ทาวเวอร์ส วัทสัน เปิดตัวหนังสือแนวโน้มใหม่เกี่ยวกับการบริหารจัดการคนเก่ง

จันทร์ ๑๐ ตุลาคม ๒๐๑๑ ๑๕:๐๗
ทาวเวอร์ส วัทสัน (NYSE, NASDAQ:TW) ผู้ให้บริการปรึกษาด้านการบริหารองค์กรระดับโลก เปิดตัวหนังสือ “Transformative HR” ที่รวบรวมกรณีศึกษาสำคัญในด้านการบริหารจัดการบุคลากรภายในองค์กรอย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยกลยุทธ์ที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของหลักฐานและข้อมูลที่ชัดเจนและแม่นยำ หรือที่เรียกว่า การเปลี่ยนแปลงเชิงประจักษ์ (Evidence-based Change) แทนที่จะพึ่งพาเพียงแ? ?่สัญชาติญาณหรือการลอกเลียนแนวทางการปฏิบัติจากบริษัทคู่แข่ง

หนังสือ “Transformative HR: How Great Companies Use Evidence-Based Change for Sustainable Advantage” (Jossey-Bass, September 26, 2011) เป็นผลงานการรวบรวมของสองผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารจัดการพนักงาน อันได้แก่ มร. เรวิน เจซูธาซาน แห่งทาวเวอร์ส วัทสัน และศาสตราจารย์ จอห์น บูโดรว์ จากมหาวิทยาลัยเซาธ์เทิร์น แคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยทั้งสองได้ผนึกกำลังสมองกันเพื่อเปิดเผยถึงเบื้องหลังความสำเร็จของกลยุทธ์การบริหารงานบุคคลรูปแบบใหม่ขององค์กรระดับโลก ที่มีพร้อมทั้งประสิทธิภาพและความคุ้มค่าในการลงทุน ผู้เขียนทั้งสองเชื่อมั่นเป็นอย่างยิ่งว่าการนำเอาหลักสำคัญ 5 ประการของปรัชญาการเปลี่ยนแปลงเชิงประจักษ์มาประยุกต์ใช้ จะช่วยให้การตัดสินใจดำเนินการด้านงานบุคคลเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และนำไปสู่ความได้เปรียบในการแข่งขันอย่างยั่งยืนนั่นเอง

“แนวคิดการนำหลักการเปลี่ยนแปลงเชิงประจักษ์มาปรับใช้ในการบริหารงานบุคคลนั้น ได้รับอิทธิพลมาจากหลักการที่คล้ายกันในทางการแพทย์ ซึ่งเน้นย้ำว่าแพทย์จะต้องเลือกวิธีการรักษาโรคโดยใช้ข้อมูลและหลักฐานที่พบได้ในตัวผู้ป่วยเอง” มร. เจซูธาซานกล่าว “หลักการนี้อาจจะฟังดูเป็นเรื่องธรรมดา แต่ในความเป็นจริงแล้ว ธรรมชาติของมนุษย์เราก็อาจจะนำไปสู่ความผิดพลาดได้ ด้วยการใช้หลักของการเปลี่ยนแปลงเชิงประจักษ์ (evidence-based change) กระบวนการการบริหารทรัพยากรบุคคลจะสามารถเดินหน้าไปได้อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นเหตุเป็นผลยิ่งขึ้น ด้วยหลักฐานและข้อมูลที่หลากหลาย ครบครัน และแม่นยำกว่าการใช้ความรู้สึกมาตัดสินใจเพียงอย่างเดียว”

“Transformative HR” เป็นหนังสือที่ได้เก็บรวบรวมผลสำรวจตลอดจนงานวิจัยของทั้งสองผู้เขียนคือ ศาสตราจารย์บูโดรว์ และ มร.เจซูธาซาน ซึ่งทั้งสองได้ให้นิยามของหลักสำคัญ 5 ประการเกี่ยวกับหลักการเปลี่ยนแปลงเชิงประจักษ์ไว้ดังนี้

1. การวิเคราะห์เชิงตรรกะ (Logic-Driven Analytics)

2. การแบ่งเป็นสัดส่วน (Segmentation)

3. การจัดการความเสี่ยง (Risk Leverage)

4. การบูรณาการและการประสานงาน (Integration and Synergy)

5. การหาจุดที่มีประสิทธิภาพสูงสุด (Optimization)

