สุทธิรัตน์ อยู่วิทยา กรรมการบริหาร บริษัท เครื่องดื่มกระทิงแดง จำกัด กล่าวว่า “กระดานดำกับกระทิงแดง เป็นโครงการที่เราให้ความสำคัญเท่าเทียมกับทุกภารกิจอื่นทั้งหมดของกระทิงแดง เราเชื่อว่าการมอบทุนและให้โอกาสกับนิสิตนักศึกษาได้ออกไปทำสิ่งดีๆ นั้น ส่งผลยิ่งใหญ่ไม่ใช่แค่กับความภาคภูมิใจของนิสิตนักศึกษาเอง แต่กับโอกาสที่จะเข้าถึงความรู้ของเด็ กๆ ในแต่พื้นที่ทั่วประเทศในเวลาเดียวกันด้วย ถือเป็นการสร้างคน และสร้างสังคมไปพร้อมๆ กัน นี่คือเหตุผลที่ทำให้เรายึดมั่นอย่างจริงจังกับโครงการนี้มาเป็นปีที่ 10 โดยไม่เคยละทิ้งโครงการนี้เลย ก้าวย่างสำคัญในปีที่ 10 นี้ เราเชื่อมั่นว่า พี่ๆ เด็กค่ายกระดานดำฯ ตั้งแต่รุ่นแรกจนถึงรุ่นปัจจุบันนั้น จะก่อร่างเป็นเครือข่ายเด็กค่ายที่แข็งแกร่ง และพวกเขาจ ะเป็นอีกหนึ่งแรงผลักที่สำคัญของการศึกษาไทยให้เติบโตและก้าวเดินไปในวันข้างหน้าอย่างมั่นคงและยั่งยืนค่ะ”
ในปี 2554 นี้ โครงการ “กระดานดำกับกระทิงแดง” ยังคงตั้งมั่นในแนวคิด ที่จะกระจายโอกาสทางการศึกษาให้ทั่วถึงยังถิ่นทุรกันดารในทุกภาคของประเทศ โดยคัดเลือก 10 โครงการค่ายอาสาพัฒนาชุมชนจากหลากหลายสถาบันที่มีเอกลักษณ์น่าสนใจ และเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาการศึกษาและสังคม พร้อมมอบทุนให้ โครงการละ 100,000 บาท เพื่อนำไปใช้ในการทำค่ายสร้าง ไม่ว่าจะเป็น โครงการ “ค่? ?ยอาสาสร้างอาคารเรียนสานใจโดม 11” จ.แม่ฮ่องสอน ของชุมนุมค่ายอาสาพัฒนาชาวไทยภูเขา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, โครงการ “ค่ายมุสลิมอาสาพัฒนาชนบทและสานความรู้สู่น้อง ครั้งที่ 12” จ.พังงาของชมรมมุสลิม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล
ธัญบุรี, โครงการ “วิศวฯ บริการสังคม” จ.ราชบุรี ของชมรมวิศวกรรมโยธา มหาวิทยาลัยศรีปทุม, โครงการ “รามฯ รักษ์ป่า ร่วมใจอาสา สร้างห้องสมุดเพื่อน้อง” จ.ลำปาง ของกลุ่มรามฯ รักษ์ป่า มหาวิทยาลัยรามคำแหง วิทยาเขตบางนา, โครงการ “ค่ายพี่วิศวกรรม มทร.กรุงเทพ พัฒนาโรงเรียนน้อง ครั้งที่ 3” จ.พัทลุง ของชมรมวิศวกรรมอาสาพัฒนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ, โครงกา? ?? “ค่ายพืชสวนสู่ชนบทครั้งที่ 26” จ.ตาก ของชมรมพืชสวนประดับ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง, โครงการ “ค่ายอาสาพัฒนาครั้งที่ 46” จ.