1. กฎระเบียบนี้บังคับใช้กับสินค้าอาหารทั้งสินค้าแปรรูปและไม่แปรรูป แต่ไม่รวมถึงสินค้าอาหารที่มีส่วนประกอบทั้งจากพืชและจากสัตว์ผสมกัน
2. ผู้ประกอบธุรกิจอาหารต้องจัดทำข้อมูลให้ผู้รับซื้อสินค้าเพื่อนำไปจำหน่ายต่อ ดังนี้
1) รายละเอียดสินค้า
2) ขนาดและปริมาณสินค้า
3) ชื่อและที่อยู่ของผู้ประกอบการซึ่งเป็นผู้ส่งสินค้าต่อ
4) ชื่อและที่อยู่ของเจ้าของหรือผู้ส่งสินค้า หากไม่ใช่คนเดียวกับผู้ส่งสินค้าต่อ
5) ชื่อและที่อยู่ของผู้ประกอบการซึ่งเป็นผู้รับสินค้าต่อ
6) ชื่อและที่อยู่ของเจ้าของหรือผู้รับสินค้า หากไม่ใช่คนเดียวกับผู้รับสินค้าต่อ
7) เอกสารหรือหนังสืออ้างอิงเพื่อแสดงการส่งมอบสินค้า
8) วันที่จัดส่งสินค้า
ข้อมูลตามข้อ 2 ทั้งหมดเป็นข้อมูลเพิ่มเติมที่ผู้ประกอบการต้องส่งมอบให้แก่ผู้รับซื้อสินค้า เพิ่มเติมจากข้อมูลปัจจุบันที่กำหนดไว้ภายใต้กฎหมาย Union Legislation ซึ่งข้อมูลควรจะต้องมีการปรับปรุงเป็นประจำทุกวันและสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ จนกว่าสินค้านั้นจะได้บริโภค ทั้งนี้ กฎระเบียบมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2555 ผู้สนใจสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซด์
http://eur-lex.europa.eu/LexUriserv/LexUriServ.do?uri=OJ:L:2001:0002:0003:EN:PDF
นายสุรศักดิ์ฯ กล่าวเพิ่มเติมว่า กฎระเบียบใหม่นี้กำหนดขึ้นเพื่อให้เกิดความชัดเจนของระบบการตรวจย้อนกลับสินค้าอาหารที่มาจากสัตว์ ซึ่งผู้ประกอบการไทยควรศึกษาและปฏิบัติตามกฎระเบียบดังกล่าว เพื่อลดปัญหาการส่งออกสินค้าดังกล่าวไปยังอียู เนื่องจากไทยส่งออกสินค้าประมง, ปศุสัตว์ และอุตสาหกรรมอาหารกระป๋องและแปรรูปไปอียู มูลค่าเฉลี่ย 63,834.3 ล้านบาทต่อปี (2551-2553) และปี 2554 (ม.ค.- ส.ค.) ส่งออกมูลค่า 17,284.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 13 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน
ที่มา:
1. สำนักงานพาณิชย์ในต่างประเทศ ประจำสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงบรัสเซลส์
2. สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำสหภาพยุโรป
3. Official Journal of the European Union, L 242/2
4. www.moc.go.th