ศูนย์พักพิง มทร.ธัญบุรีเต็ม งดรับเพิ่ม

จันทร์ ๒๔ ตุลาคม ๒๐๑๑ ๑๓:๓๔
รศ.ดร.นำยุทธ สงค์ธนาพิทักษ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ธัญบุรี เปิดเผยว่า เนื่องจากทางศูนย์พักพิงช่วยเหลือผู้ประสบ มทร.ธัญบุรี ได้เปิดรับผู้พักพิงมากกว่า 9 วัน ณ หอประชุมใหญ่ และ อาคารยิมเนเซี่ยม ขึ้นเพื่อรองรับและดูแลผู้ประสบภัยในพื้นที่บริเวณรอบพื้นที่มหาวิทาลัยฯ และผู้อพยพที่ทางจังหวัดได้ส่งตัวมา โดยทางศูนย์สามารถรองรับผู้ที่เดือดร้อนได้ถึง 1,500 คน โดยทางมหาวิทยาลัยฯ ได้จัดอาสาสมัครนักศึกษาจำนวน 300 คนในการดูแลและให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัย และได้มีมาตรการในการป้องกันน้ำท่วม ขณะนี้ผู้ประสบภัยที่เข้ามาพักพิงได้เต็มตามที่มหาวิทยาลัยฯ ได้ตั้งเป้าหมายไว้แล้ว เพื่อให้การอำนวยความสะดวกเป็นไปอย่างมีศักยภาพ ทางมหาศูนย์พักพิง มทร.ธัญบุรี จึงขอแจ้งงดรับผู้พักพิงเพิ่มเติม อย่างไรก็ตามทางศูนย์พักพิงยังต้องการสิ่งของช่วยเหลือผู้ประสบภัยจำนวนมาก อาทิเช่น ข้าวสารอาหารแห้ง น้ำดื่ม และสิ่งของที่ใช้ประจำวัน โดยสามารถบริจาคได้ที่ หอประชุมใหญ่ มทร.ธัญบุรี หรือ ชื่อบัญชีออมทรัพย์”บริจาคเงินเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัย” ธนาคารกรุงศรีอยุธยา เลขที่บัญชี 453-1-36769-4 ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ โทร.0-2549-3070 ,0-2549-3339, 0-2549-3068 ตลอด 24 ชั่วโมง

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