สองโรงเรียนภาคเหนือคว้ารางวัลถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โรงเรียนสร้างสรรค์สิ่งแวดล้อมเฉลิมพระเกียรติ “ตามรอยเท้าพ่อ...กับฮอนด้า”

พุธ ๑๙ ตุลาคม ๒๐๑๑ ๑๖:๐๗
กลุ่มบริษัทฮอนด้าในประเทศไทย ประกาศผล 2 โรงเรียนถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โครงการโรงเรียนสร้างสรรค์สิ่งแวดล้อม เฉลิมพระเกียรติ ครั้งที่ 6 (พ.ศ. 2553-2554) ภายใต้แนวคิด “ตามรอยเท้าพ่อ...กับฮอนด้า” โดย โรงเรียนบ้านสันป่าไร่ จ.ตาก คว้าถ้วยพระราชทานในระดับประถมศึกษา และระดับมัธยมศึกษาเป็นของโรงเรียนฝางชนูปถัมภ์ จ.เชียงใหม่ ซึ่งทั้งสองโรงเรียนมีระบบการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนแบบบูรณาการที่โดดเด่นที่สุด ทั้งยังสะท้อนให้เห็นถึงจิตสำนึกด้านการใส่ใจสิ่งแวดล้อมของบุคลากรและนักเรียนอันเป็นจุดเริ่มต้นของความยั่งยืน

นายพิทักษ์ พฤทธิสาริกร กรรมการบริหาร บริษัท เอเชี่ยนฮอนด้า มอเตอร์ จำกัด และประธานโครงการฯ เปิดเผยว่า ในวโรกาสปีมหามงคลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเจริญพระชนมายุ 84 พรรษา โครงการโรงเรียนสร้างสรรค์สิ่งแวดล้อมเฉลิมพระเกียรติรู้สึกปลาบปลื้มที่ได้ร่วมเดินตามรอยเท้าพ่อด้านการอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนมาเป็นเวลากว่า 1 ทศวรรษ

“โครงการโรงเรียนสร้างสรรค์สิ่งแวดล้อม เฉลิมพระเกียรติ ครั้งที่ 6 ภายใต้แนวคิด “ตามรอยเท้าพ่อ...กับฮอนด้า” ได้สานต่อรูปแบบการดำเนินโครงการตามแนวพระราชดำริที่ยึดหลักการแข่งขันกับตนเอง โดยใช้เกณฑ์มาตรฐานสิ่งแวดล้อมที่พัฒนาโดยผู้เชี่ยวชาญจากหน่วยงานร่วมดำเนินโครงการ 8 หน่วยงาน

ในการประเมินผลการดำเนินโครงการ ซึ่งโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการทั้ง 84 โรงเรียน สามารถนำเกณฑ์ดังกล่าวไปใช้ในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาสิ่งแวดล้อมได้อย่างเป็นรูปธรรม และ ลำดับท้ายสุด ทางคณะกรรมการโครงการได้ลงพื้นที่ประเมินเพื่อคัดเลือกโรงเรียนที่สมบูรณ์แบบที่สุดในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาระดับละ 1 โรง เพื่อตัดสินให้เป็นโรงเรียนถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งเป็นรางวัลแห่งความภาคภูมิใจสูงสุด

ผมขอขอบคุณความมุ่งมั่นทุ่มเทของทุกโรงเรียนในการสานต่อแนวคิดการจัดการสิ่งแวดล้อมตามแนวพระราชดำริ สำหรับโรงเรียนที่ประสบความสำเร็จแล้ว ผมอยากจะเห็นการแบ่งปันความรู้ไปสู่โรงเรียนและชุมชนรายรอบ เพื่อที่ทุกคนจะได้ก้าวเดินสู่ความสำเร็จพร้อมกันและขอเป็นกำลังใจให้ครู นักเรียน และชุมชน ก้าวเดินตามรอยเท้าพ่อต่อไปอย่างไม่ย่อท้อ เพื่อว่าโรงเรียนทุกแห่งในสังคมของเราจะก้าวสู่การเป็นโรงเรียนมาตรฐานสิ่งแวดล้อมที่มีความยั่งยืนต่อไป”

โรงเรียนบ้านสันป่าไร่ อ.แม่ระมาด จ.ตาก

โรงเรียนถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ระดับประถมศึกษา

การบำบัดน้ำจากโรงอาหารตามแนวพระราชดำริ / การทำกระถางดิน นวัตกรรมจากภูมิปัญญาท้องถื่น / เตา 3-in-1 / สวนป่าในโรงเรียน

