นายสันติ กล่าวว่า จากสถานการณ์อุทกภัยกระทรวงฯ มีภารกิจดังนี้
๑.การช่วยเหลือบรรเทาทุกข์ ศูนย์ประชาบดี ๑๓๐๐ รับเรื่องให้คำปรึกษาแนะนำ ประสานการช่วยเหลือ และหน่วยงานกระทรวงฯ พม. เป็นจุดพักชั่วคราว จัดหน่วยเคลื่อนที่เยี่ยมเยียนให้คำปรึกษาแนะนำฟื้นฟูสภาพจิตใจและรับเรื่อง , ช่วยเหลือสงเคราะห์เพื่อคลี่คลายและบรรเทาความเดือดร้อน เป็นเงินสงเคราะห์ เครื่องอุปโภค บริโภค และอื่นๆ
๒. เยียวยาและฟื้นฟู จัดกิจกรรม ๓ ส. สร้างสุข สร้างอาชีพและรายได้ เสริมสร้างคุณภาพชีวิต ,ช่วยเหลือตามหลักเกณฑ์และวิธีการดำเนินการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยกรณีฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๕๑ และช่วยเหลือและฟื้นฟูวิถีชีวิตชุมชนผู้ประสบภัยหลังน้ำลด
๓. ภารกิจที่ได้รับมอบจาก ศปภ. ด้านการจัดกำลังบำรุง คือ จัดเลี้ยงโรงครัว จัดส่งให้ศูนย์อพยพ/ชุมชนที่ประสบภัย และจัดส่งอาหารสด พร้อมจัดแม่บ้าน/ชุมชน ด้านการสงเคราะห์ช่วยเหลือ รับเรื่องร้องทุกข์ให้คำปรึกษาและประสานให้บริการ การขอรับสิ่งของบริจาค ณ จุดบริการ กระทรวงฯประจำ ศปภ. และจากการรับเรื่องของ Call center โทร.๑๑๑๑ กด ๕ รวมถึงหน่วยงานภาครัฐ เอกชน ท้องถิ่น ด้านการเยียวยา จัดกิจกรรม ส.สร้างสุขและการฝึกอบรมอาชีพระยะสั้น ๓ วัน ด้านสนับสนุนและร่วมจัดระบบบริหารจัดการในการรับบริจาคและกระจายเสียงของ ศปภ. ให้แก่ผู้ประสบภัย ชุมชนและหน่วยงานที่ขอรับการสนับสนุน
สำหรับผู้ประสบอุทกภัยจังหวัดนครสวรรค์ มีศูนย์พักพิง ๑๑ จุด ดังนี้
๑. สนามกีฬากลางจังหวัดนครสรรค์ ผู้พักพิงได้จำนวน ๑,๕๓๒ คน
๒. วัดเขากบวรนาถบรรพต ผู้พักพิงได้จำนวน ๕๖๕ คน
๓. วิทยาลัยเทคโนโลยีภาคเหนือ ผู้พักพิงได้จำนวน ๕๑๐ คน
๔. โรงเรียนนครสวรรค์ ผู้พักพิงได้จำนวน ๓๔๓ คน
๕. วิทยาลัยอาชีวะศึกษานครสวรรค์ ผู้พักพิงได้จำนวน ๑,๔๗๕ คน
๖. วัดคีรีวงค์ ผู้พักพิงได้จำนวน ๑,๐๓๖ คน
๗. วัดพระบางมงคล ผู้พักพิงได้จำนวน ๓๕๐คน
๘. โรงเรียนนวมินทร์ ผู้พักพิงได้จำนวน ๗๘ คน
๙. โรงเรียนประชานุเคราะห์ ผู้พักพิงได้จำนวน ๔๐๐ คน
๑๐. โรงเรียนอนุบาลเมืองนครสวรรค์ ผู้พักพิงได้จำนวน ๖๒๙ คน
๑๑. โรงเรียนพลตำรวจ ผู้พักพิงได้จำนวน ๘๒ คน
“ทั้งนี้กระทรวงฯ ได้จัดทำโรงครัวและสนับสนุนทรัพยากรเฉพาะจังหวัดนครสวรรค์ จำนวนอาหารทั้งหมด ๓๖,๘๒๘ ชุด โดยใช้งบประมาณ ๔๘๐,๐๐๐ บาท” นายสันติ กล่าว