“ยุทธศาสตร์สร้างเมือง สร้างไทย” Reinvent Thailand ก้าวใหม่ประเทศไทย

พฤหัส ๒๒ กันยายน ๒๐๑๑ ๐๘:๓๖
หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ จัดเสวนาโต๊ะกลมภายใต้หัวข้อ “ยุทธศาสตร์สร้างเมือง สร้างไทย” งานนี้ได้รับเกียรติจาก ดร.ปรเมธี วิมลศิริ รองเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

ดร.ธีระชน มโนมัยพิบูลย์ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เปิดเผยถึงแนวนโยบายเพื่อพลิกฟื้นประเทศไทยแบบยั่งยืน ร่วมด้วยนักวิชาการ ดร.พีรดร แก้วลาย อาจารย์คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ และการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คุณพรรณสิรี อมาตยกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำกัด และ ดร.กุลเดช สินธวณรงค์ กรรมการผู้จัดการ กลุ่มบริษัทจาร์เค็น ร่วมพูดคุยถึงความเป็นไปได้ในการชุบชีวิตการเมืองไทยเมืองหลวงให้กลับมาสดใสอีกครั้ง

ทั้งนี้ ดร.ธีระชน มโนมัยพิบูลย์ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เสนอแนวคิดเรื่องเมืองอัจฉริยะแห่งอนาคตว่า ประเทศไทยโดยเฉพาะหัวเมืองใหญ่ในแต่ละภูมิภาค ต้องให้ความสำคัญในการพัฒนาเมืองให้เป็นเมืองที่น่าอยู่ เหมาะสำหรับการลงทุนทางธุรกิจ เพราะจากการสำรวจสถิติการเคลื่อนย้ายประชากรโลกพบว่าในปี 2550 ถือเป็นปีแรกที่ประชากรโลกกว่าครึ่งได้เข้ามาอยู่อาศัยในเมือง และในปี 2573 จะมีจำนวนเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 60 เมื่อเมืองในฐานะระบบหนึ่งของระบบโดยรวม มีผลทำให้ประเทศใดที่ก่อตัวเป็น ‘เมืองอัจฉริยะแห่งอนาคต’ เกิดความได้เปรียบทางเศรษฐกิจมากขึ้น ซึ่งสามารถผ่องถ่าย และเติมเต็มความชาญฉลาดเข้าไปในระบบหลักต่างๆได้ อาทิ การคมนาคมขนส่ง พลังงาน และสาธารณูปโภค การโทรคมนาคม การบริการภาครัฐ ความปลอดภัยสาธารณะ ระบบการศึกษา และสาธารณสุข ทั้งนี้ การวางแผนเชิงกลยุทธ์ให้กำเนิดเป็นเมืองอัจฉริยะได้นั้น ต้องเริ่มจากเป้าหมาย และยุทธศาสตร์ในระยะยาว โดยเลือกสรรพัฒนาโครงการมูลค่าสูงที่สามารถจัดการได้อย่างรอบคอบ เพื่อให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม โดยมีวิธีการ 1)พัฒนายุทธศาสตร์ในระยะยาวสำหรับเมืองของคุณ 2)ลำดับความสำคัญของโครงการมูลค่าสูง 3)การบริหารแบบองค์รวม หรือบูรณาการทั่วทั้งระบบ 4)ใช้บริการ และการดำเนินการอย่างเหมาะสม 5)ค้นหาโอกาสใหม่ที่จะเติบโต และมีความเหมาะสมที่สุด

ทั้งนี้ อาจศึกษาจากตัวอย่างแนวคิดเมืองใหม่ของต่างประเทศ และนำมาปรับใช้ให้เหมาะกับเมือง หรือชุมชนที่ต้องการพัฒนา อาทิ ประเทศสิงคโปร์ถือเป็นเมืองน่าอยู่ มีความรวดเร็วในการตัดสินใจดำเนินการพัฒนา และขึ้นชื่อว่ามีศักยภาพในการพัฒนาเศรษฐกิจมาก ด้วยการจัดการผังเมืองที่ดี ระบบคมนาคมขนส่ง คุณภาพการศึกษา พื้นที่กรีนสาธารณะ (Green Area) การรักษาความปลอดภัยในชีวิต และทรัพย์สินของประชาชน การอำนวยความสะดวกในการลงทุนของธุรกิจรายย่อย และอีกหลายประเทศที่สามารถเป็นตัวอย่างการสร้างเมืองที่ประสบความสำเร็จ ซึ่งผู้นำประเทศของเราควรศึกษาถึงกระบวนการคิด และแนวทางในการพัฒนาเมืองอย่างเป็นรูปธรรม นำมาพัฒนาต่อยอด เพื่อรังสรรค์ให้เกิด “Smart City” ขึ้นในประเทศไทย โดยการวางผังเมืองที่ครอบคลุมทุกมิติทั้ง เศรษฐกิจ สาธารณูปโภค โดยเฉพาะเรื่องของสิ่งแวดล้อม เพื่อรองรับการเติบโตเกิดเป็นเมืองที่สมดุล และน่าอยู่ ซึ่งปัจจุบันกรุงเทพมหานครได้มีระบบเทคโนโลยีการสื่อสารที่มีคุณภาพ อาทิ เปิดสายร้องเรียน 1555 เพื่อช่วยกันสอดส่องความเรียบร้อยในสังคม โดยเฉพาะกล้องวงจรปิดตามถนนจุดสำคัญๆ ซึ่งเครื่องมือดังกล่าวสามารถตอบสนองต่อวัตถุประสงค์ได้ในหลายมิตินอกเหนือจากในเรื่องการจราจร