โรงเรียนประถมขนาดเล็ก ใน อ.แม่ระมาด จ.ตาก ที่มีนักเรียนทั้งไทยพุทธและชนเผ่าปกากะญอรวมอยู่ด้วยกันซึ่งเข้าร่วมโครงการโรงเรียนสร้างสรรค์สิ่งแวดล้อมของฮอนด้ามาตั้งแต่เริ่มต้นโครงการในปี 2545 และได้สะสมองค์ความรู้และพัฒนาโครงการด้านสิ่งแวดล้อมมาอย่างต่อเนื่องยาวนานจนฝังอยู่ในวิถีชีวิตของนักเรียนและคนในชุมชน ความโดดเด่นของโรงเรียนแห่งนี้คือการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้แก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นในโรงเรียนและชุมชน ทั้งปัญหาด้านแหล่งน้ำที่ปนเปื้อนสารเคมี ปัญหาขยะตกค้าง และการขาดแคลนพลังงาน โดยโรงเรียนเน้นการดำเนินงานในรูปแบบฐานเรียนรู้ที่ให้นักเรียนลงมือปฏิบัติจริง โดยในด้านการจัดการขยะ โรงเรียนจะมีการคัดแยกและรีไซเคิลขยะ โดยการทำสิ่งประดิษฐ์จากวัสดุเหลือใช้ การทำกระถางดินสำหรับเพาะต้นกล้าซึ่งเป็นนวัตกรรมของโรงเรียนที่ประยุกต์มาจากภูมิปัญญาท้องถิ่น ด้านการจัดการน้ำ โรงเรียนบ้านสันป่าไร่ได้มีการบำบัดน้ำตามแนวพระราชดำริโดยใช้ถังกรองน้ำและถังดักไขมันจากโรงอาหาร การปลูกพืชน้ำและเติมออกซิเจนในอากาศ และนำน้ำที่ผ่านการบำบัดแล้วไปใช้รดแปลงเกษตรอินทรีย์ของโรงเรียนโดยใช้จักรยานปั่นน้ำเพื่อประหยัดพลังงาน ส่วนด้านพลังงาน ได้มีการการพัฒนาเตา 3-in-1 ซึ่งร่วมกับหน่วยงานในพื้นที่ รวมไปถึงการจัดตั้งบ้านภูมิปัญญาเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น สะท้อนและรักษาวิถีชีวิตคนในชุมชนตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง อาทิ การนำ

ลูกสะเหล่เดหรือประคำดีควายมาใช้ซักผ้าเพื่อลดการใช้ผงซักฟอกและช่วยรักษาน้ำในแหล่งน้ำ และรณรงค์การใช้สารสกัดชีวภาพแทนการใช้สารเคมี ตลอดจนการร่วมกับชุมชนในการรักษาป่าต้นน้ำและแหล่งน้ำธรรมชาติซึ่งเหล่านี้สะท้อนให้เห็นถึงสร้างการมีส่วนร่วมของนักเรียนและชุมชนที่สอดคล้องกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ที่มุ่งให้เกิดการเรียนรู้ที่ยั่งยืนและนำไปสู่การปฏิบัติในวิถีชีวิตต่อไป

โรงเรียนฝางชนูปถัมภ์ อ.ฝาง จ.เชียงใหม่

โรงเรียนถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ระดับมัธยมศึกษา

สาธิตการหมักปุ๋ย / การเลี้ยงหมูหลุม / การทำบายศรีสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น / คูข้างโรงเรียนและจำลองการทำฝายแม้ว

โรงเรียนมัธยมขนาดใหญ่ในอำเภอฝาง ด้วยพื้นที่ขนาดใหญ่กว่า 188 ไร่ ทำให้โรงเรียนได้พัฒนาพื้นที่บนดอยหลังโรงเรียนเป็นแหล่งเรียนรู้แนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยการจำลองการเกษตรทฤษฎีใหม่ ด้วยการแบ่งพื้นที่ออกเป็น 4 ส่วน คือ ขุดสระเก็บน้ำ 30% ปลูกข้าว 30% ปลูกผักผลไม้ 30% และสร้างที่อยู่อาศัย 10% และต้นแบบการจัดการน้ำตามแนวพระราชดำริที่มีประสิทธิภาพ โดยการปรับคูคลองข้างโรงเรียนเป็นบ่อระบายน้ำ และแบ่งช่วงของคูออกเป็น 3 บ่อ ได้แก่ บ่อดักไขมัน บ่อพักน้ำที่มีพืชน้ำช่วยกรองและเพิ่มออกซิเจนในน้ำ จนถึงช่วงปลายของคูที่น้ำมีความใสสะอาดจนสามารถเลี้ยงปลาได้ เป็นแหล่งเรียนรู้การบำบัดน้ำตามแนวพระราชดำริและการจำลอง

