นายสุภาพ คลี่ขจาย ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า “จากเหตุรายงานข่าวแจ้งเป็นระยะๆ ว่ากรุงเทพมหานคร (กทม.) และจังหวัดโดยรอบ อาจจะประสบกับปัญหาน้ำท่วมเนื่องจากมวลน้ำที่ไหลมาจากภาคเหนือ ประกอบกับผลกระทบที่อาจเกิดจากฝนตกหนักเนื่องจากร่องมรสุมจากทะเลจีนใต้ในช่วงประมาณสัปดาห์ที่สองของเดือนตุลาคมเป็นต้นไป และเนื่องจากเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดโดยรอบเป็นแหล่งที่ตั้งของโรงงานอุตสาหกรรมเป็นจำนวนมาก ดังนั้นเพื่อเป็นการเตือนภัยในเชิงป้องกันปัญหาน้ำท่วมโรงงาน กระทรวงอุตสาหกรรม จึงมีนโยบายเชิงรุกในการช่วยเหลือผู้ประกอบการอุตสาหกรรมที่ประสบความเดือดร้อนจากเหตุอุทกภัย รวมถึงผู้ประกอบการที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงจะประสบภัยดังกล่าว จึงได้มอบหมายให้กรมโรงงานอุตสาหกรรมจัดทีมงานเฉพาะกิจ หน่วยเคลื่อนที่เร็ว “อุตสาหกรรมร่วมใจ เตือนภัยน้ำท่วม” ลงพื้นที่ เพื่อบริการให้คำปรึกษาแนะนำ และเตรียมความพร้อมในการป้องกันน้ำท่วมให้กับผู้ประกอบการโรงงาน โดยเฉพาะอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม ยังขาดความรู้ และประสบการณ์ในการดำเนินการป้องกันปัญหา โรงงานที่ตั้งอยู่ริมหรือใกล้แม่น้ำ ซึ่งเป็นพื้นที่เปราะบางที่มีอากาสเกิดน้ำท่วมสูง ดรงงานที่ตั้งอยู่ในเขต 13 พื้นที่เสี่ยง ในกรุงเทพมหานครซึ่งมีแนวโน้มว่าอาจจะเกิดน้ำท่วมได้ รวมไปถึงโรงงานในจังหวัดโดยรอบกรุงเทพฯ อีกด้วย ซึ่งนอกจากจะให้คำแนะนำในเรื่องกาครเตรียมความพร้อมในการรับมือกับน้ำท่วมแล้ว ยังให้คำแนะนำถึงมาตรการเตรียมการก่อน และระหว่างน้ำท่วม รวมถึงการดำเนินการภายหลังน้ำลด อาทิ การจัดเก็บ — ขนย้ายเครื่องจักร วัตถุดิบ ผลิตภัณฑ์ สารเคมี การจัดเก็บกากาของเสียอุตสาหกรรม ระบบไฟฟ้า ฯลฯ
ทั้งนี้ ทีมงานเฉพาะกิจ หน่วยเคลื่อนที่เร็ว “อุตสาหกรรมร่วมใจ เตือนภัยน้ำท่วม” ที่ออกให้บริการแก่ผู้ประกอบการในเบื้องต้นนี้มีไม่ต่ำกว่า 10 ทีม แต่ละทีมจะประกอบด้วยเจ้าหน้าที่ที่มีความรู้ และประสบการณ์ไม่ต่ำกว่า 3 คืน อาทิ ด้านความปลอดภัยโรงงาน (ไฟฟ้า, เครื่องจักรกล, หม้อไอน้ำ ฯลฯ) ด้านการบำรุงรักษาเครื่องจักร ด้านวัตถุดอันตรายและสารเคมี ด้านการจัดการกากของเสียอุตสาหกรรม และด้านสิ่งแวดล้อมซึ่งนอกจากจะได้ให้คำปรึกษาแนะนำแก่เจ้าของโรงงานผู้บริหาร เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชบพร้อมกับแจก “คู่มือรับภวะน้ำท่วมสำหรับผู้ประกอบกิจการโรงงาน” เพื่อใช้เป็นแนวทางในการจัดเตรียมมาตรการป้องกันให้กับโรงงานของตนเอง ซึ่งภายหลังน้ำลดแล้วทีมงานเฉพาะกิจฯ จะได้บูรณาการความร่วมมือกับสำนักงานอุตสาหกรรมในจังหวัดต่างๆ ที่อยู่ในพื้นที่ประสบปัญหาน้ำท่วม โดยเฉพาะในเรื่องการฟื้นฟูโรงงานที่ได้รับความเสียหายให้กลับเข้าสู่สภาพเดิมโดยเร็วที่สุด
สำหรับมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ประสบภัย ในส่วนของต่างจังหวัดได้มอบหมายให้อุตสาหกรรมจังหวัดสำรวจข้อมูล ซึ่งหลังจากน้ำลดกระทรวงอุตสาหกรรมจะต้องเป็นหน่วยงานแรกที่เข้าถึงโรงงานที่เสียหาย นอกจากนี้ยังจะได้จัดตั้งคลินิกอุตสาหกรรมช่วยเหลือซ่อมเครื่องจักร ไฟฟ้า อาคาร และฟื้นฟูความเสียหายต่างๆ โดยทางสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ได้มีมาตรการยกเว้นภาษีนำเข้าเครื่องจักร ที่ต้องนำมาเปลี่ยนใหม่ด้วย สำหรับมาตรการช่วยเหลือทางการเงิน ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อยแห่งประเทศไทย เตรียมจะให้เงินกู้ดอกเบี้ยต่ำและกระทรวงจะยกเว้นค่ะรรมเนียมรายปี 5 ปี และค่าธรรมเนียมการต่อายุใบอนุญาต 1 รอบปี ให้แก่โรงงานที่ถูกน้ำท่วม ขณะเดียวกันได้ขอความร่วมมือให้โรงงานต่างๆ ดูแลลูกจ้างระหว่างหยุดประกอบกิจการอย่างเต็มที่” นายสุภาพฯ กล่าว