ทางด้าน ดร. พีรดร แก้วลาย อาจารย์คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ และการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ให้ความเห็นเกี่ยวกับการวางโพสิชั่นนิ่ง (positioning) ให้กับเมืองว่า ปัจจุบันกรุงเทพฯ มีการเติบโตขึ้น มีภูมิทัศน์ที่ดีขึ้นกว่าก่อนมาก ซึ่งจากการทำงานวิจัยพบว่าองค์ประกอบ 2 ส่วนที่ต้องให้ความสำคัญในการพัฒนาคือ เมือง และทรัพยากรคน หากดูตัวอย่างของกรุงโซลจะเห็นว่าเขาให้ความสำคัญกับคุณภาพชีวิต และคนมาก มีการปรับเปลี่ยนการใช้พื้นที่ทางเศรษฐกิจ อาทิ การปรับที่ว่าราชการ พื้นที่อยู่อาศัย มาเป็นพื้นที่สาธารณะ เพื่อให้เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจได้มหาศาล ดังนั้น หากประเทศไทยกำหนดโพสิชั่นนิ่งของเมืองได้ ความเติบโตทางเศรษฐกิจก็จะเกิดขึ้น ซึ่งปัจจุบันได้มีการปรับพัฒนาพื้นที่หลายแห่ง อาทิ สยามสแควร์ อาร์ซีเอ หรือบริเวณทาวน์อินทาวน์ เป็นพื้นที่สร้างมูลค่าทางธุรกิจ ปรับมาเป็นพื้นที่อุตสาหกรรมแฟชั่น โดยเฉพาะจ.เชียงใหม่ ถือเป็นเมืองที่มีองค์ประกอบหลายส่วนที่เข้มแข็ง ไม่ว่าจะเป็นความโดดเด่นด้านบุคลากร และเศรษฐกิจหมุนเวียน ซึ่งในอนาคตสามารถเป็นเมืองต้นแบบในการเป็นเมืองขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจอย่างสร้างสรรค์ได้ เพราะฉะนั้นการวางโพสิชั่นนิ่งให้กับเมืองมีความจำเป็นมาก แต่ต้องให้ความสำคัญกับกระบวนการทำให้เกิดการขับเคลื่อนขึ้น เมืองจะพัฒนาและน่าอยู่ ต้องมีการกำหนดยุทธศาสตร์ร่วมกันจากคนกลุ่มใหญ่ทั้งภาครัฐ เอกชน การศึกษา ชุมชนท้องถิ่น เพื่อให้ทุกคนมีส่วนร่วมคิด และรักษาการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ ซึ่งต้องอาศัยระยะเวลา และความร่วมมือของหลายภาคส่วน ทั้งนี้ ปัจจุบันบทบาทของท้องถิ่นมีมากขึ้น เห็นได้จากมีคนรุ่นใหม่ที่มีโอกาสได้เห็นอะไรใหม่ๆเข้ามามีบทบาทในการบริหารท้องถิ่นมากขึ้น แต่ยังขาดองค์ความรู้ กระบวนการในการพัฒนาชุมชนที่ถูกต้อง ดังนั้น รัฐบาลต้องเข้าไปให้ความรู้ความเข้าใจในหลักการ เพิ่มศักยภาพของผู้ประกอบการในท้องถิ่น ฟื้นฟูคุณภาพเมืองสาธารณูปโภคที่ดี เพื่อรองรับการพัฒนาทางเศรษฐกิจต่อไป

