กระทรวงพลังงานยันก๊าซ NGV สำหรับรถ ขสมก. และรถตู้โดยสารขนส่งมวลชนเขตกทม.และปริมณฑล มีเพียงพอและใช้ได้ตามปกติ

จันทร์ ๑๗ ตุลาคม ๒๐๑๑ ๑๖:๓๐
วันนี้ (17 ต.ค. 54) นายพชร นริพทะพันธุ์ โฆษกกระทรวงพลังงาน เปิดเผยภายหลังการประชุมศูนย์อำนวยการสนับสนุนการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย กระทรวงพลังงาน ซึ่งมี พล.ต.ท.วิเชียรโชติ สุกโชติรัตน์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงพลังงานเป็นประธาน ว่า จากสถานการณ์น้ำท่วมที่แผ่ขยายเข้าสู่เขตปริมณฑลและกรุงเทพมหานคร ทำให้การเดินทางในเขตพื้นที่ดังกล่าวเริ่มมีปัญหา กระทรวงพลังงานจึงได้ย้ำบริษัท ปตท.จำกัด(มหาชน) ให้ดูแลช่วยเหลือประชาชนที่ยังมีความจำเป็นต้องเดินทางโดยระบบขนส่งมวลชนมิให้ได้รับความเดือดร้อน ทั้งนี้ ได้รับการยืนยันจาก ปตท. ว่า ในส่วนของ รถเมล์ ขสมก.และรถตู้โดยสารประจำทาง ที่ให้บริการในเขตดังกล่าว ซึ่งเกือบทั้งหมดใช้ก๊าซ NGV เป็นเชื้อเพลิงจะไม่ได้รับผลกระทบเนื่องจาก ปตท. ยังมีปริมาณก๊าซ NGV ให้บริการได้อย่างเพียงพอตามปกติ

สำหรับสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง สถานีบริการ NGV และ สถานีบริการ LPG ในเขตจังหวัดน้ำท่วม ที่ก่อนหน้านี้ได้ปิดให้บริการ หลังจากปริมาณน้ำลดลงแล้ว ทางกระทรวงพลังงานจะเร่งตรวจสอบและเร่งรัดให้ผู้ประกอบการเปิดบริการแก่ประชาชนให้เร็วที่สุด ซึ่งขณะนี้ ก็ได้เริ่มมีการทยอยเปิดให้บริการได้แล้ว อาทิ เขตพื้นที่ จ.สุโขทัย จ.นครสวรรค์ และ จ.สมุทรปราการ ฯลฯ

ในส่วนการสนับสนุนเชื้อเพลิงแก่ผู้ประสบภัย ประกอบด้วยน้ำมันและแก๊สนั้น ทางศูนย์ฯ ได้แจ้งว่า การสนับสนุนดังกล่าว จะดำเนินการผ่าน ศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (ศปภ.) เช่นเดิม โดยจะพิจารณาสนับสนุนแก่ หน่วยงานราชการ และองค์กรช่วยเหลือผู้ประสบภัยที่มีการจดทะเบียนถูกต้องเป็นหลักส่วนประชาชนในจังหวัดต่างๆ ให้ประสานงานผ่านผู้ว่าราชการจังหวัด เพื่อที่ประสานงานกับ ศปภ. โดยตรงต่อไป

ด้านการช่วยเหลือฉุกเฉิน กระทรวงพลังงานยังให้บริการช่วยเหลือแก่ประชาชนที่ประสบอุทกภัยตามจุดต่างๆ ทั่วประเทศ ได้แก่

- จ.พระนครศรีอยุธยา ณ ศาลากลางจังหวัด

- จ.อ่างทอง ณ ที่ว่าการอำเภอไชโย

- จ. สระบุรี ณ สถานีบริการน้ำมัน ปตท. เสาไห้

- จ.นครสวรรค์ ณ สนามกีฬากลางประจำจังหวัด

- จ.พิษณุโลก ณ ศาลากลางจังหวัด

- เขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ณ ถนนรังสิต-นครนายก

- สถานีบริการน้ำมันนาคสวัสดิ์ จ.สมุทรปราการ

- สำหรับ ศูนย์ประสานงานฯ อยุธยา กม. 55 ขณะนี้ถูกน้ำท่วมถึงจึงได้ย้ายศูนย์ฯ ดังกล่าวไปยัง มหาวิทยาลัย ศูนย์รังสิต

โดยทุกศูนย์ฯ จะยังมีอาหารกล่อง 15,000 กล่อง/วัน(ยกเว้นกรุงเทพฯ)น้ำดื่ม 20,000 ขวด/วัน ถุงยังชีพ 1,000 ถุง ชุดฉุกเฉิน สำหรับประชาชนผู้เดือดร้อน นอกจากนี้ยังเตรียมเครื่องกรองน้ำ ถังเก็บน้ำขนาดใหญ่ซึ่งจะพยายามเติมน้ำให้เต็มตลอดเวลา สุขาเคลื่อนที่ 10 ห้อง และสุขาขนาดเล็กไว้บริการประชาชน เช่นเดิม

- ศูนย์บริการวิชาการพลังงานแทนและอนุรักษ์พลังงานที่ 1 จ. ปทุมธานี ให้บริการข้าวกล่องวันละ 600 กล่อง

ทั้งนี้ กระทรวงพลังงานได้เปิดบริการสายด่วนเพื่อรับเรื่องราวและประสานความช่วยเหลือ โดยประชาชนสามารถติดต่อมาได้ที่หมายเลข 02-140-7000 ตลอด 24 ชั่วโมง

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