“Transformative HR” จะกล่าวถึงหลักสำคัญทั้ง 5 ประการโดยละเอียด พร้อมทั้งยังนำเสนอข้อแนะนำและกรณีศึกษาที่น่าสนใจอย่างครบถ้วน เพื่อให้ผู้บริหารสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการเปลี่ยนแปลงภายในองค์กรอย่างยั่งยืน เพื่อนำไปสู่ผลลัพธ์ทางธุรกิจที่น่าพอใจ นอกจากนี้ ยังมีข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับประสบการณ์ตรงของผู้บริหารองค์กรชั้นนำของโลกเป็นจำนวนมากที่มาร่วมเล่าประสบการณ์ ตลอดจนผลกระทบต่างๆ ในการบริหารจัดการ เช่น ธนาคาร Royal Bank of Canada, Coca-Cola, Khazanah National และ ธนาคาร Royal Bank of Scotland

“ปัจจุบัน งานบริหารบุคคลได้ขยายขอบเขตและความสำคัญจนกลายเป็นส่วนสำคัญสำหรับทุกองค์กร ในขณะที่ผู้บริหารงานบุคคลก็เริ่มที่จะคุ้นเคยกับการตัดสินใจโดยใช้สถิติและบทวิเคราะห์เป็นตัวช่วย” ศาสตราจารย์บูโดรว์กล่าว “แต่ทว่าการบริหารงานบุคคลในเจนเนอเรชั่นใหม่นั้น จะต้องก้าวไปไกลกว่าที่เป็นอยู่เดิม โดยอาศัยการวิเคราะห์ด้วยหลักการทางทฤษฎีผนวกกับค วามเข้าใจในลักษณะของบุคลากร เพื่อให้สามารถกลั่นกรองเป็นกลยุทธ์และวิธีปฏิบัติที่ประสบความสำเร็จ ผมมีความเชื่อมั่นว่า ปรัชญาการบริหารด้วยการเปลี่ยนแปลงเชิงประจักษ์ จะทำให้การบริหารงานบุคคลไปสู่จุดสำเร็จสูงสุด”

“เราได้เริ่มนำเอากลยุทธ์แบบใหม่นี้มาใช้งานจริงร่วมกับองค์กรชั้นนำหลายแห่ง โดยที่หลักการสำคัญ 5 ประการที่กล่าวมาข้างต้นนั้น ได้ถูกนำมาประยุกต์ใช้อย่างครบถ้วน เพื่อให้งานบริหารบุคคลมีศักยภาพเพียงพอที่จะสร้างความสำเร็จให้แก่องค์กร ด้วยการตัดสินใจและการลงทุนทางทรัพยากรมนุษย์ที่คุ้มค่าและมองการไกล หลักสำคัญ 5 ประการดังกล่าว จะช่วยให้องค์กรสา มารถเชื่อมโยงการทำงานของผู้บริหารงานบุคคลและผู้บริหารงานด้านอื่นๆ เข้าด้วยกัน จนนำไปสู่การสร้างระบบบริหารงานบุคคลที่มีโครงสร้างชัดเจน ง่ายต่อการประสานงาน และปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ” มร. เจซูธาซานกล่าวสรุป

ทางด้านกรรมการผู้จัดการ บริษัท ทาวเวอร์ส วัทสัน (ประเทศไทย) จำกัด คุณพิชญ์พจี สายเชื้อ กล่าวถึงแนวโน้มการบริหารจัดการคนเก่งว่า “การบริหารบุคลากรต้องเข้าใจการทำงานของธุรกิจอย่างชัดเจน สามารถวิเคราะห์ผลกระทบด้านคนให้กับผู้บริหารทราบได้ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงของธุรกิจ หลักการทั้ง 5 นี้จะช่วยให้องค์กรสามารถวางกลยุทธ์ที่เหมาะสมและสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของธุรกิจและการเปลี่ยนแปลงภายในได้อย่างยั่งยืน”

หนังสือTransformative HR: How Great Companies Use Evidence-Based Change for Sustainable Advantage มีวางจำหน่ายทั่วไปแล้ว ทั้งในรูปเล่มปกแข็งที่ร้านหนังสือชั้นนำ และในรูปอีบุ๊ค

ผู้สนใจสามารถค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับหนังสือเล่มนี้ได้ทีเว็บไซต์ towerswatson.com/research/4957