ร้อยเอ็ด ของชมรมค่ายอาสาพัฒนา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, โครงการ “ค่ายอาสาพัฒนาชนบท ประจำปี 2554” จ.เชียงราย ของชมรมชาวเหนือ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, โครงการ “วิศวะอาสาพัฒนาชนบท ครั้งที่ 11” จ.กาญ? ?นบุรี ของชมรมวิศวะอาสาพัฒนาชนบท มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ ท้ายสุด โครงการ “กระดานดำ” จ.เชียงใหม่ ของศูนย์อาสาสมัครมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง ก่อนเริ่มเดินทางออกค่ายทั่วประเทศในเดือนตุลาคมนี้
ภายในงาน เด็กค่ายผู้ได้รับการคัดเลือกทั้ง 10 สถาบัน ยังได้นำเสนอโครงการในรูปแบบใหม่ ซึ่งล้วนให้ข้อมูลเชิงลึกในเรื่องการทำงานค่ายอาสาเพื่อพัฒนาสังคม โดยมีรุ่นพี่ “เด็กค่ายกระดานดำฯ” รวมทั้งเพื่อนๆ นิสิตนักศึกษาจากสถาบันทั่วประเทศ มาร่วมรับรู้และแลกเปลี่ยนร่วมกันในบรรยากาศเป็นกันเอง
โครงการสร้างสรรค์ มีประโยชน์ต่อสังคมอย่างนี้ ต้องขอปรบมือชื่นชม “กระทิงแดง” เจ้าความคิดดังๆ ค่ะ
นานาทัศนะจากน้องๆ นิสัตนักศึกษาที่ได้รับทุนสนับสนุน
จากโครงการ “กระดานดำกับกระทิงแดง ปีที่ 10”
นายณัฐพล ธิใจ ตัวแทนจากชมรมวิศวะอาสาพัฒนาชนบท มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ เที่นำเสนอโครงการ “วิศวะอาสาพัฒนาชนบท ครั้งที่ 11” ที่จ.กาญจนบุรี กล่าวว่า “ก่อนหน้านี้พวกผมได้ไปสำรวจตามโรงเรียนต่างๆ และเมื่อไปที่ จ.กาญจนบุรี ก็คิดว่าจะไม่ไกลจากมหาวิทยาลัยมาก แต่โรงเรียนของน้องกลับห่างไกลความเจริญหรือเรียกได้ว่ากันดารเลยทีเดียว ? ?นโรงเรียนมีเพียงอาคารเรียนไม้เก่าๆ ซึ่งไม่เพียงพอต่อการใช้งาน ไม่มีแม้แต่ห้องน้ำ เด็กๆ ต้องไปใช้ห้องน้ำของวัด พวกผมจึงอยากช่วยเหลือน้องๆ และโครงการกระดานดำกับกระทิงแดงก็ทำให้ผมได้ทำงานเพื่อตอบแทนให้สังคมได้ช่วยเหลือน้องๆ ให้มีสถานที่เรียนที่เหมาะสมและเพียงพอ และที่สำคัญพวกผมได้ใช้วิชาความรู้ ถึงแม้ว่าพวกผมจะเป็นเพียงกลุ่มเล็กๆของสังค ม แต่ก็ดีใจและภูมิใจที่ได้ทำประโยชน์ให้กับสังคม”
