คปภ. และภาคธุรกิจประกันภัย ผนึกกำลังพร้อมช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย

อังคาร ๑๘ ตุลาคม ๒๐๑๑ ๑๗:๒๘
สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) หารือภาคธุรกิจประกันภัย วางมาตรการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยเป็นการเร่งด่วน โดยเฉพาะกลุ่มนิคมอุตสาหกรรมในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาและปทุมธานี มุ่งเน้นช่วยเหลือให้กลับมาดำเนินกิจการโดยเร็วเพื่อลดผลกระทบทางเศรษฐกิจ

นางจันทรา บูรณฤกษ์ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เปิดเผยผลการหารือร่วมกับสมาคมประกันวินาศภัย และสมาคมประกันชีวิตไทย วางมาตรการเร่งด่วนช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในหลายจังหวัด โดยเฉพาะพื้นที่ภาคกลางที่ได้รับผลกระทบอย่างหนัก ซึ่งจากข้อมูลของศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย(ศปภ.) ณ วันที่ 17 ตุลาคม 2554 พบว่ามีผู้เสียชีวิต 307 ราย และสูญหาย 3 คน โดยได้รับแจ้งในเบื้องต้นว่ามีการทำประกันชีวิตและประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล จำนวน 40 ราย รวมค่าสินไหมทดแทน จำนวน 10,791,103 บาท

สำหรับนิคมอุตสาหกรรมในพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยาและปทุมธานีที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์น้ำท่วมและบางแห่งที่อยู่ในภาวะเสี่ยงภัย รวม 7 นิคมอุตสาหกรรม สำนักงาน คปภ.ได้สำรวจข้อมูลการทำประกันภัย ดังนี้

นิคมอุตสาหกรรม จังหวัด การประกันภัยทรัพย์สิน การประกันภัยธุรกิจหยุดชะงัก

จำนวน ผู้เอาประกันภัย (ราย) จำนวนเงิน เอาประกันภัย จำนวน ผู้เอาประกันภัย (ราย) จำนวนเงิน เอาประกันภัย

(ล้านบาท) (ล้านบาท)

1. สหรัตนนคร พระนครศรี อยุธยา 57 15,828 2 200

2. โรจนะ 241 108,014 4 1,135

3. HI-Tech 73 43,173 8 1,439

4. บางปะอิน 156 90,078 7 1,702

5. แฟคตอรี่แลนด์ 58 505 - -

6. นวนคร ปทุมธานี 235 118,867 6 2,259

7. บางกระดี 106 80,318 3 453

รวม 926 456,783 30 7,188

โดยนิคมอุตสาหกรรมที่ถูกน้ำเข้าท่วมแล้ว 6 แห่ง ได้แก่ นิคมอุตสาหกรรมสหรัตนนคร นิคมอุตสาหกรรมโรจนะ นิคมอุตสาหกรรม HI-Tech นิคมอุตสาหกรรมบางปะอิน เขตประกอบอุตสาหกรรมแฟคตอร์รี่แลนด์ และนิคมอุตสาหกรรมนวนคร ขณะนี้อยู่ระหว่างการประเมินความเสียหาย ซึ่งมูลค่าความเสียหายที่แท้จริงจะทราบได้ภายหลังน้ำลด อย่างไรก็ตามจากการประเมินในเบื้องต้นคาดว่าความเสียหายทั้งหมดประมาณ 100,000 ล้านบาท และจากการสำรวจข้อมูลการทำประกันภัยทรัพย์สินของประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนในพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ลพบุรี สระบุรี นครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี ปทุมธานี และนนทบุรี พบว่ามีการทำประกันภัยทรัพย์สินของผู้เอาประกันภัยรายย่อย จำนวน 48,087 ราย รวมเงินเอาประกันภัยจำนวน 56,471,559,117 บาท