เกี่ยวกับผู้เขียน

มร.เรวิน เจซูธาร์ซาน ดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการและหัวหน้าส่วนงานกรณีศึกษาระดับโลกในการบริหารจัดการพนักงาน บริษัททาวเวอร์ส วัทสัน เขาสั่งสมประสบการณ์การออกแบบกลยุทธ์องค์กรและวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับบุคลากรเพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายการขับเคลื่อนองค์กรและประโยชน์สูงสุดของผู้ถือหุ้น มร.เรวิน มีผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์มากมายซึ่งเป็นบทความเกี่ย วกับงานวิจัยและผลสำรวจเรื่องการจัดการต้นทุนแรงงาน การบริหารจัดการผลงาน ค่าตอบแทน และการบริหารจัดการคนเก่ง เขาเป็นที่รู้จักในฐานะผู้นำทางความคิดและเป็นหนึ่งใน 25 ที่ปรึกษาผู้ทรงอิทธิพลสูงสุดในโลกโดยการจัดอันดับของนิตยสาร Consulting คุณเรวินมักเป็นวิทยากรรับเชิญไปทั่วโลกและได้รับการอ้างอิงถึงโดยสำนักข่าว CNN, The Wall Street Journal, Businessweek, Newsweek, CNBC และ Fortune

ศาสตราจารย์จอห์น บูโดรว์ เป็นศาสตราจารย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารจัดการและองค์กร ประจำอยู่ที่โรงเรียนบริหารธุรกิจ Marshall School of Business และเป็นผู้อำนวยการวิจัยสำหรับศูนย์องค์กรแห่งประสิทธิภาพ มหาวิทยาลัยเซาธ์เทิร์นแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา เขาได้รับการยกย่องว่าเป็นนักวิจัยผู้เชี่ยวชาญและเป็นผู้กำหนดอนาคตของวิชาชีพบุคคล การประเมินและวัดผลบุคคล และการออกแบบระบบการวิเคราะห์เพื่อการตัดสินใจเกี่ยวกับงานด้านเอชอาร์ การโยกย้ายพนักงาน การจัดการระบบงานบุคคล และการพัฒนาบุคลากรภายในองค์กร ศาสตราจารย์จอห์นเป็นที่ปรึกษาด้านกลยุทธ์สำหรับหลายองค์กรทั้งในระดับเริ่มต้นธุรกิจ หรือแม้แต่องค์กรขนาดใหญ่ระดับโลก หน่วยงานภาครัฐและหน่วยทหาร องค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไร เป็นต้น นอกจากนี้ ยังได้เขียนตำรารว บรวมความรู้เกี่ยวกับ HR อีกจำนวนถึง 60 เล่ม เช่น Beyond HR, the New Science of Human Capital ที่เขียนร่วมกับ มร.ปีเตอร์ เอ็ม แรมสตาด เขายังทำหน้าที่เป็นนักเขียนประจำคอลัมน์ใน Harvard Business Review, The Wall Street Journal, Fortune และ Businessweek เขาได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งกรรมการในอีกหลากหลายหน่วยงาน อาทิ HRPS, WorldatWork, NAHR, SIOP และ AOM ซึ่งเป็นเครือข่ายของ SIOP

เกี่ยวกับทาวเวอร์ส วัทสัน

ทาวเวอร์ส วัทสัน เป็นบริษัทชั้นนำระดับโลกที่ทำธุรกิจให้คำปรึกษาด้านการบริหารองค์กร เพื่อสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรในองค์กร ตลอดจนการบริหารจัดการความเสี่ยงและการลงทุน บริษัทมีที่ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญจำนวน 14,000 คนทั่วโลก เพื่อให้บริการออกแบบโครงสร้างผลตอบแทนและสวัสดิการสำหรับลูกจ้าง การบริหารทรัพยากรบุคคล และโครงสร้างผลตอบแทน ตลอดจนการบริหารจัดการด้านความเสี่ยงและเงินลงทุน สามารถตรวจสอบข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.towerswatson.com

ข้อมูลเพิ่มเติมสำหรับบุคคลทั่วไป ใช้เผยแพร่ในข่าวประชาสัมพันธ์:

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โปรดติดต่อ:

คริษฐา (ปุย) คุ้มพงษ์ / ประภาพิศ (อ้อ) จำปี

ศูนย์บริการข้อมูลข่าวสาร ทาวเวอร์ วัทสัน c/o แฟรนคอม เอเซีย

โทร. 0 2233 4329 แฟกซ์ 0 2236 8030

อีเมล์: [email protected]

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๖:๕๐ รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๑๖:๑๔ ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๑๖:๑๓ Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๑๖:๑๐ ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๑๖:๕๒ โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๑๕:๒๖ กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๑๕:๐๑ สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๑๕:๒๙ 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๑๕:๐๘ โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๑๕:๕๒ electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version