นายอัคมัล เจะมะ ตัวแทนจากชมรมมุสลิม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ที่นำเสนอโครงการ “ค่ายมุสลิมอาสาพัฒนาชนบทและสานความรู้สู่น้อง ครั้งที่ 12” ที่ จ.พังงา กล่าวว่า “เนื่องจากพวกผมเห็นว่าอาคารหลังเก่าของมัสยิดซอลาฮุดดีนทรุดโทรมมาก เวลาฝนตกชาวบ้านจะลำบากมาก ถ้ามีอาคารเรียนประกอบพิธีกรรมทางศาสนา น่าจะช่วยให้ชาวบ้านได้ใช้ประโยชน์ ไม่ว่าจะใช้เป็นสถ? ?นที่สอนหนังสือให้เด็ก ใช้เป็นหอการประชุมของหมู่บ้าน พิธีแต่งงาน หรือสถานที่ประกอบพิธีกรรมต่างๆ สิ่งที่พวกผมได้รับจากการทำงานครั้งนี้ คือพวกผมได้แลกเปลี่ยนความรู้กับชาวบ้าน เช่น วิธีในการสร้างอาคาร โดยชาวบ้านจะให้คำแนะนำ รวมถึงช่วยลงมือสร้างอาคารด้วย ได้เรียนรู้วิถีชีวิต การทำงาน การประกอบอาชีพของคนในชุมชนทางภาคใต้ เพราะในชมรมของพวกผมไ? ?่ได้มีเพียงแต่นักศึกษาที่อยู่ทางภาคใต้ จะมีภาคอื่นๆ รวมอยู่ด้วย และที่สำคัญพวกผมจะได้ประสบการณ์จากการทำงานจริง”
นายอชิรพัฒน์ ใจขำ ตัวแทนจากชมรมค่ายอาสาพัฒนา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่นำเสนอโครงการ “ค่ายอาสาพัฒนาครั้งที่ 46” ที่ จ.ร้อยเอ็ด กล่าวว่า “ชมรมของเราต้องการพัฒนาพื้นที่ในภาคเหนือหรือภาคอีสาน โดยโรงเรียนที่เลือกเข้าไปช่วยเหลือนั้น มีอาคารเรียนเพียง 1 หลัง ไม่เพียงพอต่อจำนวนนักเรียน และยังเป็นโรงเรียนที่ภาครัฐบาลไม่เข้ามาช่วยเหลือ และจากการเข้าร ่วมโครงการ “กระดานดำกับกระทิงแดง” ครั้งนี้ ผมและเพื่อนๆ จะได้ช่วยเหลือน้องๆ ให้มีสถานที่เรียนอย่างเพียงพอ นอกจากนี้ ยังได้ประสบการณ์ในการทำงานจริง ซึ่งไม่สามารถหาได้จากในห้องเรียน และที่สำคัญได้พัฒนาชุมชนให้ดีขึ้น ได้ทำงานเพื่อช่วยเหลือสังคม”
ท้ายสุด นายจักรพงษ์ ฝายทองคำ ตัวแทนจากชุมนุมค่ายอาสาพัฒนาชาวไทยภูเขา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่นำเสนอโครงการ “ค่ายอาสาสร้างอาคารเรียนสานใจโดม 11” ที่ จ.แม่ฮ่องสอน กล่าวว่า “สาเหตุที่พวกผมเลือกศูนย์การเรียนรู้ชุมชนชาวไทยภูเขา “แม่ฟ้าหลวง” เนื่องจากเป็นสถานที่ห่างไกลจากความเจริญมาก หรือเรียกได้ว่ากันดารมาก เด็กๆ ไม่มีแม้กระทั่งโรงเรียน ไม่มีห้อ งเรียน เวลาจะเรียนต้องไปอาศัยตามบ้านของชาวบ้าน สลับกันไป คุณครูเองก็ไม่มีที่พัก พวกผมจึงลงความเห็นกันว่าที่นี่เหมาะสมที่สุดที่เราจะทำการสร้างอาคารเรียนให้พวกน้องๆ ผมเชื่อว่าโครงการ “กระดานดำกับกระทิงแดง” จะสามารถช่วยลดความแตกต่างระหว่างชนบทที่ห่างไกลกับชุมชนเมือง เด็กๆ จะได้มีการศึกษา มีสถานที่ในการเรียนรู้สิ่งต่างๆ อีกทั้งยังช่วยให้ช าวบ้านได้มีศูนย์ฝึกอาชีพ และที่สำคัญพวกผมได้ประสบการณ์ในการทำงานจริง ซึ่งอยู่นอกเหนือจากในห้องเรียน”