ทั้งนี้ มาตรการเร่งด่วนที่บริษัทประกันภัยได้ดำเนินการทันทีในขณะนี้คือการตรวจสอบข้อมูลลูกค้าในพื้นที่ประสบอุทกภัยเพื่อเข้าไปให้ความช่วยเหลือผู้เอาประกันภัยก่อนเกิดความสูญเสีย โดยไม่ต้องรอให้ผู้เอาประกันภัยเป็นผู้แจ้งเหตุ โดยบริษัทประกันภัยร่วมกับผู้ประกอบการได้เข้าไปเคลื่อนย้ายเครื่องจักรบางส่วนที่สามารถถอดชิ้นส่วนได้ออกไปเก็บในที่ปลอดภัย ซึ่งได้ดำเนินการไปแล้วกับนิคมอุตสาหกรรม นวนคร ก่อนที่จะเกิดเหตุการณ์น้ำเข้าท่วม รวมถึงกำลังเร่งดำเนินการในนิคมอุตสาหกรรมบางกระดีที่ยังอยู่ในภาวะเสี่ยงภัย

เลขาธิการ คปภ. กล่าวเพิ่มเติมว่าสำนักงาน คปภ.ตระหนักถึงผลกระทบของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทั้งทางด้านอุตสาหกรรมการผลิตและการจ้างงาน รวมถึงบ้านเรือนที่อยู่อาศัยของประชาชน ซึ่งคาดว่าเหตุการณ์ดังกล่าวจะสร้างความเสียหายต่อเศรษฐกิจในประเทศไประยะหนึ่ง ดังนั้นเพื่อเป็นการลดผลกระทบที่จะเกิดขึ้น และเป็นการช่วยเหลือให้บริษัทประกันภัยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนได้รวดเร็ว สำนักงาน คปภ. จึงมีนโยบายในการผ่อนปรนหลักเกณฑ์ที่อาจเป็นอุปสรรคต่อการประเมินความเสียหาย เช่น การพิจารณาเรื่องคุณสมบัติของผู้ประเมินวินาศภัย (Surveyor) เพื่อให้บริษัทประกันภัยสามารถนำผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศเข้ามาเป็นผู้ประเมินความเสียหายได้ทันที ซึ่งมาตรการดังกล่าวคาดว่าจะช่วยให้บริษัทประกันภัยมีความสะดวกในการประเมินความเสียหายและทำให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เอาประกันภัยได้รวดเร็วมากขึ้น หากมีข้อสงสัยสอบถามสายด่วนประกันภัย 1186

ฝ่ายสื่อสารองค์กร

โทร . 02-513 -1769 02-513-1680

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๓๑ ม.ค. รู้จักโรคอ้วนดีแล้ว.จริงหรือ?
๓๑ ม.ค. บมจ.ไทยเซ็นทรัลเคมี ร่วมกับ MBK ส่งมอบปฏิทินในกิจกรรม ปฏิทินเก่ามีค่า เราขอ
๓๑ ม.ค. BSRC ออกหุ้นกู้รอบใหม่ 8,000 ล้านบาท ยอดจองเกินเป้า ตอกย้ำความเชื่อมั่นของผู้ลงทุน
๓๑ ม.ค. คปภ. ร่วมสัมมนาประกันภัย ครั้งที่ 29 เตรียมรับมือความเสี่ยงอุบัติใหม่ พลิกโฉมธุรกิจประกันภัยสู่ความท้าทายในอนาคต
๓๑ ม.ค. มอบของขวัญให้กับครอบครัวของคุณช่วงวันหยุดพิเศษที่ สเตย์บริดจ์ สวีท แบงค็อก สุขุมวิท
๓๑ ม.ค. OR เปิดตัว CEO คนใหม่ หม่อมหลวงปีกทอง ทองใหญ่ มุ่งผลักดันไทยสู่ Oil Hub แห่งภูมิภาค พร้อมขับเคลื่อนองค์กรด้วยดิจิทัล-นวัตกรรม
๓๑ ม.ค. เดลต้า ประเทศไทย คว้ารางวัล ASEAN's Top Corporate Brand ประจำปี 2567
๓๑ ม.ค. โรงแรมอลอฟท์ กรุงเทพ สุขุมวิท 11 พลิกโฉมใหม่ สุดโมเดิร์น! พร้อมเปิดตัว w xyz bar ตอกย้ำความสนุกในแบบฉบับ
๓๑ ม.ค. PAUL JOE เปิดตัว GLOSSY ROUGE ต้อนรับฤดูใบไม้ผลิ 2025
๓๑ ม.ค. บริษัท โกซอฟท์ (ประเทศไทย) ได้รับเกียรติบัตรศูนย์ รับเรื่องและแก้ไขปัญหาให้กับผู้บริโภคระดับดีเด่น จาก สคบ. และการรับรองมาตรฐาน ISO