กทม.ขอบคุณจิตอาสาที่ร่วมแรงบรรจุทราย

อังคาร ๑๘ ตุลาคม ๒๐๑๑ ๑๓:๔๕
ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวภายหลังการเดินทางไปให้กำลังใจเจ้าหน้าที่และอาสาสมัครที่ร่วมกันบรรจุทรายบริเวณหน้าโรงเรียนฤทธิยะวรรณาลัย 2 เขตสายไหม ว่า กทม.ขอขอบคุณทุกภาคส่วนที่มีจิตอาสามาช่วยกันบรรจุทรายใส่ถุงเพื่อนำไปทำเสริมแนวป้องกันน้ำท่วม ระยะทาง 6 กิโลเมตรให้มีความหนาและความสูงเพิ่มเพื่อป้องกันน้ำจากคลองหกวาสายล่างเข้าท่วมพื้นที่เขตสายไหมและบ้านเรือนของประชาชนได้รับความเสียหาย โดยในวันนี้มีประชาชน คณะครูนักเรียน ทหาร และเจ้าหน้าที่จาก 7 สำนักงานเขตของกทม. จำนวน 1,500 — 1,600 คน เดินทางมาร่วมแรงร่วมใจกันบรรจุทรายใส่ถุง และภายในวันนี้รัฐบาลจะจัดส่งถุงใส่ทรายจำนวน 800,000 ใบ รถบรรทุกทราย 25 คัน รวมจำนวน 10,000 คิว และยังมีรถบรรทุกทรายของกทม.ที่จะทยอยส่งมายังสถานที่บรรจุทรายอีก 50 คัน

ทั้งนี้ ในส่วนของแนวคันกั้นน้ำคลองหกวาสายล่าง ความยาว 6 กิโลเมตร ขณะนี้ (13.00 น.) กทม.ได้เสริมความหนาและความสูง เสร็จแล้วประมาณ 2 กิโลเมตร ส่วนที่เหลือกรุงเทพมหานครจะเร่งดำเนินการให้เสร็จภายในวันนี้ โดยจะวางแนวกระสอบทรายเป็น 2 ชั้น และเพิ่มความหนาให้สมดุลกัน พร้อมทั้งจะติดตามสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิด หากระดับน้ำยังมากอยู่จะเพิ่มแนวกระสอบทรายเป็น 3 ชั้นต่อไป

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