สำหรับ คุณพรรณสิรี อมาตยกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำกัด มองการเปลี่ยนเมืองในอนาคตว่า เราควรให้ความสำคัญกับการสร้างแบรนด์ (Branding) ให้กับเมือง และชุมชน หาให้เจอว่าแต่ละเมืองมีศักยภาพอะไรที่ต้องการนำเสนอในแง่ของการเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ และหน่วยงานไอทีจะเข้าไปเสริมทัพในการช่วยพัฒนาระบบ เช่น ชุมชนเกษตร ทางไอทีเข้าไปช่วยบูรณาการแผนงานต่อยอดเป็น Smart Food Hub หาว่าอะไรที่จะเป็นผลผลิตที่ดีทางเศรษฐกิจได้ต่อไป ดังนั้น หากจะเริ่มพัฒนาเมืองให้เป็นเมืองที่น่าอยู่นั้น ต้องเริ่มศึกษาจากตัวอย่างของหลายๆ ประเทศที่ประสบความสำเร็จในการพัฒนาเมือง ให้ความสำคัญในเรื่องของความปลอดภัย สร้างเมืองที่มีโอกาสในการทำธุรกิจ ซึ่งรัฐบาลต้องกล้าเปลี่ยนวิธีคิด กล้าที่จะคิดใหม่ ทุกฝ่ายต้องมีเป้าหมายร่วมกันทั้งกทม. และหน่วยงานอื่นๆต้องช่วยกันขับเคลื่อนนำไปสู่ความเจริญ โดยรัฐบาลต้องหาจุดดึงดูดร่วมกัน เปลี่ยนตามตัวอย่างความสำเร็จของประเทศอื่น โอกาสทางเศรษฐกิจก็จะมีมหาศาล อาทิ โตเกียว กรุงโซล หรือปักกิ่ง ถือเป็นตัวอย่างประเทศที่รัฐบาลกลางกล้าที่จะคิดไกลในการผลักดันให้มีการจัดกีฬาระดับโลกขึ้น ซึ่งหากประเทศไทยสามารถผลักดันนโยบายการพัฒนาอย่างเป็นรูปธรรม หรือมีกิจกรรมอะไรที่ช่วยเสริมศักยภาพได้ ก็จะเป็นผลดีในภาพรวมของเศรษฐกิจไทยต่อไป

กรุงเทพธุรกิจร่วมสนับสนุน “ยุทธศาสตร์สร้างเมือง สร้างไทย”

‘กรุงเทพมหานคร’ กับการขนานนาม ‘Smart City’ สามารถเกิดขึ้นได้

ด้วยการร่วมมือกันพลิกฟื้นแนวความคิดแบบใหม่ สรรค์สร้าง และผลักดัน

เพื่อต่อยอดมนต์เสน่ห์แห่งวัฒนธรรมไทยให้เกิดเป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจอย่างมหาศาล

ออกข่าวในนามส่วนงานประชาสัมพันธ์ ฝ่ายสื่อสารองค์กร

บริษัท กรุงเทพธุรกิจ มีเดีย จำกัด

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๐ ธ.ค. ASMT ผนึก TFT ร่วมลงนามด้านวิชาการด้านอุตสาหกรรมการบิน
๒๐ ธ.ค. กรมวิชาการเกษตร เดินหน้า ถ่ายทอดองค์ความรู้การผลิตอะโวคาโดคุณภาพ สร้างรายได้เพิ่มให้เกษตรกรกว่า 2 แสนบาท/ไร่
๒๐ ธ.ค. Dow มุ่งพัฒนาประสิทธิภาพผลิตภัณฑ์ Personal Care ควบคู่ความยั่งยืน ตอบโจทย์ผู้บริโภคตลาดเครื่องสำอางในภูมิภาคเอเชีย
๒๐ ธ.ค. โอซีซี มอบความรู้ พัฒนาอาชีพให้ผู้ต้องขังหญิง
๒๐ ธ.ค. ดร.นุชนารถ ชลคงคา นำทีมสถาบัน ESTC จัดอบรมให้ Karmakamet
๒๐ ธ.ค. กนภ. เห็นชอบร่าง พรบ. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กลไกสำคัญสู่เส้นทางเศรษกิจคาร์บอนต่ำ และมีภูมิคุ้มกันฯ
๒๐ ธ.ค. WePlay x คอลแลบตัวละครสุดปัง! พบกับมินิเกมใหม่ และการ์ตูนสุดน่ารักที่คุณจะต้องหลงรัก
๒๐ ธ.ค. เดลต้า ประเทศไทย และ WEnergy Global ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงเพื่อขับเคลื่อนอนาคตพลังงานสีเขียว
๒๐ ธ.ค. ความภาคภูมิใจของ ไลอ้อน กับ 3 รางวัลแห่งเกียรติยศ เผยผลงานโดดเด่นกับหลายรางวัลที่ได้รับในปี 2567
๒๐ ธ.ค. NOBLE คว้าเรทติ้งสูงสุด ระดับ AAA SET ESG Ratings ประจำปี 2567 ยกระดับองค์กรสู่ความยั่งยืนภายในแนวคิด Live Different ตามกรอบ