กระทรวงพลังงานรายงานสถานการณ์ล่าสุดและสรุปยอดความช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย

จันทร์ ๑๗ ตุลาคม ๒๐๑๑ ๑๐:๓๙
นายพชร นริพทะพันธุ์ โฆษกกระทรวงพลังงาน รายงานสรุปความช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย ว่ากระทรวงพลังงานได้รับการสนับสนุนสิ่งของจำเป็นจากหน่วยงานในสังกัดและหน่วยงานเอกชนด้านพลังงาน ประกอบด้วย กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) สำหรับนำไปช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย โดยสรุปยอดรวมจนถึงวันที่ 11 ตุลาคม 2554 เวลา 10.10 น. ได้ดังนี้

ถุงยังชีพ จำนวน 41,820 ถุง

เรือท้องแบนและเรือพาย จำนวน 2,000 ลำ

ถังแก๊สหุงต้ม จำนวน 90 ถัง

น้ำดื่ม จำนวน 37,520 ขวด

ข้าวกล่อง จำนวน 12,000 กล่อง

เครื่องกรองน้ำ จำนวน 5,000 เครื่อง

น้ำมันเบนซิน จำนวน 1,000 ลิตร

เงินสด จำนวน 4,000,000 บาท

รวมยอดการช่วยเหลือ ทั้งสิ้น 18,709,000 บาท

ทั้งนี้ กระทรวงพลังงานได้จัดส่งสิ่งของดังกล่าว ไปยังศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (ศปภ.) ของรัฐบาล ณ ท่าอากาศดอนเมือง เพื่อกระจายไปยังจังหวัดต่างๆ

นายพชร กล่าวเพิ่มเติมว่า สถานการณ์ปัจจุบันมีพื้นที่ที่ประสบอุทกภัย จำนวน 58 จังหวัด แบ่งออกเป็น ระดับวิกฤต 10 จังหวัด ระดับเดือดร้อน 19 จังหวัด ระดับได้รับผลกระทบ 20 จังหวัด และ ระดับเตือนภัย 9 จังหวัด โดยมีจังหวัดที่อยู่ในเกณฑ์วิกฤต 10 จังหวัด ที่ต้องปิดสถานีบริการน้ำมันและก๊าซ LPG บางส่วน ได้แก่

สุโขทัย ปิดสถานีบริการน้ำมัน 5 แห่ง จาก 365 แห่ง

นครสรรค์ ปิดสถานีบริการน้ำมัน 2 แห่ง จาก 95 แห่ง ปิดสถานีบริการ LPG 3 แห่ง จาก 22 แห่ง ปิดโรงบรรจุ LPG 2 แห่ง จาก 7 แห่ง

พิจิตร ปิดสถานีบริการน้ำมัน 1 แห่ง จาก 55 แห่ง

ชัยนาท ปิดสถานีบริการน้ำมัน 4 แห่ง จาก 178 แห่ง ปิดโรงบรรจุ LPG 1 แห่ง จาก 3 แห่ง

ตาก ปิดสถานีบริการน้ำมัน 4 แห่ง จาก 148 แห่ง

ลพบุรี ปิดสถานีบริการน้ำมัน 5 แห่ง จาก 206 แห่ง ปิดสถานีบริการ LPG 1 แห่ง จาก 15 แห่ง โรงบรรจุก๊าซ LPG 1 แห่ง จาก 6 แห่ง

สำหรับจังหวัดอยุธยา ปิดสถานีบริการน้ำมัน 10 แห่ง โดยสรุปมีสถานีบริการน้ำมันจำเป็นต้องปิดจำนวน 31 แห่ง และสถานี LPG จำนวน 4 แห่ง และโรงบรรจุก๊าซ LPG จำนวน 4 แห่ง ซึ่งคิดเป็นประมาณ 2% ของสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง สถานีบริการ LPG และโรงบรรจุก๊าซLPG ทั้งหมดในพื้นที่น้ำท่วมระดับวิกฤต และยังได้รับการยืนยันว่าเส้นทางการขนส่งลำเลียงน้ำมันและก๊าซเข้าไปยังพื้นที่เดือดร้อนยังคงสามารถใช้งานได้อยู่

ในส่วนของปริมาณน้ำในเขื่อนต่างๆ ที่อยู่ในความรับผิดชอบของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ได้แก่ เขื่อนภูมิพล มีการระบายน้ำออกน้อยกว่าการรับน้ำเข้า ส่วนเขื่อนสิริกิติ์ขณะนี้คาดว่าฝนที่ตกบริเวณเหนือเขื่อนจะลดปริมาณลง และจะส่งผลดีต่อการระบายน้ำออก ทำให้ลดผลกระทบต่อพื้นที่ด้านท้ายน้ำ ทั้งนี้ทาง กฟผ. ได้มีการหารืออย่างใกล้ชิดกับกรมชลประทานและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการควบคุมระดับน้ำในเขื่อนให้อยู่ระดับที่เหมาะสมและมีผลกระทบโดยรวมน้อยที่สุดโฆษกกระทรวงพลังงานย้ำว่า หากมีความคืบหน้าเพิ่มเติม กระทรวงพลังงานจะรายงานสถานการณ์เป็นระยะต่อไป

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