว่าชุมชนคาดหวังอะไรในอีก 2-3 ปีข้างหน้า อะไรคือเงื่อนไขสำคัญที่ทำให้ชุมชนเป็นไปตามที่คาดหวัง และโครงการอะไรที่ชุมชนอยากพัฒนาเร่งด่วน บางแห่งอาจจะต้องการพัฒนาด้านการศึกษา แต่บางแห่งอาจจะต้องการเทคโนโลยี หรือต้องการอาชีพ

ผศ.เทอดศักดิ์ ศรีสุพล หัวหน้ากลุ่มพื้นที่กรุงเทพกลาง กล่าวว่า การวิจัยของโครงการ ลด เหลื่อม ล้ำ จะทำการสำรวจความเหลื่อมล้ำทางสังคมใน 6 ประเด็น คือ 1) การเข้าถึงระบบการศึกษาและการพัฒนาเยาวชน 2) การพัฒนาด้านกายภาพของชุมชน 3) การแก้ไขปัญหาความยากจน และสร้างความเข้มแข็งแก่ชุมชน 4) การปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรมโดยอำนาจรัฐ 5) การเข้าถึงทรัพยากรของรัฐ 6) การแสดงความคิดเห็น โดยเริ่มจากการวิจัยเชิงคุณภาพก่อน หลังจากนั้นจะทำวิจัยเชิงปริมาณ โดยแบ่งประชากรเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มแรก คือ กลุ่มนำร่อง 96 ชุมชน กลุ่มที่สอง ชุมชนที่จดทะเบียนในกรุงเทพมหานคร ประมาณ 2 ล้านคน กลุ่มสุดท้าย ชุมชนที่ไม่ได้จดทะเบียนกับกรุงเทพมหานคร ประมาณ 3 ล้านคน โดยจะเริ่มเก็บผลสำรวจทัศนคติเกี่ยวกับปัญหาต่างๆของคนในชุมชนทั้ง 3 กลุ่ม ตั้งแต่ปลายเดือนกันยายนถึงต้นเดือนตุลาคม หลังจากเงินสนับสนุนจากกรุงเทพมหานครมาถึงชุมชนแล้ว จะทำการเก็บข้อมูลเชิงปริมาณอีกครั้งเพื่อนำผลสำรวจที่ได้มาสนับสนุนการวิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งนิด้าจะเป็นผู้รวบรวมปัญหาต่างๆนำเสนอกรุงเทพมหานคร เพื่อวางแผนและแก้ไขปัญหาความไม่เท่าเทียมกันในแต่ละชุมชนต่อไป

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