การทำฝายชะลอน้ำหรือฝายแม้ว นอกจากนี้ โรงเรียนยังมีความโดดเด่นด้านการบูรณาการหลักสูตรการเรียนรู้ด้านสิ่งแวดล้อมในทุกสาระวิชา ส่งเสริมกิจกรรมสิ่งแวดล้อมโดยให้นักเรียนรับผิดชอบฐานการเรียนรู้ต่างๆ และการสร้างจิตสาธารณะในชุมชนของโรงเรียน เช่น การทำฝาย กิจกรรมปลูกต้นไม้ และรณรงค์การคัดแยกขยะในชุมชน ส่งผลให้นอกจากการเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านสิ่งแวดล้อมแล้ว จิตสำนึกรักษ์สิ่งแวดล้อมที่มาจากการลงมือปฏิบัติจริงของนักเรียนยังทำให้แหล่งเรียนรู้แห่งนี้สมบูรณ์มากยิ่งขึ้น ด้วยการขับเคลื่อนของผู้บริหาร คณะครู และนักเรียนจนเป็นศูนย์กลางการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมตามแนวพระราชดำริของชุมชนอย่างแท้จริง

โครงการโรงเรียนสร้างสรรค์สิ่งแวดล้อม เฉลิมพระเกียรติ เป็นโครงการความร่วมมือระหว่างฮอนด้ากับ 8 หน่วยงานภาครัฐ ได้แก่ สำนักงานคณะกรรมการเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ กระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงพลังงาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงมหาดไทย และสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย ซึ่งได้ร่วมกันพัฒนาเกณฑ์มาตรฐานสิ่งแวดล้อมสำหรับโรงเรียนขึ้น เพื่อให้โรงเรียนได้นำไปใช้แก้ปัญหาและพัฒนาสิ่งแวดล้อมภายในโรงเรียนและชุมชนของตน ซึ่งเกณฑ์การจัดการมาตรฐานสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนดังกล่าว ได้ใช้เวลากว่า 4 ปีในการระดมผู้เชี่ยวชาญคิดค้นพัฒนาให้เป็นเกณฑ์มาตรฐานสิ่งแวดล้อมที่สมบูรณ์เป็นครั้งแรกในประเทศไทย และได้ผ่าน

การรับรองจากหน่วยงานร่วมดำเนินโครงการเมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา โดยเริ่มนำเกณฑ์มาตรฐานไปใช้ครั้งแรกในโครงการโรงเรียนสร้างสรรค์สิ่งแวดล้อม เฉลิมพระเกียรติ ครั้งที่ 5 (พ.ศ. 2551-2552) มีโรงเรียนที่สามารถผ่านมาตรฐานสิ่งแวดล้อมทั้งสิ้น 21 โรงเรียน และในโครงการโรงเรียนสร้างสรรค์สิ่งแวดล้อม เฉลิมพระเกียรติ ครั้งที่ 6 (พ.ศ. 2553-2554) มีโรงเรียนมาตรฐานสิ่งแวดล้อมทั้งสิ้น 42 โรงเรียน

ติดตามข้อมูลโครงการฯ เพิ่มเติมได้ที่ www.hondagreenschool.com

สื่อมวลชนสัมพันธ์:

บริษัท เอเชี่ยนฮอนด้า มอเตอร์ จำกัด

ชุติมณฑน์ ใจดีโทร

0 2236 0256 ต่อ 1671

อีเมล์[email protected]

เบญจวรรณ ซื่อสัตย์

โทร0 2236 0256 ต่อ 1675

อีเมล์[email protected]

บริษัท อาซิแอม เบอร์สัน-มาร์สเตลเลอร์

สราญจิต ชูวงศ์โกมล

โทร 0 2252 9871

อีเมล์ [email protected]

สาธิดา ศรีธัญญาธรณ์

โทร 0 2252 9871

อีเมล์ [email protected]

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